อนุทิน 140031


boow ^^
เขียนเมื่อ

มาตรการผ่อนคลายในเชิงปริมาณทางการเงิน (QE) สามารถใช้ในการช่วยเหลือในการควบคุมระดับอัตราเงินเฟ้อไม่ให้เกินค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งเป็นการดำเนินนโยบายอย่างที่รวมถึงการจัดการความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพมากกว่าที่จะมีความมุ่งหมายในการปฎิบัติการต่อต้านภาวะเงินฝืด หรืออาจเป็นการดำเนินการที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอถ้าหากธนาคารต่าง ๆ ไม่สามารถที่จะปล่อยการกู้ยืมจากเงินสำรองออกไปได้

เป้าหมายของการนำมาตรการนี้มาใช้เป็นการเพิ่มปริมาณเงิน (money supply) มากกว่าที่จะใช้มาตรการในการลดอัตราดอกเบี่ยที่ไม่สามารถจะดำเนินการให้ต่ำกว่านี้ได้อีกแล้ว เพื่อลดปัญหากับดักของสภาพคล่องที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ และสร้างการเติบโตให่กับระบบเศรษฐกิจได้ ซึ่งมาตรการนี้มีความสามารถเพียงแค่ดำเนินการโดยการที่ธนาคารกลางเข้าไปควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนเท่านั้น

มาตรการผ่อนคลายในเชิงปริมาณทางการเงินนั้น ถูกใช้ครั้งแรกโดยธนาคารกลางประเทศญึ่ปุ่นในเดือนมีนาคม 2544 เพื่อต่อสู้กับภาวะเงินฝืดและรักษาระดับอัตราดอกเบี้ยให้คงอยู่ในระดับต่ำ เป็นการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ และเข้าสู่ธนาคารภาคเอกชนในการเพิ่มสภาพคล่องให้แก่การปล่อยกู้ของธนาคารเอกชนที่มีต่อผู้ประกอบการธุรกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นจึงได้ดำเนินมาตรการนี้โดยการซื้อพันธบัตรรัฐบาลมากกว่าที่จะคงระดับอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับศูนย์ที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการกระตุ้นเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังเข้าไปดำเนินการซื้อคืนหลักทรัพย์และทรัพย์สินต่าง ๆ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท