อนุทิน 143133


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

15. การวิเคราะห์เชิงสังคมวิทยา : เกณฑ์ในการวิเคราะห์สื่อ โดยทฤษฎีหน้าที่

เกณฑ์ หรือประเภท อย่างที่ 2 ก็คือ การวัดว่ารายการนั้นทำหน้าที่แบบตั้งใจ (Manifest) หรือไม่ตั้งใจ (latent) หรือไม่ ตรงนี้จำเป็นต้องอ้างอิงถึง โรเบิร์ต เมอร์ตัน (Robert K. Merton) ซึ่งเป็นนักมานุษยวิทยาอีกคนหนึ่ง ที่ใช้ได้หน้าที่ในการวิเคราะห์สังคม หน้าที่ตามทัศนะของเขาจะมีอยู่ 2 ประการ ก็คือ ทำหน้าที่อย่างตั้งใจ แต่ก็ได้ผลลัพธ์ที่ไม่ตั้งใจด้วย เช่น เขาได้นำหน้าที่ ที่มีผลอย่างตั้งใจ และมีผลแบบแอบแฝงขึ้นไปวิเคราะห์การเต้นรำขอฝนของพวกอินเดียนโฮปี (Hopi) จุดประสงค์ของการเต้นรำก็เพื่อขอให้ฝนตก และการเต้นเพื่อขอให้ฝนตก จำเป็นต้องนำผู้คนทั้งหลายมารวมกัน และก่อให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีในหมู่ชาวบ้านเอง ซึ่งเป็นหน้าที่แบบแอบแฝง หรือไม่ตั้งใจ

หากวิเคราะห์สื่อโดยใช้หน้าที่แบบตั้งใจและแอบแฝงก็อาจทำได้ในลักษณะนี้ เช่น มีรายการโทรทัศน์รายการหนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่ให้ความสุขสนุกสนานแก่ผู้ชม แต่ทว่าในเนื้อหาก็มีการวิพากษ์ระบบการเมืองที่เป็นอยู่ในขณะนั้น โดยที่ผู้สร้างอาจไม่เห็นแต่ผู้ชมเขารับรู้ได้ หน้าที่แบบตั้งใจก็คือการสร้างให้ผู้ชมสนุกสนาน แต่การวิพากษ์การเมืองเป็นหน้าที่ที่ไม่ได้ตั้งใจ เป็นต้น

จากกาญจนา แก้วเทพ .(2541). การวิเคราะห์สื่อ: แนวคิดและเทคนิค. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ยศ สันตสมบัติ. (2540) มนุษย์กับวัฒนธรรม. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท