อนุทิน 143209


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

1. พัฒนาการของทฤษฎีอาชญาวิทยา: สำนักอาชญาวิทยาคลาสสิค ตอนที่ 7

สำนักอาชญาวิทยาคลาสสิค : ซีซาร์ เบ็คคาเรีย (Cesare Beccaria) ต่อ

4. การกล่าวหาในทางลับ การใช้วิธีการทรมานและทารุณกรรมต่างๆ รวมทั้งการใช้โทษประหารชีวิต ควรพิจารณายกเลิก เพื่อส่งเสริมมนุษยธรรม นอกจากนี้ การพิจารณาคดีควรมีลักษณะรวดเร็ว แน่นอน และมีหลักและเกณฑ์

5. สาเหตุของการลงโทษคือการข่มขวัญยับยั้งบุคคลมิให้ประกอบอาชญากรรม และเพื่อป้องกันการล้างแค้นหรือการมุ่งทำลายล้างกันและกัน

6. การกำหนดโทษจำคุกควรได้รับการสนับสนุนให้นามาใช้อย่างแพร่หลาย และต้องปรับปรุงสภาพเรือนจำให้ถูกสุขลักษณะ และมีความมั่นคงปลอดภัย

7. ความหนักเบาของการลงโทษต้องได้สัดส่วนกับความรุนแรงของอาชญากรรม โทษทัณฑ์ที่จะลงแก่ผู้กระทำผิดนั้นต้องทำให้บุคคลได้รับความสูญเสียมากยิ่งกว่าผลกำไรที่จะได้รับจากการประกอบอาชญากรรม แต่โทษทัณฑ์ดังกล่าวต้องกำหนดให้ได้อัตราส่วนที่เหมาะสมกับความผิดที่ได้กระทำ

8. ทฤษฎีอาชญาวิทยาแบบคลาสสิคนั้นยึดหลักทฤษฎีสัญญาประชาคม (Social Contract Theory)ในเรื่องอำนาจควรแบ่งแยกออกเป็น 3 ประการ และหน้าที่ในการบัญญัติกฎหมายเป็นหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ ไม่ใช่หน้าที่ของฝ่ายตุลาการ ฝ่ายตุลาการมีหน้าที่เพียงการพิจารณาความผิดของอาชญากร ไม่ใช่การตีความกฎหมาย เพราะการตีความกฎหมายจะต้องอาศัยผู้ที่เข้าใจลึกซึ้งถึงเจตนารมณ์ของการร่างกฎหมายซึ่งจัดเป็นห้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ ด้วยเหตุนี้ กฎหมายจึงต้องได้รับการบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษร โดยระบุให้ชัดเจนทั้งฐานความผิดและบทลงโทษ เพื่อที่ประชาชนจะสามารถทราบล่วงหน้าได้ อันจะเป็นการป้องกันอาชญากรรมอีกทางหนึ่ง

หนังสืออ้างอิง

ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน. หน่วยที่ 5 ทฤษฎีอาชญาวิทยา. Pdf.


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท