อนุทิน 143839


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

3. ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ ตอนที่ 4

ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ของ เอมิล เดอร์ไคม์

หลักการของทฤษฎีโครงสร้างการหน้าที่ (Functionalism Theory) คือ สังคมเปรียบเสมือนร่างกายมนุษย์ที่ประกอบด้วย สังคมส่วนรวม (a Whole) อันประกอบด้วยระบบส่วยย่อยต่างๆ (a Part) ที่ยึดโยงกัน ระบบย่อยแต่ละระบบต่างก็มีหน้าที่ของตนเอง และมีความสัมพันธ์กับระบบย่อยอื่นๆ ระบบย่อยต่างๆ นี้ จะต้องอยู่ในสภาวะที่สมดุลหรือมีดุลยภาพ (equilibrium) สังคมจึงจะเป็นปกติสุข การเปลี่ยนแปลงของระบบย่อยส่วนใดส่วนหนึ่งย่อมส่งผลกระทบถึงระบบย่อยอื่นๆ และกระทบต่อโครงสร้างโดยรวม การเปลี่ยนแปลงของระบบย่อยถือเป็นเรื่องปกติ ตราบเท่าที่ยังเกิดความสมดุลหรือดุลยภาพ ในทางสังคมก็เช่นเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงทางสังคมก็ถือว่าเป็นปรากฏการณ์ปกติ ตราบเท่าที่ยังมีดุลยภาพ

เดอร์ไคม์ เห็นว่า

“...อาชญากรรมที่ปรากฏขึ้นในทุกสังคม และในรูปแบบที่แตกต่างกันนั้น เป็นลักษณะที่แสดงออกถึงความเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของมนุษย์ที่แตกต่างกันในสังคม...”

หนังสืออ้างอิง

ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน. หน่วยที่ 5 ทฤษฎีอาชญาวิทยา. Pdf.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท