อนุทิน 137992


kritchaon saisema
เขียนเมื่อ

AAR ครั้งที่ 3 รายวิชาการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ (102611)

โดย นางสาวกฤชอร สายเสมา สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน

เรื่อง การอบรมทิศทางการวิจัยและพัฒนาด้านหลักสูตรและการสอนในศตวรรษที่ 21

1.การเตรียมตัวล่วงหน้า

คาดหวังว่าจะได้รับความรู้ในเรื่องการพัฒนาหลักสูตรและการสอนในศตวรรษที่ 21 ว่าควรมีวิธีการอย่างไร และใช้รูปแบบใดเข้ามาพัฒนาหลักสูตรการสอนของตนเอง

2. ได้เรียนรู้อะไรในวันนี้

ได้ทราบว่า ครูต้องมีความตื่นตัวและเตรียมพร้อมในการจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียนมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกในศตวรรษที่ 21 ที่เปลี่ยนไปจากศตวรรษที่ 20 และ 19 โดยทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่สำคัญที่สุด คือ ทักษะการเรียนรู้ (Learning Skill) ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เด็กในศตวรรษที่ 21 นี้ มีความรู้ ความสามารถ และทักษะจำเป็น ซึ่งเป็นผลจากการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ตลอดจนการเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ

ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 ที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต คือ การเรียนรู้ 3R x 7C

3R คือ Reading อ่านออก, Writing เขียนได้, และ Arithemetics คิดเลขเป็น

7C ได้แก่

Critical Thinking and Problem Solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา)

Creativity and Innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม)

Cross-cultural Understanding (ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์)

Collaboration, Teamwork and Leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ)

Communications, Information, and Media Literacy (ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ)

Computing and ICT Literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)

Career and Learning Skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้)

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ต้องก้าวข้าม “สาระวิชา” ไปสู่การเรียนรู้ “ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21”  ซึ่งครูจะเป็นผู้สอนไม่ได้ แต่ต้องให้นักเรียนเป็นผู้เรียนรู้ด้วยตนเอง โดยครูจะออกแบบการเรียนรู้ ฝึกฝนให้ตนเองเป็นโค้ช (Coach) และอำนวยความสะดวก ในการเรียนรู้แบบ PBL  ของนักเรียน ซึ่งสิ่งที่เป็นตัวช่วยของครูในการจัดการเรียนรู้คือ ชุมชนการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์เกิดจากการรวมตัวกันของครูเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำหน้าที่ของครูแต่ละคนนั่นเอง

สมรรถนะที่ครูไทยในศตวรรษที่21 พึงจะมีคือ CIAC

C Curriculum Competency : สมรรถนะด้านพัฒนาหลักสูตร รายวิชา หน่วยการเรียนรู้

และแผนการจัดการเรียนรู้

I Instructional Competency : สมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอนเน้นเด็กเป็นส าคัญ

ด้วยการใช้หลากหลายวิธีสอน

A Assessment Competency : สมรรถนะด้านการประเมินผลการเรียนรู้สู่การท าวิจัย

C Classroom Management Competency : สมรรถนะด้านการจัดการชั้นเรียน เพื่อสร้าง

บรรยากาศเชิงบวกในการพัฒนาสมรรถนะดังกล่าว

3. จะนำไปประยุกต์ใช้

  • จะนำสิ่งที่เรียนรู้จากการอบรมเรื่องกระบวนการออกแบบหลักสูตรออกแบบและการสอนในศตวรรษที่21 และเทคนิคการสอนมาประยุกต์ใช้ในการในการจัดการเรียนการสอนของตนเอง เพื่อให้เกิดคุณภาพที่ดีต่อผู้เรียน


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท