อนุทิน 143283


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

1. พัฒนาการของทฤษฎีอาชญาวิทยา: สำนักอาชญาวิทยาคลาสสิค ตอนที่ 12

สำนักอาชญาวิทยาคลาสสิค : สำนักอาชญาวิททยานีโอคลาสสิค ต่อ

4. ขอให้กระบวนการยุติธรรมโดยเฉพาะศาลให้ความสนใจกับกลุ่มบุคคลที่อาจมีความรับผิดทางอาญาแตกต่างไปจากบุคคลโดยทั่วไป กลุ่มบุคคลที่จัดเป็นกรณีพิเศษนี้ ไม่สามารถกำหนดเจตจานงอิสระได้ทัดเทียมกับบุคคลอื่น และสมควรที่กฎหมายควรให้ความปรานีและผ่อนปรนในการลงโทษ เช่น กลุ่มบุคคลวิกลจริต บุคคลปัญญาอ่อน คนชรา บุคคลผู้มีความพิการ

สำนักอาชญาวิทยานีโอคลาสสิค เรียกร้องให้มีการนาเอาปัจจัยที่เป็นสาเหตุในการกระทำผิด และเหตุอันควรปรานี มาใช้ในการพิจารณาพิพากษาคดี ซึ่งต่อมาในปี ค.ศ. 1810 และ ปี ค.ศ.1819 ประเทศฝรั่งเศสได้มีการแก้ไขปรับปรุงประมวลกฎหมายอาญา ตามแนวคิดของ สำนักอาชญาวิทยานีโอคลาสสิค แต่ยังคงรักษาหลักการของสำนักอาชญาวิทยาคลาสสิคไว้ไม่เปลี่ยนแปลง

หนังสืออ้างอิง

ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน. หน่วยที่ 5 ทฤษฎีอาชญาวิทยา. Pdf.


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท