อนุทิน 135590


สุภัชชา พันเลิศพาณิชย์
เขียนเมื่อ

วิเคราะห์ประวัติผู้แต่งหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์

                                                     สุภัชชา  พันเลิศพาณิชย์   ปริญญาโทหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย

พระรัตนปัญญาเถระเป็นพระภิกษุสงฆ์ ชาว เชียงใหม่ เชียงราย หรือ ลำปาง

ประวัติของมีไม่มากนักส่วนใหญ่เป็นได้จากเอกสารที่เขียนไว้อย่างในชินกาลมาลีปกรณ์ที่ศาสตราจารย์ แสง มนวิทูรเป็นผุ้แปลและวัดพระแก้ว เชียงรายเป็นผู้จัดพิมพ์ในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนสุดาพระบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินทรงยกช่อฟ้าเอกอุโบสถและทรงเปิดโฮงหลวงแสนแก้วเฉลิมพระเกียรติพ.ศ.๒๕๕o ในคำปรารภของพระธรรมราชานุวัตรเจ้าอาวาสวัดพระแก้ว จังหวัดเชียงรายได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการจัดพิมพ์หนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ว่าเป็นผลงานที่รจนาโดยพระรัตนปัญญาเถระซึ่งเป็นพระภิกษุเชื้อพระวงศ์ราชวงศ์มังรายและเคยจำพรรษาที่วัดพระแก้ว เชียงราย ประมาณปีพ.ศ.๒o๖o

จาก http://www.khonmuang.com/pages/poet.htm.%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87">http://www.khonmuang.com/pages/poet.htm.เรื่อง ประวัติและผลงานกวีล้านนาลิขิต ลิขิตานนท์ และ ประคอง นิมมานเหมินท์ ศึกษาประวัติกวีล้านนา สรุปได้ ดังนี้ พระรัตนปัญญาเถระ หรือพระสิริรัตนปัญญาเถระ พระเถระชาวเชียงรายรูปนี้ เป็นพระภิกษุรุ่นเดียวกันกับพระสิริมังคลาจารย์ เป็นเชื้อพระวงศ์ในราชวงศ์มังราย อุปสมบทและพำนักอยู่ที่วัดป่าแก้ว เชียงราย

และจากเวปไชด์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (กองกิจการนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้,ยุคทองแห่งพระพุทธศาสนาในล้านนา)http://www.tidga.net/article พัฒนาการการเผยแผ่พระพุทธศาสนาจากมุขปาฐะถึงโลกไซเบอร์ได้เขียนไว้ว่าพระรัตนปัญญาเถระชาวเชียงราย หรือชาวลำปาง

แต่ในวิทยานิพนธ์เรื่องการศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องชินกาลมาลีปกรณ์ของนาย คมกฤษณ์ ศิริวงศ์ หลักสูตรปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาตะวันออก บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๒๓ได้เขียนไว้ในบทที่๖เรื่องสรุปและข้อเสนอแนะว่าพระรัตนปัญญาเถระเป็นพระภิกษุชาวเชียงใหม่

ผู้วิจัยจึงตั้งข้อสันนิฐานไว้ดังนี้

๑.พระรัตนปัญญาเถระเดิมอาจจะเป็นชาวลำปางแต่ได้อุปสมบทและเคยพำนักอยู่ที่วัดพระแก้ว จังหวัด เชียงราย

๒.พระรัตนปัญญาเถระเป็นชาวเชียงรายและพระภิกษุเชื้อพระวงศ์ราชวงศ์มังรายเพราะเนื้อหาในชินกาลมาลีปกรณ์เป็นเรื่องราวประวัติศาสตร์ราชวงศ์เม็งราย

๓.พระรัตนปัญญาเถระเป็นชาวเชียงใหม่เพราะศึกษาต่อที่เชียงใหม่ และ มณี พยอมยงค์กล่าวว่าท่านเคยพำนักที่วัดฟ่อนสร้อย (เดินอยู่ใกล้ตลาดประตูเชียงใหม่) ก่อนจนได้เป็นเจ้าอาวาส จากนั้นจึงย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดเจ็ดยอด จังหวัดเชียงใหม่ซึ่งเป็นพระอารามหลวงในสมัยพระเมืองแก้ว และในเนื้อหาชินกาลมาลีปกรณ์ ได้กล่าวถึง เรื่องราวที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา สถานที่ พระพุทธรูปและกษัตริย์ที่เกี่ยวข้องระหว่างกษัตริย์ผู้ปกครองและศาสนาในจังหวัดเชียงใหม่เป็นส่วนมาก นอกนั้นเป็นเรื่องราวของจังหวัดลำพูน และอำเภอเชียงแสน ในจังหวัดเชียงราย และจังหวัดพะเยา สำหรับจังหวัดเชียงรายจังหวัดอื่นๆได้เขียนถึงน้อยที่สุดในหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์

เหตุผลที่มีผู้เขียนอ้างถึงพระรัตนปัญญาเถระเป็นพระภิกษุสงฆ์ ชาว เชียงใหม่ เชียงราย หรือ ลำปาง

๑.เพราะท่านเป็นพระภิกษุชาวล้านนาที่เชียงชาญและแตกฉานภาษาบาลีอีกจะเห็นได้ว่าผลงานท่านโดดเด่นทางด้านอักขระและภาษาศาสตร์เห็นได้จากผลงานที่รจนาอย่างชินกาลมาลีปกรณ์เป็นคำประพันธ์ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองที่รวบรวมเนื้อหาจากคัมภีร์ทางพุทธศาสนาฉบับต่างๆเช่น มหาวงศ์ ตำนานมูลศาสนา และพระไตรปิกฎได้นำมาเรียบเรียงใช้คำอย่างอลังการ งดงามในคำประพันธ์ทั้งภาษาบาลีและสันกฤต มีการเรียบเรียงไว้อย่างเป็นระเบียบ ได้อรรถรสที่ทำให้ผู้อ่านมีอารมณ์ซาบซึ้งคล้อยตามไม่ว่าจะเป็นเรื่องความโศกเศร้าอย่างเมื่อครั้งพระโพธิ์สัตว์ทรงสละราชสมบัติทั้งหมดออกบวชได้เป็นหัวหน้าศิษย์ฤษีของพระมหาสัตว์ทรงทอดพระเนตรเห็นแม่เสือจะกินลูกตนทำให้ผู้วิจัยเองรู้สึกเศร้าใจคล้อยตามไปด้วยเมื่ออ่านเรื่องนี้ หรืออย่างเช่นเรื่องพระเจ้าอาทิจจ์เสด็จซุ้มพระบังคนแล้วกาขี้หล่นใส่ทำให้เห็นภาพ ความขยะแขยง น่าเกลียดรวมถึงความเคียดแค้น ความโกรธของพระเจ้าอาทิจจ์ที่จะจับกาฆ่าเสียและยังมีเรื่องความอัศจรรย์ใจ ความสงสัย อย่างเช่น เมื่อพระเจ้าอาทิจจ์กำลังอาราชธนาอยู่ผอบทองที่พระเจ้าอโศกทรงสร้างไว้พร้อมด้วยพระบรมสารีริกธาตุก็ผุดขึ้นประมาณ๓ศอกด้วยเทวานุภาพเปล่งพระฉัพพรรณรังสีลอยอยู่อย่างนั้นและในช่วงที่บรรยายหรือพรรณายังมีอารมณ์ ความสงบ รวมถึงซาบซึ้งในพุทธศาสนาและรู้เรื่องราวประวัติศาสตร์ล้านนา
๒.เพื่อเป็นการให้เกียติและยกย่องพระรัตนปัญญาเถระในฐานะนักปราชญ์ในวงการพระสงฆ์ชาวล้านนา

๓.เพื่อรักษา สืบสาน ประวัติพุทธศาสนาและประวัติศาสตร์ราชวงศ์เม็งรายในสมัยล้านนาไทย

๔.เป็นพระสงฆ์ที่สร้างความภาคภูมิใจ  การเคารพ ยกย่องและเป็นเกียรติประวิติบุคคลสำคัญที่จะกล่าวถึงในจังหวัด เชียงราย  เชียงใหม่  ลำปาง

สรุปประวัติพระรัตนปัญญาเถระ

พระรัตนปัญญาเถระผู้แต่งหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์เป็นพระภิกษุชาวล้านนาฝ่ายสิงหลใหม่หรือวัดป่าแดงมีชีวิตอยู่ในสมัยล้านนา๓รัชกาล คือ๑.ช่วงหลังสมัยพระยาติโลกราช ๒สมัย.พระยอดเชียงรายและ ๓.สมัยพระเมืองแก้ว(จากงานวิจัยพระนางจามเทวีหน้า๓๕) ที่มีพระเถระชาวล้านนาหลายรูปที่มีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฎกและภาษาบาลี ร่วมสมัย กับพระรัตนปัญญาเถระอีกหลายรูปอาทิ เช่น พระโพธิรังสี พระธรรมเสนาบดี พระญาณกิตติ พระสิริมังคลาจารย์ พระสัทธัมมกิตติมหาผุสสเทวะ พระญาณวิลาส และ เป็นต้น ท่านเหล่านี้ได้แต่งคัมภีร์เป็นภาษาบาลีไว้มากมายรวมระยะเวลา ๓ รัชกาล เป็นเวลา ๘๔ ปี และถือได้ว่า ยุคทองแห่งพระพุทธศาสนาในล้านนา เพราะเป็นยุคที่มีการศึกษาพระธรรมวินัยอย่างจริงจัง

พระรัตนปัญญาเถระ ผลงานของท่านมีอยู่ ๓ เรื่อง คือ
๑) ชินกาลมาลี พงศาวดารหรือประวัติความเป็นมาของพระพุทธศาสนา เริ่มแต่สมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงเป็นพระโพธิสัตว์ จนถึงปัจจุบันชาติ การประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน การทำสังคายนาในชมพูทวีป และในศรีลังกา การสร้างเมืองสำคัญในล้านนา อาทิ เชียงใหม่ หริภุญชัย ความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในล้านนา ฯลฯ แต่ง พ.ศ. ๒๐๖๐



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท