อนุทิน 143942


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

3. ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ ตอนที่ 10

ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ของเดอร์ไคม์ (ต่อ)

คำว่า สภาวะอโนมี (Anomie) หมายถึง สภาวะที่ไร้ปทัสฐาน หรือ สภาวะไร้บรรทัดฐาน (normlessness) ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาสังคม รวมทั้งปัญหาอาชญากรรมตามมา ตัวอย่างปรากฏการณ์ทางสังคมที่ยืนยันทฤษฎีอโนมีของเดอร์ไคม์คือ สังคมชนชั้นกลางและชนชั้นสูงมีอัตราการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นมากกว่าชนชั้นล่าง เดอร์ไคม์ศึกษาปัญหาการฆ่าตัวตาย และชี้ให้เห็นว่าการฆ่าตัวตายเป็นสิทธิในการตัดสินใจขั้นสุดท้ายของมนุษย์ที่จะอยู่หรือตาย ตามทฤษฎีเจตต์จานงอิสระ (Free will) เดอร์ไคม์ได้ให้ข้อสรุปว่า ปัจจัยที่เป็นสาเหตุให้คนฆ่าตัวตายมาจากปัจจัยสังคมภายนอก อันมาจากการที่ไม่สามารถปรับตัวได้กับความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว พลังกดดันทางสังคมนี้เอง ได้กลายเป็นพลังกดดันให้คนฆ่าตัวตาย เดอร์ไคม์เห็นว่าการฆ่าตัวตายเป็น “ข้อเท็จจริงทางสังคม” (Socal fact) ซึ่งเป็นผลผลิตของการสร้างความหมายและมิติเชิงโครงสร้างซึ่งเป็นผลมาจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มประชาชน

หนังสืออ้างอิง

ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน. หน่วยที่ 5 ทฤษฎีอาชญาวิทยา. Pdf.


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท