อนุทิน 143676


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

2. สำนักอาชญาวิทยาปฎิฐานนิยม ตอนที่ 8

ทฤษฎีอาชญาวิทยาว่าด้วยอาชญากรโดยกำเนิด (Born Criminal) ต่อ

เอนริโก เฟอร์ริ (Enrico Ferri 1856-1929) ลูกศิษย์ของลอมโบรโซอีกคนหนึ่ง ที่เป็นนักอาชญาวิทยาสำนักอาชญาวิทยาปฏิฐานนิยม ขณะที่ลอมโบรโซสนใจเรื่องปัจจัยทางชีววิทยาที่เกี่ยวกับอาชญากร ส่วนเฟอร์ริ ได้เพิ่มปัจจัยทางสังคมและปัจจัยทางเศรษฐศาสตร์เข้ามาช่วยในการอธิบายอาญากร เฟอร์ริเป็นผู้ที่เริ่มต้นในการบุกเบิกวิชา “อาชญาวิทยาเชิงสังคม” (Criminal Sociology) ในปี ค.ศ. 1884

เฟอร์ริเห็นว่า อาชญากรโดยกำเนิดเป็นพวกที่ได้รับเคราะห์จากความพิการ หรือได้รับการสืบสายเป็นกรรมพันธุ์ แต่แม้ว่าเป็นอาชญากรโดยกำเนิด ก็ต้องอาศัยเหตุจูงใจ เป็นตัวกระตุ้นให้เขามีพฤติกรรมเป็นอาชญากร เฟอร์ริเห็นว่า อาชญากรรมจะสามารถลดจานวนลงได้ ก็ต่อเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคม เขายังคงเห็นว่า การลงโทษเป็นวิธีการแก้ไขความประพฤติที่ดี และการวางโทษจะต้องได้สัดส่วนกับความผิด

สรุปทฤษฎีของสานักอาชญาวิทยาปฏิฐานนิยม

1. บุคคลกระทำความผิดเพราะอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม ด้วยเหตุนี้จึงไม่ถือว่าเป็นปมด้อยทางศีลธรรม

2. กฎหมายป้องกันสิทธิเสรีภาพจัดเป็นสิ่งที่ไม่จาเป็น

3. อาชญากรรมต้องมีการกำหนดนิยามตามหลักวิทยาศาสตร์สังคม

4. ระเบียบวิธีวิจัยทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือที่ได้รับการยอมรับเพื่อการค้นหาองค์ความรู้

5. กฎหมายอาญาอยู่ภายนอกขอบเขตของอาชญาวิทยา

6. เป้าหมายของสำนักปฎิฐานนิยม คือ การฟื้นฟูบุคลิกภาพและการบำบัดรักษาผู้กระทำความผิด

หนังสืออ้างอิง

ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน. หน่วยที่ 5 ทฤษฎีอาชญาวิทยา.Pdf.


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท