อนุทิน 137530


พระอาจารย์แสนปราชญ์ ฐิตสัทโธ
เขียนเมื่อ

ศปท.นม. ใช้มาตรการศึกษาและปฏิบัติธรรมแบบบูรณาการ 

เพื่อสร้าง "คนดีมีศีล ๕" แบบยั่งยืน

ถวายเป็นพุทธบูชา ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์  ๘๔,๐๐๐ คน

ด้วยเจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชและประธานกรรมการบริหารมหาเถรสมาคมมีดำริที่จะเสริมสร้างความปรองดองและสมานฉันท์ของคนในชาติภายใต้โครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล ๕”โดยพลเอกประยุทธ์จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ให้ทุกภาคส่วนในประเทศร่วมมือกันดำเนินการนั้น

ศูนย์ประสานงานสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดแห่งประเทศไทยภาค ๑๑ (แห่งที่ ๑)จังหวัดนครราชสีมา (ศปท.นม.)จึงได้จัดทำโครงการสร้าง “คนดีมีศีล ๕” หนุนเสริมโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล ๕” ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างกลุ่ม “คนดีมีศีล ๕” ให้เกิดขึ้นในครอบครัวสถานศึกษาและหน่วยงานองค์กรต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาและเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์  และหนุนเสริมโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล ๕”  สนองงานมหาเถรสมาคม

ส่วนวิธีการสร้างคนดีมีศีล ๕ นั้น  ทาง ศปท.นม. ใช้มาตรการศึกษาและปฏิบัติธรรมแบบบูรณาการ โดยวิธีบูรณาการพุทธศาสน์กับวิทยาศาสตร์เข้าด้วยกัน ทั้งนี้ได้นำวิทยานิพนธ์เรื่องการศึกษาเชิงวิเคราะห์สติปัฏฐานกถาในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค  ซึ่งเป็นวิทยานิพนธ์ดีเ่ด่น อันดับ ๑ ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยพระอาจารย์แสนปราชญ์  ฐิตสัทโธ มาต่อยอดและทำการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อค้นหาหลักและวิธีการฝึกสติตามแนวทางของพระพุทธเจ้า  พบว่ามีการฝึกสติแบบทั่วไปและการฝึกสติเพื่อความดับทุกข์ ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการสร้างคนดีมีศีล ๕ แบบยั่งยืนได้  ส่วนการบูรณาการนั้นได้เชิญ ดร.อาจอง  ชุมสาย ณ อยุธยา  นักวิทยาศาสตร์ที่ออกแบบอุปกรณ์ควบคุมยานไวกิ้งไปจอดบนดาวอังคารได้สำเร็จเป็นคนแรกของโลก ผู้ก่อตั้งโรงเรียนสัตยาไส  เพื่อสร้างคนดีเหนือสิ่งใด  เป็นที่ปรึกษา และบูรณาการงานวิจัยของ Mr. Derek  Patton  จากประเทศออสเตรเลีย  ที่ค้นพบการใช้ภาษาคุณธรรมเพื่อปลุกพลังศีลธรรมจากภายในของเด็กและเยาวชน 

มาตรการศึกษาและปฏิบัติธรรมแบบบูรณาการ โดยวิธีบูรณาการพุทธศาสน์กับวิทยาศาสตร์

ก.ศึกษาหลักการฝึกสติตามแนวทางของพระพุทธเจ้า

ศึกษาหลักการฝึกสติตามแนวทางของพระพุทธเจ้า โดยสังเขป มี ๓ ขั้นตอน

๑)ศึกษาเรื่องสติทั่วไปแบ่งได้ ๒ อย่างได้แก่(๑) สติ,(๒) สติสัมปชัญญะ

๑.๑) สติหมายถึงความระลึกได้นึกได้นึกทันดึงไว้ไม่ลืมไม่เผลอในการทำความไม่ดี/ไม่ทำความชั่ว/ไม่ทำผิดศีล ๕ เป็นต้นสติในความหมายนี้ทำหน้าที่กั้นกิเลสหรือความชั่ว/ความไม่ดี/อกุศลทั้งหลายมี ๑๔ อย่างได้แก่(๑) ความโลภ (โลภะ), (๒) ความโกรธ (โทสะ),(๓) ความหลง (โมหะ),(๔) ความเห็นผิด (ทิฏฐิ), (๕) ความถือตัว (มานะ),(๖) ความริษยา (อิสสา), (๗) ความตระหนี่ (มัจฉริยะ),(๘)ความรำคาญใจ(กุกกุจจะ), (๙) ความไม่ละอายบาป (อหิริกะ),(๑๐) ความไม่เกรงกลัวบาป (อโนตตัปปะ), (๑๑) ความฟุ้งซ่าน (อุทธัจจะ)(๑๒) ความท้อถอย (ถีนะ), (๑๓) ความหดหู่ (มิทธะ), (๑๔) ความลังเลสงสัย (วิจิกิจฉา)

๑.๒) สติสัมปชัญญะหมายถึง(๑) ความระลึกได้นึกได้ไม่ลืมไม่เผลอและ
(๒) ระลึกรู้ระลึกรู้ไว้นึกรู้ไว้

๑.๒.๑สติคือระลึกได้นึกได้ดึงไว้ไม่ลืมไม่เผลอทำหน้าที่กั้นกิเลสความชั่ว/ความไม่ดี/ไม่ทำผิดศีล ๕คือ (๑) ไม่ฆ่าและเบียดเบียนสัตว์(๒) ไม่ลักทรัพย์
(๓) ไม่ประพฤติผิดในกาม(๔) ไม่พูดเท็จ(๕) ไม่ดื่มสุราเมรัยและสิ่งเสพติดทุกชนิดรวมทั้งกั้นอกุศลทั้งหลาย ๑๔ อย่างในข้อ ๑.๑) ด้วย

๑.๒.๒สติสัมปชัญญะคือ ระลึกรู้ระลึกรู้ไว้นึกรู้ไว้นึกถึงความดีงาม/กุศลต่างๆ ที่ต้องทำให้เกิดขึ้น ได้แก่ เบญจธรรม ๕ อย่าง(๑) ความเมตตากรุณา
(๒) การประกอบอาชีพสุจริตมีความเสียสละ(๓) ความสำรวมในกาม(๔) ความซื่อสัตย์(๕) ความมีสติสัมปชัญญะนอกจากนั้นยังต้องระลึกรู้ระลึกรู้ไว้นึกรู้ไว้นึกถึงความดีงาม/กุศลต่างๆ โดยสรุปคือทาน ศีล ภาวนา(ทั่วไป) (รวมทั้งคุณธรรมดีงามอื่นๆ เช่น ศรัทธาเมตตากรุณามุทิตาอุเบกขาเป็นต้น

๒) ศึกษาเรื่องสติเพื่อความพ้นทุกข์หมายถึงการพัฒนาสติทั่วไปจากข้อ ๑) โดยอาศัย ๓ องค์ประกอบหลักคือ (๑) ความเพียร(๒) สัมปชัญญะ(๓) สติเป็นข้อปฏิบัติเบื้องต้นที่นำไปสู่ความดับทุกข์ (มรรคเบื้องต้น)เป็นเครื่องมือพัฒนาจิตให้เกิด “ปัญญา”เพื่อเห็นตามความเป็นจริงแท้ (เห็นไตรลักษณ์, เห็นปฏิจจสมุปปบาท,เห็นอริยสัจจ์) ได้แก่สติปัฏฐาน,สตินทรีย์,สติพละ,สติสัมโพชฌงค์,สัมมาสติและโน้มนำไปสู่ข้อปฏิบัติเบื้องปลาย (มรรคเบื้องปลาย) คืออริยมรรคมีองค์ ๘

๓) ศึกษาเรื่องอริยมรรคมีองค์ ๘คือข้อปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์แปดอย่าง ได้แก่
(๑) ความเห็นถูก, (๒) ความคิดถูก,(๓) ความพูดถูก, (๔) ความกระทำถูก, (๕) ความมีอาชีพถูก, (๖) ความเพียรถูก,(๗) ความมีสติถูก, (๘) ความมีสมาธิถูก

ข.บูรณาการเข้ากับเทคนิควิธีการของศาสตร์สมัยใหม่

บูรณาการเข้ากับเทคนิควิธีการของวิธีการของศาสตร์สมัยใหม่ ๓ วิธีคือ

๑.บูรณาการเข้ากับวิธีการฝึกสมาธิแบบแสงสว่างของโรงเรียนสัตยาไส (ดร.อาจองชุมสาย ณ อยุธยา)เป็นเทคนิคการฝึกสมาธิแบบแสงสว่างโดยกำหนดตามแสงสว่างที่เคลื่อนไปยังจุดต่างๆ โดยสรุปคือคิดดีพูดดีทำดีคบคนที่ดีช่วยเหลือผู้อื่นอยู่เสมอโดยให้เห็นคุณค่าความเป็นมนุษย์ ๕ อย่างได้แก่ ๑) ความรักความเมตตา๒) ความจริง๓) ความสงบสุข๔) ความประพฤติชอบ๕) ความไม่เบียดเบียน

บูรณาการโดยการฝึกสติสัมปชัญญะระลึกถึงแสงสว่างเป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงาม แห่งปัญญา กำหนดระลึกถึงการรักษาศีลและการทำความดีและช่วยเหลือผู้อื่นอยู่เสมอ

๒.บูรณาการเข้ากับวิธีการใช้ภาษาคุณธรรมของ The Virtues Project จากประเทศออสเตรเลีย เป็นเทคนิคที่ใช้ภาษาพูดเพื่อสร้างพลังคุณธรรม/ศีลธรรมซึ่งเป็นกรรมพันธุ์ที่ติดในจิตวิญญาณของเด็กและเยาวชนตลอดจนบุคคลทั่วไป อาทิ การยอมรับ, ความรับผิดชอบ,การเห็นคุณค่า, ความแน่วแน่ฯลฯ เป็นเทคนิคที่ทำให้เกิดการเรียนรู้เรื่องจริยธรรมกระตุ้นพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมเหล่านี้จนติดเป็นนิสัยด้วยความพยายามให้กำลังใจให้เกิดความเพียรที่ดีจนเกิดมีพลังสร้างความดีงามนั้นออกไปสู่ภายนอกอันส่งผลให้เกิดประโยชน์ความสงบสุขร่มเย็นของตนเองของผู้อื่นตลอดจนสังคมประเทศชาติและต่อมวลมนุษยชาติของโลก

บูรณาการโดยการฝึกสติสัมปชัญญะในการใช้ภาษาพูดเพื่อสร้างพลังคุณธรรมทางเบญจธรรม ๕ ให้เกิดขึ้นคือ(๑) ความเมตตากรุณา(๒) การประกอบอาชีพสุจริตมีความเสียสละ(๓) ความสำรวมในกาม(๔) ความซื่อสัตย์(๕) ความมีสติสัมปชัญญะตลอดจนการฝึกใช้ภาษาพูดเพื่อสร้างพลังคุณธรรมอื่นๆ เช่นการทำทานและเสียสละการรักษาศีลและสำรวมการฝึกสมาธิและสติ รวมทั้งคุณธรรมดีงามอื่นๆ เช่น ศรัทธาเมตตากรุณามุทิตาอุเบกขาเป็นต้น

๓.บูรณาการเข้ากับวิธีการฝึกทักษะปฏิเสธสิ่งเสพติดของครูตำรวจ D.A.R.Eโดยบทเรียนหลักสูตร D.A.R.E. จะเป็นลักษณะของการฝึกให้เด็กนักเรียนได้คิดถึงประเด็นปัญหาในสถานการณ์จำลอง การประเมินทางเลือกปฏิบัติ ผลที่อาจเกิดขึ้นเมื่อตัดสินใจเลือกปฏิบัติตามทางเลือกต่าง ๆ ของตน การตัดสินใจเลือกทางปฏิบัติที่เหมาะสมกับสถานการณ์จำลอง การประเมินผลการปฏิบัติว่ามีความเหมาะสมและถูกต้องมากน้อยเพียงใดเนื้อหาหลักสูตร D.A.R.E. มีความโดดเด่นในรูปแบบของการนำเสนอข้อมูลให้แก่เด็กนักเรียน โดยมีการศึกษาวิจัยค้นคว้าอย่างเป็นระบบ รวมทั้งกิจกรรมในหลักสูตรนี้ได้รับการออกแบบเพื่อเสริมสร้างความสามารถของเด็กนักเรียนในการแก้ไขปัญหาส่วนตัว ปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาเสพติด เด็กนักเรียนสามารถตัดสินใจโดยใช้รูปแบบการตัดสินใจแบบ D.A.R.E. นั่นคือ การเลือกวิธีดำเนินการโดยคำนึงถึงความรับผิดชอบและผลที่อาจเกิดตามมา การนำเสนอบทเรียนมีรูปแบบที่น่าสนใจและเกิดผลสัมฤทธิ์ในเชิงประจักษ์แก่เด็กนักเรียน โดยมีสถานการณ์จำลองและแสดงบทบาทสมมุติให้เด็กนักเรียนได้ทำการฝึกปฏิบัติค้นหาวิธีการแก้ไขปัญหาร่วมกันกับเพื่อน และตัดสินใจเลือกทำอย่างมีความรับผิดชอบในการตัดสินใจนั้น ๆนอกจากนี้ยังมีการฝึกทักษะ วิธีการต่อต้านแรงกดดันจากเพื่อนและความรู้สึกภายในของตนเองอันเป็นการพัฒนาให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการออกแบบหลักสูตร หลักการ และสมมุติฐานที่ได้มาจากการค้นคว้าวิจัย เด็กนักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับสถานการณ์อื่นที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน

บูรณาการโดยการนำสติสัมปชัญญะเข้าไปใช้ในเนื้อหาหลักสูตร D.A.R.E.

ภาคปฏิบัติธรรม  ใช้การสวดมนต์  ปฏิบัติธรรมโดยการฝึกสติตามแนวทาง สติปัฏฐาน ๔

ทุกวันเสาร์อาทิตย์เวลา ๑๙.๐๐ – ๒๑.๐๐ น.

ทุกวันพระและวันหยุดนักขัตฤกษ์ปฏิบัติตลอดคืน

ณ พุทธสถานเฉลิมพระเกียรติ  สูนย์วิปัสสนาเอกายนมรรค-อนัตตา  ต.ท่าช้าง  อ.เฉลิมพระเกียรติ  จ.นครราชสีมา

  โทรศัพท์  ๐๘๓๑๒๕๖๓๗๕



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท