อนุทิน 143755


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

2. สำนักอาชญาวิทยาปฎิฐานนิยม ตอนที่ 13 (ตอนสุดท้าย)

ทฤษฎีความไร้ระเบียบทางสังคม (Theory of Social Disorganization) จึงเป็นทฤษฎีที่อธิบายถึง การที่ผู้กระทาผิดได้เรียนรู้พฤติกรรมอาชญากร จากเยาวชนที่สูงวัยกว่าที่อยู่ในชุมชนถิ่นที่อยู่นั้น ผลสุดท้ายความล้มเหลวของชุมชนถิ่นที่อยู่ในการจัดระเบียบตัวเอง ก็จะทาให้เด็กและเยาวชนผู้กระทาผิดที่แก่กว่าจะถ่ายทอดพฤติกรรมอาชญากรให้แก่เด็กและเยาวชนที่อ่อนกว่า กล่าวอีกนัยหนึ่ง เด็กและเยาวชนผู้กระทาผิดที่อยู่ในถิ่นฐานชุมชนนั้น จะกลายเป็นผู้ทาหน้าที่จัดระเบียบทางสังคมแทนชุมชนถิ่นที่อยู่ที่ไม่สามารถทาได้สาเร็จ และในที่สุดเด็กและเยาวชนที่อ่อนวัยกว่า ก็จะเดินตามรอยของรุ่นพี่

สิ่งที่ยืนยันข้อสันนิษฐานทางทฤษฎี ของชอว์ และ แมคเคย์ ได้ดีอย่างหนึ่งคือ ข้อมูลผลการสารวจทางสถิติของสานักงานสถิติแห่งชาติสหรัฐอเมริกาและข้อมูลบันทึกของนครชิคาโกเองที่รายงานว่า ถิ่นฐานชุมชนที่มีอัตราความยากจนสูง มีสภาพความเสื่อมโทรมทางกายภาพสูง และสภาพสังคมที่มีลักษณะการผสมผสานทางวัฒนธรรมสูง จะมีอัตราการกระทาผิดของเด็กและเยาวชนสูงและปัญหาสังคมอื่นๆ ที่ตามมา

หนังสืออ้างอิง

ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน. หน่วยที่ 5 ทฤษฎีอาชญาวิทยา. Pdf.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท