beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

อนุทิน 138902


beeman 吴联乐
เขียนเมื่อ

<อนุทิน ๒๔๓> : วันเสาร์ที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗

การพัฒนาคุณธรรมในศตวรรษที่๒๑ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช (ถอดคำบรรยายตอนที่ ๔)
อธิบาย HPA Axis (ต่อ)


  • HPA axis เป็นส่วนที่ทำให้ร่างกายของเราตอบสนอง (response) ต่อสิ่งที่มากระตุ้น (Stimuli) อย่างรุนแรงทางอารมณ์ (Stress) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เวลาตกใจ เวลากลัว
    • ปรากฏการณ์นี้ ถ้ามันเกิดขึ้นเรื้อรัง มันก็จะกระตุ้นเรื้อรัง ซึ่งทำให้ร่างกายลำบากมาก ก็ต้องหาทางแก้ไข เป็นกลไกทางธรรมชาติ ซึ่งเราไม่รู้ตัว เรื้อรังอันที่พูดนี้ ก็หมายถึงตั้งแต่เด็กอยู่ในท้องแม่
    • ความเครียดเรื้อรังนี้ อาจจะเกิดจากการขาดอาหาร แม่อาจจะอยู่ในภาวะการเครียด รวมทั้งตอนที่เด็กคลอดออกมาใหม่ๆ จนถึงวัน ๓,๔ ขวบ จะมีเด็กจำนวนหนึ่งขาดความรัก ขาดความอบอุ่น (๑ ใน ๓ ของเด็กไทย เสี่ยงต่อภาวะเครียดเรื้อรัง)
    • ความเครียดเรื้อรังนี้ จะทำให้ร่างกายทนไม่ไหว ก็จะต้องปิดสวิทซ์ของ HPA axis พอปิดสวิทซ์แล้วต่อไป มันก็ทำหน้าที่ไม่ค่อยได้ ทำหน้าที่ไม่ค่อยได้ ก็หมายความว่า การที่จะฝึกความสามารถทางสมองอีกหลายๆ อย่างนี้ก็จะอ่อนแอหรือทำได้ไม่ดี


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท