อนุทิน 143741


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

2. สำนักอาชญาวิทยาปฎิฐานนิยม ตอนที่ 11

ทฤษฎีนิเวศน์วิทยาอาชญากรรม

โรเบิร์ต อี พาร์ก (Robert E. Park 1864-1944) นักสังคมวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยชิคาโก ได้นาเสนอโมเดลในการศึกษาปัญหาอาชญากรรมของนครชิคาโก โดยใช้กรอบแนวคิดเกี่ยวกับระบบนิเวศน์มาเป็นแนวทางในการศึกษาปัญหา พาร์ก เสนอความคิดว่า พฤติกรรมมนุษย์ส่วนใหญ่โดยเฉพาะวิถีทางการเจริญเติบโตของเมือง มีลักษณะสอดคล้องกับหลักการเรื่องนิเวศน์วิทยา ซึ่งสาระสาคัญอยู่ที่การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างต้นไม้และสัตว์ที่มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ซึ่งประยุกต์หลักการมาจากแนวทฤษฎีของชาร์ล ดาร์วิน โดย พาร์ก เสนอว่า การเจริญเติบโตของเมืองเดินตามหลักการแบบแผนและวิวัฒนาการทางธรรมชาติ พาร์ก กล่าวว่า สภาพความเป็นเมืองมีลักษณะคล้ายกับอินทรีย์ซึ่งประกอบด้วยหน่วยย่อยในการรับรู้ความรู้สึก โดยผ่านทางการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันของประชาชนและกลุ่มประชาชนที่อยู่ในเมืองนั้น พาร์ก ประยุกต์หลักการของระบบนิเวศน์วิทยาเรื่อง “การอยู่ร่วมกันและการเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกันของสิ่งมีชีวิตสองชนิด” (Symbiosis) มาใช้ในการอธิบายเรื่อง การพึ่งพากันระหว่างพลเมืองที่หลากกลาย และหน่วยย่อยทางสังคมและเมืองนั้น พลเมืองทุกๆ คนต่างก็มีบทบาทหน้าที่ มีส่วนที่เอื้อประโยชน์แก่บุคคลอื่นของสังคมนั้นทั้งหมด

พาร์ก กล่าวว่าเมืองทุกเมืองจะประกอบไปด้วยกลุ่มประชากรที่มีลักษณะเฉพาะของตนเอง ซึ่งเรียกว่า “อาณาบริเวณธรรมชาติ” (Natural Areas) ซึ่งเป็นพื้นที่สาหรับกลุ่มประชากร (clusters) ใช้ในการดาเนินชีวิตของกลุ่มตนเอง ซึ่งเทียบได้กับหน่วยย่อยของอินทรีย์หน่วยหนึ่ง ตัวอย่างเช่น เมืองทุกเมืองจะประกอบไปด้วยหมู่บ้านชุมชนซึ่งมีพลเมืองชนชาติหนึ่งอาศัยอยู่ เช่น ในเมืองนิวยอร์ค ไทม์สแควร์ จะมีส่วนที่บ่งบอกคุณลักษณะของเมืองได้ในตัวเองว่ามีลักษณะเฉพาะเป็นอย่างไร

หนังสืออ้างอิง

ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน. หน่วยที่ 5 ทฤษฎีอาชญาวิทยา. Pdf.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท