3. ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ ตอนที่ 8
ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ของเดอร์ไคม์
ทฤษฏีอโนมี (Anomie Theory)
สาระสังเขป
หากยึดตามแนวคิดของเอมิล เดอร์ไคม์ (Emile Durkheim (1858-1917) จะเห็นว่าอาชญากรรมเป็นสภาวะปกติที่ต้องเกิดมีขึ้นในสังคม เพื่อทาหน้าที่ของมันเอง และไม่เพียงแค่ว่า อาชญากรรมจะเป็นสภาวะปกติเท่านั้น เดอร์ไคม์ ยังเห็นว่าอาชญากรรมเป็นสภาวะที่จำเป็นของสังคมที่ต้องมีอยู่ในทุกสังคม ทฤษฎีของเดอร์ไคม์นี้แสดงให้เห็นถึงลักษณะที่เป็น “ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่” (Structural Functionalism) ได้อย่างชัดเจน
เดอร์ไคม์อธิบายว่า พฤติกรรมทางสังคมโดยเฉพาะ พฤติกรรมแห่งอาชญากรรม ได้ทำหน้าที่สร้างปัจจัยสำคัญในการทาหน้าที่ทางสังคม 2 ประการ ประการแรก อาชญากรรมทำหน้าที่สร้างขอบเขตของศีลธรรมในสังคม ตอนแรกประชาชนไม่รู้มากนักที่จะรู้ว่าการทำสิ่งใดจึงเรียกว่าเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายของสังคม จนกระทั่งมีการลงโทษผู้ที่ฝาฝืนนั้น การลงโทษเป็นแรงเสริมทำให้เขาเกิดความรู้และเข้าใจว่ากฎระเบียบคืออะไร และผลจะเป็นอย่างไรถ้าเขาฝ่าฝืนกฎระเบียบ
หนังสืออ้างอิง
ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน. หน่วยที่ 5 ทฤษฎีอาชญาวิทยา. Pdf.
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก