| อนุทิน ... ๕๖๐๒ |
"ยูเน็ตคืออะไร เพื่อใคร"
ยูเน็ต คือ การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติระดับอุดมศึกษา (University National Education Test : U-NET ) ที่มีวัตถุประสงค์การทดสอบและประเมินมาตรฐานบัณฑิตตามที่กฎหมายกำหนด โดยยึดตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ หรือทีคิวเอฟ ใช้ในการประกันคุณภาพภายใน และการประเมินคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษา และนำผลการทดสอบมาใช้ในการยกระดับคุณภาพการศึกษา
การทดสอบยูเน็ต เน้นการทดสอบความรู้ ความสามารถ และทักษะการปฏิบัติงานของบัณฑิต 3 ด้าน คือ 1. ด้านการวัดทักษะพื้นฐาน สำหรับบัณฑิตทุกสาขาวิชา 4 วิชา ได้แก่ การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร การใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร การใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีเพื่อการดำรงชีวิต : การรู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy) และการคิดวิเคราะห์แก้ปัญหา และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) 2. ด้านคุณธรรม จริยธรรม ให้ความสำคัญกับการทดสอบเหตุผลเชิงจริยธรรม (Moral Reasoning) และ 3. ด้านทักษะวิชาชีพเฉพาะสาขาวิชา โดยจะเริ่มนำร่องทดสอบนิสิต นักศึกษา ระดับปริญญาตรีชั้นปีสุดท้ายของทุกสาขาวิชาในมหาวิทยาลัยที่มีความสมัครใจ ซึ่งช่วงแรกจะสอบด้านการวัดทักษะพื้นฐาน 4 วิชาก่อน จากนั้นจะเพิ่มการทดสอบ ด้านทักษะวิชาชีพ และด้านคุณธรรม จริยธรรม และจัดทดสอบในระดับปริญญาโท และเอกต่อไปในอนาคต
การนำยูเน็ตไปใช้ประโยชน์จะมี 3 ระดับ คือระดับผู้เรียนสามารถนำไปพัฒนาศักยภาพของตนเองให้ได้ตามมาตรฐาน ตามความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคต ระดับสถานศึกษาสามารถนำมาใช้ในด้านการประกันคุณภาพการศึกษา วางแผนระบบการจัดการเรียนการสอน เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาและ ระดับชาติมีผลต่อการประเมินคุณภาพภายในและภายนอกของสถานศึกษา ตามมาตรฐานทีคิวเอฟ ตลอดจนคุณภาพของบัณฑิตเทียบเคียงกับระดับนานาชาติ
ถึงตรงนี้คงพอจะเข้าใจการจัดสอบ “ยูเน็ต” กันบ้างแล้วว่า ยูเน็ตคืออะไร จัดสอบเพื่อใคร มีประโยชน์กันอย่างไร จากนี้เป็นหน้าที่ของว่าที่บัณฑิตที่จะช่วยกันตัดสินใจว่าจะหยุดคัดค้านหรือเดินหน้าต่อ และต้องการให้การอุดมศึกษาไทยไปในทิศทางใด ขณะเดียวกันก็ยังคงต้องติดตามต่อไปด้วยว่าฝ่ายที่คัดค้านหรือต่อต้านจะเดินต่ออย่างไร เรื่องนี้ละสายตาไม่ได้.
พูนทรัพย์ ทองทาบ ... หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ออนไลน์
ันักศึกษษคัดค้านเพราะคิดว่าถูกบังคับให้สอบและนำผลไปตัดสิน จึงต้านเต็มที่ แต่ถ้าเข้าใจประโยชน์ และให้เป็นไปตามสมัครใจ ไม่มีผลได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างผู้สอบและไม่สอบ ก็ไม่น่าจะค้าน