อนุทิน 137172


Happy Smile
เขียนเมื่อ

ประเทศเนปาลNepal

สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล

(Federal Democratic Republic of Nepal)

       ประเทศเนปาล (เนปาล: नेपाल)หรือชื่อทางการว่า สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล        (อังกฤษ: Federal Democratic Republic of Nepal; เนปาล: सङ्घीय लोकतान्त्रिक गणतन्त्र नेपाल " สงฺฆีย โลกตานฺตฺริก คณตนฺตฺร เนปาล") เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียใต้ บริเวณเทือกเขาหิมาลัย มีพรมแดนติดกับทิเบตของจีน และประเทศอินเดีย เนปาลเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบราชาธิปไตย          มาเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยในปี พ.ศ. 2550 โดยก่อนปีพ.ศ. 2549 เนปาลเคยเป็นรัฐเดียวในโลกที่มีศาสนาฮินดูเป็นศาสนาประจำชาติ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของเนปาลระบุให้ประเทศเป็นสาธารณรัฐโลกวิสัย นอกจากศาสนาฮินดูที่คนเนปาลส่วนใหญ่นับถือแล้ว เนปาลยังเป็นที่ตั้งของศาสนสถานสำคัญของพุทธศาสนา คือลุมพินีวัน ที่ประสูติของพระโคตมพุทธเจ้า

                

     สภาพภูมิประเทศประกอบด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน เป็นส่วนหนึ่งของแนวเขตเทือกเขาถนนธงชัยที่ทอดตัวตามแนวเหนือ-ใต้ ทอดตัวมาจากเทือกเขาหิมาลัยในประเทศเนปาล 


เศรษฐกิจ

       พื้นที่เกษตรกรรมมีเพียงร้อยละ 17 พืชที่สำคัญ ได้แก่ ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโพด ข้าวเจ้า พื้นที่ 2 ใน 3 ปกคลุมด้วยป่าไม้ มีการตัดไม้เพื่อเป็นวัตถุดิบของอุตสาหกรรมไม้อัด โรงงานอุตสากรรมขนาดเล็กที่แปรสภาพผลผลิตทางการเกษตร ได้แก่ โรงงานน้ำตาล โรงงานกระดาษ

รายได้ส่วนใหญ่ของประเทศ ได้มาจากการค้าแรงงานของชาวเนปาลีที่อยู่ต่างประเทศ และส่งเงินกลับมาให้กับครอบครัวที่อาศัยอยู่ในเนปาล

ธุรกิจการท่องเที่ยวมีจุดสนใจอยู่ที่การท่องเที่ยวเชิงผจญภัยและวัฒนธรรม เช่นการเดินเขา ปีนเขา และล่องแก่ง ตัวอย่างสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในเนปาลก็มีอาทิ เช่น ยอดเขาเอเวอร์เรสต์ ,วัดปศุปฏินาถ ,วัดสวยมภูวนาถ ,พระราชวังกาฐมัณฑุ ,เมืองโพคารา ฯลฯ

นโยบายการลงทุน

       เนปาลเปิดให้มีการลงทุนต่างชาติโดยตรง ( Foreign Direct Investment-FDI )        และการลงทุน ในตลาดหุ้น (Portfolio or Indirect Investment) ปัจจุบันมีการลงทุนต่างชาติซึ่งจดทะเบียนแล้วประมาณ 400 ราย มูลค่ารวม 53.3 ล้านรูปี และมีโครงการที่เสนอขอ FDI มากกว่า 700 ราย รวมมูลค่าประมาณ US$ 1.5 ล้าน ส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนอินเดีย ( มากกว่า 35% ของโครงการทั้งหมด) ตามมาด้วยอเมริกา ญี่ปุ่น จีน เยอรมัน และเกาหลีใต้ โดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในสินค้าอุปโภคบริโภค (โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าที่ส่งออกไปอินเดีย) และการให้บริการท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหารและเครื่องดื่ม พลังน้ำ การสำรวจแร่ อุตสาหกรรมเคมี เป็นต้น

นโยบายด้านเศรษฐกิจและการค้าของเนปาล

        เนื่องจากเนปาลถูกจัดให้เป็นประเทศหนึ่งที่ยากจนที่สุดในโลก รัฐจึงได้กำหนดกลยุทธ์เพื่อขจัดความยากจนด้วยการเพิ่มความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ การพัฒนาสังคม และการมีธรรมาภิบาลตลอดช่วงปี 2533 - 2543 รัฐได้ปรับนโยบายการค้าเพื่อส่งเสริมการผลิตให้มีประสิทธิภาพ ลดนโยบายปกป้อง ปรับปรุงโครงสร้างภาษีศุลกากร และกำหนดมาตรการให้สอดคล้องกับนโยบายเปิดเสรีทางการค้า การปฏิรูปที่สำคัญคือการยกเลิกระบบใบอนุญาตและโควต้าในการค้าระหว่างประเทศและให้มีการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศได้ ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการขององค์การการค้าโลก (WTO) ปัจจุบัน รัฐได้ปฏิรูปโครงสร้างการค้าระหว่างประเทศ ในเรื่องดังต่อไปนิ้

     - การจำกัดบทบาทภาครัฐและเพิ่มการมีส่วนร่วมภาคเอกชน

     - ปรับระบบภาษีให้ง่ายขึ้น

     - ให้เสียค่าธรรมเนียมการส่งออกในอัตรา 5% ของสินค้าที่ส่งออก

     - ไม่มีข้อจำกัดปริมาณส่งออกสินค้าของนักท่องเที่ยว

     - ให้มีการเรียกคืนภาษีนำเข้าที่ได้จ่ายไปจากการนำเข้าวัตถุดิบหรือสินค้าขั้นกลางที่ใช้เพื่อ การผลิตเพื่อการส่งออกได้

     - จัดตั้ง Export Promotion Zone (EPZ) และไม่เรียกเก็บภาษีในการนำเข้าวัตถุดิบหรือส่วน อุปกรณ์ที่นำเข้ามาเพื่ออุตสาหกรรมในเขต EPZ

     - การส่งออกสินค้าใดๆ ไม่ต้องมีใบอนุญาต เว้นแต่เป็นสินค้าประเภทที่มีข้อห้ามส่งออกหรือมีการจำกัดปริมาณไว้ตามที่ระบุไว้ใน Annexure 1 และการนำเข้าสินค้าสามารถนำเข้าได้ทุกชนิด เว้นแต่ที่ได้ระบุเป็นสินค้าต้องห้ามหรือจำกัดปริมาณนำเข้าตามที่ได้ระบุไว้ใน Annexure 2

     - อุตสาหกรรมที่มีการผลิตเพื่อการส่งออกเกินกว่าร้อยละ 80 ของการผลิตทั้งหมด ก็จะได้รับสิทธิประโยชน์คล้ายกับอุตสาหกรรมในเขต EPZ

     - การนำเข้าวัตถุดิบไม่ต้องมีใบอนุญาตและไม่มีข้อจำกัดปริมาณำการนำเข้า เว้นแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะเป็นอย่างอื่น

     - การทำธุรกรรมเกี่ยวกับเงินตราต่างประเทศเพื่อการนำเข้าสินค้าให้ทำได้กับธนาคารพาณิชย์ตามราคาตลาด ผู้ส่งออกก็มีสิทธินำเงินรายได้จากการส่งออกเข้าในบัญชีเงินต่างประเทศของตน


ความสัมพันธ์ทางการค้ากับประเทศต่างๆ

การค้าระหว่างไทย-เนปาล

       การค้าทวิภาคีไทย-เนปาล (ปี 2552) มีมูลค่ารวม 78.86 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยส่งออก 78.24 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 0.62 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้ามาโดยตลอด ทั้งนี้ ไทยส่งออกเส้นใยประดิษฐ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องรับวิทยุและส่วนประกอบ และนำเข้าหนังดิบและ หนังฟอก ธัญพืชและธัญพืชสำเร็จรูปจากเนปาล การลงทุนระหว่างสองประเทศยังไม่มี เนปาลขอให้ไทยส่งเสริม ให้เอกชนไทยเข้าไปลงทุนในเนปาล โดยเฉพาะด้านอุตสาหกรรมผ้าไหม กาแฟ ผลผลิตทางการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่า

เนปาลกับสหรัฐอเมริกา

     ประเทศทั้งสองมีความสัมพันธ์ทางการทูตในปี 2481 และมีความสัมพันธ์ทางการค้าตามสถานะของชาติที่ได้รับ MFN จากสหรัฐฯ และเนปาลได้รับความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจจากสหรัฐฯ ผ่านทางตัวแทนขององค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังได้เข้าจัดตั้งองค์กรธุรกิจหรือองค์กรเพื่อสังคมที่ไม่แสวงหากำไรในหลายสาขา อาทิเช่น CARE Save the Children Federation , United Mission to Nepal, Seventh Day Adventists, the Coca-Cola Corporation การส่งออกสิ่งทอจากเนปาลไปยังสหรัฐฯ ได้รับโควต้าตามความตกลงที่ลงนามในปี 2536 ซึ่งขยายเวลาให้เป็นปี 2544-2547 โดยการส่งออกสินค้าหัตถกรรม กรมศุลกากรของเนปาลจะประเมินมูลค่าการส่งออกตามคำแนะนำของ The Handicraft Association of Nepal

เนปาลกับอินเดีย

     ความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียกับเนปาลเริ่มต้นหลังจากที่อินเดียได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี 2491 ภายใต้สนธิสัญญา 2 ฉบับคือ Treaty of Sagauli และ Treaty of Peace and Friendship ซึ่งเป็นความร่วมมือที่เน้นด้านความสัมพันธ์ทางการทูตและการเมืองรวมถึงด้านการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยต่างให้สิทธิแก่คนในชาติของทั้งสองประเทศเท่าเทียมกัน ประเทศทั้งสองได้ลงนามในความตกลง Treaty of Trade and Commerce ปีค.ศ.1950 โดยอินเดียให้สิทธิแก่เนปาลในการนำเข้าส่งออกสินค้าผ่านดินแดนและท่าเรือของอินเดียโดยไม่มีการ เรียกเก็บภาษีผ่านแดน อินเดียยังออกกฎหมาย The Citizenship Act of 1952 ยินยอมให้คนอินเดีย อพยพมาเนปาลและได้รับสัญชาติของเนปาลได้ด้วย เช่นเดียวกันเนปาลก็เปิดโอกาสให้คนเนปาล อพยพไปยัง อินเดียได้โดยเสรี (แต่นโยบายนี้ได้เปลี่ยนไปแล้วเนื่องจากรัฐธรรมนูญของเนปาล) ทั้งนี้ ความตกลงทางการค้า (The Treaty of Trade) ซึ่งลงนามในปี 2534 และในปี 2545 ได้ขยายความ ร่วมมือต่อไปอีก 5 ปี จนกระทั่งถึงปี 2550 อินเดียยังได้ตั้งฐานทัพในเนปาลและมีบันทึกความเข้าใจเพื่อความร่วมมือในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ ทำให้ประชาชนและรัฐบาลเนปาลไม่ค่อยพอใจกับการมีอิทธิพลเพิ่มมากขึ้นของอินเดียในประเทศเนปาล ทั้งด้านการเมือง การทหาร และการค้า ดังนั้น เนปาลจึงหันไปมีความสัมพันธ์กับจีนมากขึ้นเพื่อถ่วงดุลการมีอิทธิพลของอินเดีย และทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียกับเนปาลไม่ดีเท่าใดนัก

ในปัจจุบัน ประเทศทั้งสองได้เริ่มปรับท่าทีเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและเน้นด้านการค้ามากยิ่งขึ้น โดยอินเดียยอมผ่อนปรนตกลงทำสัญญาที่ไม่เป็นลักษณะต่างตอบแทน โดยอินเดียได้ให้สิทธิประโยชน์ทางการค้าอย่างมากกับเนปาล และมีการแก้ไขปรับปรุงสนธิสัญญาว่าด้วยการค้าเป็นระยะๆ ภายใต้สนธิสัญญานี้ เนปาลสามารถส่งออกสินค้าไปยังอินเดียโดยไม่ต้องเสียภาษีและไม่มีข้อจำกัดด้านปริมาณ

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2546 ได้มีการแก้ไขสนธิสัญญาเพื่อขยายความผูกพันทางการค้าสองฝ่ายให้มากยิ่งขึ้น โดยมีรายละเอียดในเรื่องกฎเกณฑ์ว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าและการตีมูลค่าที่มีความโปร่งใส สินค้าประเภท Sensitive Product บางรายการสามารถนำเข้าอินเดียได้โดยปลอดภาษี

ความสัมพันธ์ระหว่างเนปาลกับอินเดีย มีทั้งด้านการเมือง เศรฐกิจ ศาสนา และวัฒนธรรม ชาวเนปาลกับอินเดียแต่งงานกันเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ การท่องเที่ยวเชิงศาสนาศึกษาระหว่างสองประเทศก็มีมาช้านานแล้ว

สินค้าภายใต้ความตกลงนี้รวมไปถึงสินค้าขั้นปฐมและสินค้าอุตสาหกรรมอื่นที่ผลิตในเนปาลจะได้รับการยกเว้น basic custom duties และได้รับโควต้าพิเศษ สำหรับสินค้าประเภท acrylic yarn, copper products, vegetable fats and zinc oxide ต้องได้รับใบอนุญาตแหล่งกำเนิดสินค้าซึ่งออกโดย FNCCI

เนปาลกับจีน

     จีนมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับเนปาลเทียบเท่ากับที่จีนมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับอินเดีย เนปาลคาดว่าการแข่งขันของประเทศเพื่อนบ้านยักษ์ใหญ่ระหว่างจีนกับอินเดียจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของเนปาล อย่างไรก็ดี จีนกับเนปาลได้ทำความตกลงช่วยเหลือทางเศรษฐกิจกันในปี 2499 โดยจีนได้ช่วยในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานและการดำเนินการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ

เนปาลกับภูฏาน

     เนปาลสนใจที่จะมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับภูฎาน แต่มีข้อขัดข้องหลายประการเนื่องมาจากสนธิสัญญาที่ภูฎานทำไว้กับอินเดียในปี 2492 ทำให้ต้องเดินตามนโยบายต่างประ เทศตามที่อินเดียกำหนดแนวทางไว้ ข้อขัดแย้งที่สำคัญในความสัมพันธ์ระหว่างเนปาลและภูฎาน คือ สถานการณ์ทางตอนใต้ของภูฎานซึ่งมีชุมชนใหญ่ของเนปาลอาศัยอยู่ ในอดีตคนเนปาลอพยพไปอยู่ทางใต้ของภูฏานเป็นจำนวนมากซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธ ทั้งเนปาลและภูฏานมีเศรฐกิจที่ต้องพึ่งพาอินเดีย โดยอินเดียมีอำนาจทางการเมืองเหนือทั้งสองประเทศมาก

เนปาลกับปากีสถาน

     เนปาลกับปากีสถานมีความตั้งใจจะขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจไปสู่การทำความตกลง FTA โดยจัดให้มีการเจรจากันในเดือนพฤศจิกายน 2547 ในเรื่องการค้าชายแดน การท่อง เที่ยว สิ่งทอ ธนาคาร ประกันภัย เครื่องมือแพทย์ ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์

เนปาลกับบังกลาเทศ

     ในปี 2519 เนปาลและบังกลาเทศลงนามในความตกลง The Trade and Payment Agreements และ The Transit Agreement ภายใต้ The Trade and Payment Agreements ทั้งสองประเทศได้ตกลงใช้หลัก MFN กับเรื่องการออกใบอนุญาตแบบพิธีการศุลกากร อัตราภาษีศุลกากรและภาษีอื่นๆ ค่าธรรมเนียมคลังสินค้าและการขนส่ง และค่าธรรมเนียมอื่นที่เรียกเก็บจากการนำเข้าส่งออกสินค้า

สินค้าที่ส่งออกจากเนปาลไปยังบังกลาเทศตามที่ Schedule A ของความตกลงรวมถึงสินค้าขั้นปฐมบางชนิด เช่น rice, wheat and other cereals; pulses; mustard seeds and oil; other oilseeds and oilcakes และ สินค้าอุปโภคบริโภค หรือกึ่งอุปโภคบริโภค เช่น bidi and tobacco; big cardamom, ginger and chilies; boulders and shingles; bristles; catechu; cheese and ghee; curios and handicrafts; medicinal plants and herbs; stainless steel utensils; strawboard; synthetic textiles; timber and wood products; wool; woolen carpets โดยไม่จำต้องแสดงเอกสารหลักฐานการส่งออกภายใต้ข้อตกลง

การกำหนดจุดผ่านเข้า-ออก และคลังสินค้าให้เป็นไปตาม The Transit Agreement

การจ่ายเงินในการค้าสองฝ่ายระหว่างเนปาลกับบังกลาเทศสามารถแลกเปลี่ยนเงินตราของกันได้เว้นแต่จะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

เนปาลกับแคนาดา

     ภายใต้ Canada’s Least Developed Countries Market Access Scheme การส่งออก สินค้าสิ่งทอและเครื่องประดับจากเนปาลไปแคนาดา จะได้รับโควต้าโดยต้องมีเอกสารประกอบ

เนปาลกับสหภาพยุโรป

     ภายใต้ EU Generalized System of Preferences (GSP) เนปาลได้รับโควต้าส่งออกสินค้าสิ่งทอในช่วงเวลา 2545-2547 โดยมีเงื่อนไขบางประการ เช่น ต้องเป็นสินค้าที่ระบุไว้โดยเฉพาะและต้องมี Export Visa แสดงถึงแหล่งกำเนิดสินค้ามาจากประเทศที่เป็นสมาชิกของ SAEAN หรือSAARC เป็นต้น อีกทั้งต้องมี Export Licence ซึ่งออกโดย The Department of Commerce ตามที่ระบุไว้ใน The EU-Nepal Agreement on Trade and Textiles

เนปาลกับญี่ปุ่น

     ในเดือนธันวาคม 2545 ญี่ปุ่นให้ GSP โดยยกเว้นภาษีนำเข้า และให้โควต้าพิเศษแก่สินค้าของเนปาลมากขึ้นกว่าเดิม แต่ทั้งนี้ สินค้าของเนปาลต้องเป็นไปตาม GSP Form A ซึ่งออกโดย Nepal Trade Promotion Centre หรือหน่วยงานอื่น เช่น หอการค้า ภายใต้เงื่อนไขว่าหน่วย งานนั้นได้จดทะเบียนไว้กับ The Japanese customs authorities อย่างไรก็ตามการส่งสินค้าที่ไม่เกินกว่าสองแสนเยนไม่ต้องทำตาม GSP Form A

การนำเข้า-การส่งออก

     เนปาลมีระบบเสรีในการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ ไม่มีข้อจำกัดในส่วนที่เกี่ยวกับการ ส่งออก-การนำเข้า หรือการทำธุรกรรมทางการค้า เพียงแต่ผู้นำเข้าต้องเปิดบัญชีกับธนาคารพาณิชย์และกรอกแบบฟอร์มควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราเพื่อรับ LC ในนามของผู้ส่งออก และจะได้รับอนุญาตให้ส่งออกสินค้าได้ต่อเมื่อเป็นการจ่ายเงินประเภทจ่ายล่วงหน้าหรือใช้ LC (The Foreign Exchange Regulation Act, 1962, และ The Foreign Exchange Rules, 1994)

1. การนำเข้า

     โดยหลัก การนำเข้าสินค้าสู่เนปาลไม่จำเป็นต้องร้องขออนุมัติอย่างเป็นทางการ และสามารถ นำเข้าสินค้าได้ทุกชนิดเว้นแต่เป็น สินค้าในรายการต้องห้ามนำเข้า (Products banned for import) หรือ สินค้าที่ต้องมีใบอนุญาตการนำเข้า (Products subject to import licensing) ตามรายการที่กำหนดไว้ ซึ่งเนปาลไม่ได้นำระบบโควต้ามาใช้แต่อย่างใด

2. การส่งออก

     นโยบายเศรษฐกิจมหภาคของเนปาลมุ่งเพิ่มดุลการชำระเงินโดยการส่งเสริมการส่งออกเพื่อให้ ได้มาซึ่งเงินตราต่างประเทศที่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้น รัฐจึงมีนโยบายเปิดเสรีการส่งออกสินค้า แต่มี ข้อยกเว้นสำหรับสินค้าบางอย่างที่มีข้อจำกัดด้านปริมาณการส่งออก (Products under quantitative restrictions) และสินค้าที่ต้องห้ามการส่งออก (Products banned for export)

กำไรจากการส่งออก ตามปกติจะไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ และผู้ส่งออกยังมีสิทธิขอคืนภาษี ศุลกากร ภาษีขาย และภาษีสรรพสามิต ที่ถูกเรียกเก็บจากการนำเข้าวัตถุดิบสำหรับการผลิตเพื่อ ส่งออกได้ภายใน 60 วันด้วย

ภาพรวมเศรษฐกิจของเนปาล

     จากโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศเนปาล ณ ปัจจุบันพบว่า ชาวเนปาลส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจเนปาล พื้นที่กว่าร้อยละ 20 ของประเทศใช้สำหรับการทำเกษตรกรรม และมีเพียงร้อยละ 0.49 ของพื้นที่เกษตรกรรมเป็นการเพาะปลูกแบบถาวร ได้แก่ ข้าวเป็นส่วนใหญ่ ด้วยประเทศเนปาลเป็นประเทศกำลังพัฒนา จึงพบว่าประชากรร้อยละ 40 มีรายได้ต่ำกว่ามาตรฐานของรายได้ต่ำสุดที่จะสามารถดำรงชีพได้ หรือกล่าวได้ว่ามีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเนปาลเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลกด้วย Per capita GDP ประมาณ US$ 270 อย่างไรก็ตาม เนปาลเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ คือ แหล่งน้ำ ส่วนทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ ที่สามารถพบได้ ได้แก่ แร่ควอร์ทซ ไม้ใหญ่ที่สามารถนำไปแปรรูปได้ ถ่านหินลิกไนต์ ทองแดง แร่โคบอต์ล และ แร่เหล็ก

อุตสาหกรรมภายในประเทศ

     ส่วนใหญ่แล้วเป็นอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากการผลิตทางการเกษตร ซึ่งขึ้นกับผลผลิตทางการเกษตรที่ผลิตได้เป็นสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวและข้าวโพดซึ่งเป็นอาหารหลักของประเทศพบในเขตอุตสาหกรรมหลัก Terai นอกจากนี้ เนปาลยังมีพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญรองลงมา อาทิ มันฝรั่ง เมล็ดพืชที่ให้น้ำมัน อ้อย ปอกระเจ้า และยาสูบ เป็นต้น

อุตสาหกรรมขั้นพื้นฐานของเนปาลดำเนินการภายใต้การควบคุมผังเมือง ซึ่งกำหนดให้เมือง Biratnagar และ Birgani ใน Terai เป็นเมืองอุตสาหกรรมการผลิตขั้นต้น รวมถึงบางส่วนในเขตเมือง Kathmandu โดยโรงงานอุตสากรรมใหญ่ๆ หลายแห่งมีรัฐเป็นเจ้าของและเป็นผู้ดำเนินการ ผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรมหลัก รวมถึงอุตสาหกรรมรองลงมา ได้แก่ ปอกระเจา น้ำตาล บุหรี่ เบียร์ กล่องไม้ขีดไฟ รองเท้า ซีเมนต์ และอิฐ

        

อุตสาหกรรมพื้นบ้าน

     ได้แก่ ตระกร้า และพรม ซึ่งเป็นสินค้าที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของเนปาล อุตสาห กรรมผลิตพรมในเนปาล ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานมากที่สุด และเป็นตัวหลักที่ทำให้เงินต่างชาติไหลเข้าประเทศ ในปี 2548 เนปาลส่งออกพรมทั้งหมด 1.6 ล้านตารางเมตร คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น มากกว่า 81 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ โดยมีคู่ค้าที่สำคัญ ได้แก่ เยอรมันและ สหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะเยอรมัน นำเข้าพรมจากเนปาล ถึงร้อยละ 45 ของพรมทั้งหมดที่เนปาลส่งออก นอกจากนี้ตลาดส่งออกพรมของเนเปาลที่สำคัญ ได้แก่ เบลเยี่ยม อังกฤษ ตุรกี สวิซเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น สเปน แคนาดา และอิตาลี

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

     กลายเป็นอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุด หลังจากที่เนปาลได้เปิดประเทศ เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2496 โดยทางการเนปาลได้ส่งเสริมธุรกิจการท่องเที่ยว โดยการสร้างโรงแรมขนาดเล็กและร้านอาหารในจุดที่มีมีภูเขาที่มีชื่อเสียง นอกจากนี้ ธุรกิจการท่องเที่ยวยังก่อให้เกิดการจ้างงาน ประมาณ 200,000 คนในเนปาล และสร้างรายได้คิดเป็นร้อยละ 3.5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) และร้อยละ 15 ของเงินทุนไหลเข้าจากชาวต่างชาติที่เข้ามาในประเทศ (ที่มาจาก: 2004/05, “Criteria for Strategy for Sustainable Development in Tourism Sector”. Raj Prakash A.)

การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเป็นที่นิยมมากใน Kathmandu และ Pokhara ส่วนการเดินเขาเป็นที่นิยมมาก ในเขต Khumbu Langtang และ Annapura ส่วน Chitwan เป็นที่นิยมในการท่องเที่ยวชมสัตว์ป่า นอกจากนี้ยังมีจุดชมธรรมชาติที่มีวิวภูเขาที่สวยงามและน่าสนใจของเนปาล เช่น Nakarkot Dhulikhel และ Kakani เป็นต้น อีกประการหนึ่ง นอกจากการขายของพื้นเมืองแล้ว การท่องเที่ยวเป็นจุดสำคัญที่ให้เงินตราต่างชาติไหลเข้ามาในเนปาลในช่วงตั้งแต่ปี 2533 เป็นต้นไป ธุรกิจการท่องเที่ยวขึ้นถึงจุดสูงสุดอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน และในปี 2544-2545 ตกลงมา 20% ในช่วงที่มีวิกฤติทางการเมือง ซึ่งมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในปี 2544

หัตถกรรมเนปาล

     นับเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในเรื่องของศิลปะ การผลิตด้วยมือ และ สถาปัตยกรรมตะวันออก ทักษะและเทคนิคต่างๆ ในการทำงานฝีมือถูกถ่ายทอดมายังรุ่นต่อรุ่น ซึ่งไม่เพียงแต่แสดงให้เห็นถึงฝีมือของช่างฝีมือ แต่ยังสะท้อนให้เห็นถึงสังคม ศาสนา และวัฒนธรรม ซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ งานหัตถกรรมกว่า 20 ประเภท เป็นงานที่ส่งออกได้มากที่สุด โดยมีผลิตภัณฑ์หลักๆ อาทิเช่น ผ้าพาสมีนา ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากไม้ เครื่องประดับเงิน กระดาษที่ทำจากมือ ผลิตภัณฑ์จากกระดาษ งานฝีมือที่ทำจากโลหะ ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากฝ้าย เป็นต้น โดยเนปาลได้ส่งออกมากกว่า 85 ประเทศทั่วโลก และมีคู่ค้าที่สำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา (คิดเป็นร้อยละ 20 ของการส่งออกหัตถกรรมทั้งหมด) อังกฤษ อินเดีย แคนาดา เยอรมัน ญี่ปุ่น อิตาลี ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์ และจีน

พลังงานจากน้ำและธุรกิจการท่องเที่ยว เป็นส่วนสำคัญหลักที่ทำให้ชาวต่างชาติสนใจมาลงทุนในเนปาลมากกว่าในส่วนอื่น อย่างไรก็ตาม ขนาดเศรษฐกิจที่ไม่ใหญ่มากนักและการพัฒนาเข้าสู่เทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องของเนปาล ก็มีความเป็นไปได้ที่เนปาล สามารถได้รับประโยชน์จากกลยุทธ์และด้านการบริการจากเศรษฐกิจที่กำลังเจริญเติบโตของอินเดียและจีน

ศาสนาและศิลปวัฒนธรรม

     ศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธเป็นศาสนาหลักในประเทศเนปาล โดยมีชาวเนปาลที่นับถือศาสนาฮินดู 80.6% และศาสนาพุทธ(นิกายมหายาน) 10.7% ศาสนาทั้งสองมีความเกี่ยวพันกัน เนื่องจากความเคารพนับถือที่ชาวเนปาลมีต่อเทพต่างๆ และการเฉลิมฉลองในเทศกาลต่างๆ ที่เหมือนกันของทั้งศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ นอกจากนี้ชาวเนปาลยังนับถือศาสนาอิสลาม 4.2% Kirant 3.6% และ 0.9% นับถือศาสนาอื่นๆ

สถาปัตยกรรมที่งดงามและการตกแต่งเจดีย์รูปแบบเนปาล ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่ทำจากทองเหลืองและหินที่สวยงาม วัดและสถูปได้รับการสร้างจากงานแกะสลักไม้ งานช่างเหล็กและงานปั้นหิน ลักษณะเด่นเหล่านี้ทำให้ประเทศเนปาลมีภาพลักษณ์ทางด้านวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่และวิจิตรงดงาม

        http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/043/434/original_images_(19).jpg?1408938603" target="_blank">http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/043/434/default_images_(19).jpg?1408938603">

ศาสนา

 - ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู 81%

 - ศาสนาพุทธนิกายมหายาน 11%

 - ศาสนาอิสลาม 4.2%

 - ศาสนาคริสต์ 1.4%

(*) แต่ผลสำรวจจากองค์กรอิสระสำรวจว่า 40% ของประชากรเป็นชาวพุทธ

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/043/437/original_download_(3).jpg?1408938776" target="_blank">http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/043/437/default_download_(3).jpg?1408938776" style="width: 276px;">


ประชากร

เชื้อชาติ 

กลุ่มเนปาลีชาวเนปาลดั้งเดิมเป็นชนชาติมองโกลอยด์ ผสมกับพวกอินโด-อารยันจากอินเดีย เป็น อินโด-เนปาลี 52% ไมกิลิ 11% โภชปุริ 8% ถารู 3.6%

กลุ่มทิเบต-พม่า เช่น ตามัง 3.5% เนวารี 3% มอการ์ 1.4 กุรุง 1.2% ลิมูบู 0.2%

ประเพณี วัฒนธรรม

      ความเชื่อของชาวเนปาลในแต่ละท้องถิ่นนั้น มีความแตกต่างกันไปตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ เช่น บริเวณที่ติดกับจีนด้านทิเบตก็จะคล้ายชาวทิเบต พวกที่อยู่ติดกับอินเดียก็จะคล้ายอินเดีย เป็นต้น

  http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/043/440/original_images_(7).jpg?1408939071" target="_blank">http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/043/440/default_images_(7).jpg?1408939071" style="width: 356px;">

การเมืองและการปกครองเนปาล

     ในช่วงปี พ.ศ. 2522 ได้เกิดการเดินขบวนเรียกร้องการปกครองแบบประชาธิปไตยขึ้นหลายครั้ง เพื่อสนองตอบข้อเรียกร้องดังกล่าว พระราชาธิบดีพิเรนทรา พีร์ วิกรม ชาห์ เทพ (Birendra bir bikram Shah Dev) จึงโปรดให้มีการลงคะแนนเสียงขึ้น ผลที่ได้ก็คือฝ่ายที่สนับ สนุนการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ชนะไปด้วยคะแนนเสียงเพียงเล็กน้อย

การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 เป็นการเลือกตั้งทั่วไปภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เป็นประชาธิปไตยครั้งแรกในรอบ 32 ปี และ ได้รับความสนใจจากต่างประเทศเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาซึ่งนอกจากจะช่วยเหลือจัดทำหีบบัตรเลือกตั้งและ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายเลือกตั้ง เพื่อให้การเลือกตั้งดำเนินไปโดยเสรีและยุติธรรมแล้ว นาย James Earl (Jimmy) Carter อดีตประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ยังได้เข้าร่วมสังเกตการณ์ด้วย

พระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันคือ สมเด็จพระราชาธิบดีกคยาเนนทรา พีร์ พิกรม ชาห์ เทพ (His Majesty King Gyanendra Bir Bikram Shah Dev) และพระนางโกมาล รัชญา ลักษมี เทวี ชาร์ (Komal Rajya Laxmi Devi Shah) พระมเหสี

หมายเหตุ : ตั้งแต่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 สภาผู้แทนราษฎรและสภาสูงถูกยุบไป และยังอยู่ระหว่างรอกำหนดวันเลือกตั้ง ปัจจุบันพระมหาษัตริย์ทรงใช้พระราชอำนาจแต่งตั้งรัฐบาลให้เป็นผู้บริหารประเทศ


ระบอบการปกครอง

      ฝ่ายนิติบัญญัติ มีรัฐสภา 2 สภา ประกอบไปด้วย สภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ( House of Representative Pratinidhi Sabha ) จำนวน 205 คน มีวาระ 5 ปี และสภาสูง (National Council-Rajya Sabha) จำนวน 60 คน ซึ่ง 10 คน มาจากพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง 35 คน มาจากการเลือกตั้งของสมาชิกสภาฯ ( ต้องมีผู้หญิงอย่างน้อย 3 คน ) และ 15 คน มาจากการเลือกตั้งจากเขตต่างๆทั่วประเทศ สมาชิกสภาสูง 1 ใน 3 ต้องหมดวาระทุกๆ 2 ปี

ฝ่ายบริหาร รัฐบาลมาจากพรรคที่มีเสียงข้างมากในสภาฯ หรือหลายพรรคที่รวมกันแล้วมีเสียงข้างมากในสภาฯโดยอยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี

ฝ่ายตุลาการ ประกอบไปด้วยศาลชั้นต้น (District Court) ศาลอุทธรณ์ (Appellate Court) และศาลฎีกา (Supreme Court) ประธานศาลฎีกาได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ มีวาระ 7 ปี

การแบ่งส่วนการปกครอง

      เนปาล แบ่งเขตการปกครองท้องถิ่นออกเป็น 5 ภาค (Development Regions) แต่ละภาคประกอบด้วย 2-3 โซน มีทั้งสิ้น 14 โซน แต่ละโซนประกอบด้วย 4-8 เขต รวมทั้งสิ้น 75 เขต บริหาร ( Administrative Districts ) ในแต่ละเขตมีหัวหน้าผู้บริหาร เรียกว่า “ Chief District Officer ” มีหน้าที่รับผิดชอบการปกครองดูแลให้เป็นไปตามกฎหมาย ร่วมมือประสานงานและปฏิบัติตามนโยบายของกระทรวงต้นสังกัด โดยแต่ละเขตแบ่งออกเป็นหน่วยย่อยคือ เขตพัฒนาหมู่บ้าน “Village Development Committee” โดยมีหัวหน้าบริหาร เรียกว่า “Local Development Officer”

เนปาลแบ่งเป็น 14 เขต ( อันจัล ) ดังนี้

 1. เขตบากมาติ      8. เขตลุมพินี

 2. เขตเภรี             9. เขตมหากาลี

 3. เขตธวัลคิรี       10. เขตเมจี

 4. เขตคันดากิ      11. เขตนรยานี

 5. เขตชนกปุระ     12. เขตรัปติ

 6. เขตการ์นาลี     13. เขตสกรมาธา

 7. เขตโกษิ          14. เขตเสทิ               

          

สรุป

      ปัจจุบันเนปาลปกครองด้วยระบบการเมืองที่เรียกว่า “ ระบบปัญจยัต ” ( Panchayat System ) หรือระบบรัฐสภาแบบรัฐสภาเดียวและไม่มีพรรคการเมือง ( Partyless System ) พระมหากษัตริย์มีอำนาจสูงสุด (แบบกึ่งสมบูรณาญาสิทธิราชย์) ทรงเป็นประมุขของประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญ ( Constitutional Monarchy ) โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร พร้อมทั้งควบตำแหน่งรัฐมนตรีกิจการพระราชวัง รัฐมนตรีกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการทั่วไป รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมพาณิชย์และพัสดุ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสตรี เด็ก และสวัสดิการสังคม รัฐมนตรีว่าการกระ ทรวงปฏิรูปและบริหารที่ดิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงกฎหมาย ยุติธรรมและกิจการรัฐสภา



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท