อนุทิน 139307


เทียนชัย ชามะสนธ์
เขียนเมื่อ

Flavell(1979)ได้ให้ความหมายความตระหนักในการรู้คิด (Metacognition)ว่าเป็นความสามารถของบุคคลที่มีต่อกระบวนการคิดของตนเอง รู้สึกได้ถึงความคิดของตนเอง สามารถที่จะรู้ว่าตนเองคิดอะไรอยู่ รู้ว่าตนเองรู้อะไร รู้ว่าตนเองไม่รู้อะไร และตอบสนองกับสิ่งที่ตนเองคิดได้ โดยผ่านการควบคุมและตรวจสอบ

การกระทำและปฏิสัมพันธ์ 4 แบบ ในโมเดลเชิงตรวจสอบเชิงการรู้ตามที่ Flavell(1979)ได้กล่าวไว้ (1)ความรู้เชิงความตระหนักในการรู้คิด(Metacognitive Knowledge) หมายถึง ความรู้หรือความเชื่อที่ถูกสะสมผ่านประสบการณ์และถูกเก็บไว้ในความจำระยะยาวซึ่งเกี่ยวข้องจิตใจและการกระทำของมนุษย์ ความรู้ที่ถูกเก็บไว้เหล่านี้บางส่วนเป็นความรู้ในเชิงพรรณนา และ ความรู้บางส่วนก็เป็นความรู้ในเชิงกระบวนการ เช่น บางคนมีความจำไม่ค่อยดี เขาอาจจะมีใบรายการในการซื้อของ เพื่อช่วยให้เขาซื้อของได้ครบและถูกต้อง เราอาจจะตระหนักรู้ว่า การเขียนใบรายการซื้อของจะเป็นยุทธวิธีที่ช่วยในการจำที่ดี นี่ก็เป็นตัวอย่าง ความรู้ความจำในเชิงพรรณนา และ รู้ว่าจะเขียนใบรายการซื้อของในโอกาสที่เหมาะสมได้อย่างไร นี่ก็เป็นตัวอย่างความรู้ความจำในเชิงกระบวนการ

อ้างอิง

Flavell, J. H. (1979). Metacognition and cognitive monitoring: A new area of cognitive-developmental inquiry. American Psychologist, 34, 906-911.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท