"พี่หนาน"
นาย พรพจน์ พี่หนาน เรียงประพัฒน์

อนุทิน 134944


"พี่หนาน"
เขียนเมื่อ

๒๑/๐๔/๒๕๕๗

อนุทิน ๑๔๙.

"อารมณ์เมื่อวาน"

ตอนกลางวันประมาณบ่ายโมงกว่า หิวข้าวมาก ไปเปิดปิ่นโตปรากฏว่า "แกงบูด" สัญญา(ความจำ)เดิมบอกว่า "ไวไวดีกว่าไม๊" ทำให้อดคิดถึงเมื่อครั้งเป็นตุ๊เจ้าที่ไปสอนนักเรียนไม่ได้ เคยแกล้งถามนักเรียนถึงทฤษฏีหนึ่งที่ว่า MA+MA ยกกำลังสอง +H2O ยกกำลังสอง หมายถึงอะไร?  นักเรียนพากันงง 555 หลายท่านคงรู้คำตอบดีนะครับ...

สำหรับผมชอบไวไวรสโบราณ ไปหาซื้อที่ร้านของน้า น้าบอกหมดแล้ว เหลือแต่ยำยำหมูสับ ความหิวขึ้นหน้าแล้ว คิดในใจเอาก็เอาวะ ตั้งกระทะน้ำร้อนรอไว้แล้วนี่...เจ้าของยำยำคงไม่ว่ากันนะครับ ถึงยังไงก็ยังติดในรสไวไวดั้งเดิมอยู่ดี...แบบนี้หละมั้งที่พระท่านว่ามันเป็น "ปัจจัตตัง" รู้รสอร่อยไม่อร่อยได้ด้วยตนเอง เห็นธรรมหรือไม่เห็นธรรมก็ได้ด้วยตนเอง...หลายท่านอาจจะชอบแตกต่างจากผมก็ได้...ทั้งๆ ที่อากาศก็ร้อนแต่เรายังเลือกที่จะกินของร้อน ๆ อยู่อีก สงสัยจะชอบตรงเหงื่อมันไหลโดยไม่ต้องออกกำลังนี่แหละ...สุดท้ายแล้วให้นึกเสียดายไข่หนึ่งฟองที่ใส่เข้าไป บวกกับความหิว และได้สูตรตามเบื้องต้น...ยำยำก็ไม่เหลือเหมือนกัน ...

กินไปพิจารณาตามหลักธรรมของพระท่านไปด้วยดังเคยเรียนมาว่า อาศัยรส(มาม่า)กระทบลิ้น เกิดผัสสะขึ้นเรียก ชิวหาสัมผัส เกิดความรู้(วิญญาณ)ขึ้น คือรู้ว่าอร่อยหรือไม่อร่อย เรียกว่าชิวหาวิญญาณ  แล้วก็เกิดความรู้สึก(ทุกขเวทนา)ร้อนจนเหงื่อแตกพลั้กตามมา เรียกว่า ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา ถ้าไม่มีรสยำยำหมูสับ(อายตนะภายนอก)มากระทบลิ้นหรือชิวหา(อายตนะภายใน)จนทำให้เกิดผัสสะหรือสัมผัสขึ้น เราก็ไม่รู้รสชาติ ไม่รู้เวทนา เมื่อรู้แล้วก็สามารถเลือกรับประทานได้ว่า "กินเพื่ออยู่" หรือ "อยู่เพื่อกิน" ดีนะ แบบนี้ก็ส่งเสริมให้เกิดเป็นปัญญาตามได้ใช่ไหมครับ... 



ความเห็น (1)

สุดท้ายคงต้องลงที่สัญญา และสังขาร กระมังตรับ..แล้วต่อไปที่ตัวรู้คือวิญญาณ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท