อนุทิน 140255


เมธินี มีดี
เขียนเมื่อ

การปลูกจิตสำนึกรักท้องถิ่น


สังคมโลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของมนุษย์ทั่วโลกก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ไร้พรมแดนแห่งการเรียนรู้สังคมโลกที่มีทั้งการแข่งขันและร่วมมือกันมากขึ้นการจัดการศึกษาเป็นกระบวนการพัฒนาชีวิตบุคคลและสังคมให้มีคุณภาพ มีความเจริญงอกงาม การจัดการศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลง ผู้เรียนจำเป็นต้อง เรียนรู้ที่จะรักเพื่อนมนุษย์และเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม โดยยังคงรักษาไว้ซึ่งคุณค่าแห่งมรดกวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การจัดการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญของไทย ฉบับ พ.ศ. ๒๕๕๐ หมวดที่ ๑๔ การปกครองส่วนท้องถิ่น

๑.เตรียมความพร้อมเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ และนำเข้าสู่บทเรียนโดยใช้คำถามกระตุ้นความคิดและหลักการคิดวิเคราะห์ ๕ W ๑ H

๒.ขั้นการจัดกิจกรรมการสอนได้เสริมสร้างจิตสำนึกรักบ้านเกิดและการมีส่วนร่วมโดยนักเรียน ศึกษาภูมิสังคมของท้องถิ่น ซึ่งมี ๖ ขั้นตอนได้แก่

ขั้นที่ ๑ คือ การกำหนดเรื่องหรือปัญหา จากท้องถิ่น

ขั้นที่ ๒ คือ การรวบรวมข้อมูลหรือศึกษาแหล่งเรียนรู้

ขั้นที่ ๓ คือ การออกแบบและเขียนเค้าโครงการทำโครงงาน

ขั้นที่ ๔ คือ การลงมือปฏิบัติ

ขั้นที่ ๕ คือ การเขียนรายงานโครงงาน

ขั้นที่ ๖ คือการนำเสนอและประเมินผลโครงงาน

๓. ขั้นสรุปบทเรียน และทำแบบทดสอบหลังเรียนเพื่อดูพฤติกรรมการเรียนที่เปลี่ยนไป

ที่มา ผู้ดูแลลระบบ สสค. 2558 . การปลูกจิตสำนึกรักท้องถิ่น( ออนไลน์ ) . แห่ลงที่มา : http://www.qlf.or.th/Home/Contents/1006 .16 มีนาคม 2558.



ความเห็น (1)

โพสข้อมูลอ้างอิงให้ชัดเจนด้วยครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท