อนุทิน 143718


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

2. สำนักอาชญาวิทยาปฎิฐานนิยม ตอนที่ 10

ทฤษฎีการส่งผ่านค่านิยมทางวัฒนธรรม (The Transmission of Cultural Value)

แนวคิดของสำนักอาชญาวิทยาชิคาโกมุ่งศึกษาในมิติเกี่ยวกับ “ทฤษฎีการส่งผ่านค่านิยมทางวัฒนธรรม” (The Transmission of Cultural Value) จากคนกลุ่มหนึ่งไปยังกลุ่มอื่นๆ รวมทั้งการส่งผ่านข้ามรุ่น จากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง โดยเฉพาะประเด็นเรื่องเด็กและเยาวชนรุ่นใหญ่ได้ส่งผ่านค่านิยมต่อต้านสังคม เทคนิคการทำผิด และการประกอบอาชญากรรมของรุ่นตนเอง ไปยังเด็กและเยาวชนรุ่นเล็ก

ผลของการอัดแน่นของประชากรจำนวนมหาศาลในนครชิคาโก จึงเกิดขึ้นตามที่ เอมิล เดอร์ไคม์ ได้เคยทำนายไว้ว่า เมื่อความเป็นเมืองและความเป็นระบบสังคมอุตสาหกรรมมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วเกินไป จะเกิดปัญหา “ความโกลาหลและความไร้ระเบียบ” (Chaos) และ “สภาพไร้ปทัสสถาน” (Normlessnes) เกิดขึ้น ซึ่งนครชิคาโกเป็นตัวอย่างสาหรับการอธิบายเรื่อง “รัฐอโนมี” (Anomic State) ด้วย โดยจะเห็นได้ว่าสภาพที่เกิดขึ้นในนครชิคาโกเป็นสภาวะที่ระบบการควบคุมพังทลายลงอย่างสิ้นเชิง ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่ชัดเจนที่สุดที่สะท้อนถึงสภาพความไร้ระเบียบของเมืองคือ การที่เด็กวัยรุ่นที่วิ่งแบบวุ่นวายไปตามท้องถนนอย่างไร้ระเบียบในลักษณะการรวมกลุ่มเป็น “แก๊ง” (Gangs) โดยที่ไม่สามารถห้ามปรามได้ การกระทำผิดของเด็กและเยาวชนเกิดสูงขึ้น จนปรากฏแก๊งต่างๆ เข้าควบคุมท้องถนนหลายแก๊ง

หนังสืออ้างอิง

ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน. หน่วยที่ 5 ทฤษฎีอาชญาวิทยา. Pdf.


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท