อนุทิน 134277


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

     วันสองวันที่ผ่านมาเราคงได้ยินคดีสะเทือนขวัญเรื่องที่ลูกชายคนโตฆ่ายกครัวครอบครัวตัวเองถึง 3 ศพ คือ พ่อแม่ และน้องชาย ผมในฐานะเป็นครูจึงมาคิดถึงสาเหตุที่ทำให้ลูกชายคนโตจึงกลายเป็นฆาตกรที่เลือดเย็น ทำร้ายได้ทั้งพ่อแม่ และใส่ร้ายให้น้องชายว่าเป็นคนฆ่าทั้งพ่อแม่และตนเอง
     คำถามที่น่าสนใจคือ อะไรคือมูลเหตุให้เกิดก่อการฆาตกรรมอันเลือดเย็น และฆาตกรนั่นมีความชั่วช้าอยู่ในสันดานหรือไม่ หรือสังคมควรมีส่วนรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ครั้งนั้นด้วยหรือเปล่า ?
     แนวคิดแรก เป็นแนวคิดที่แฝงฝังอยู่ในสังคมไทยมาช้านาน ดังจะเห็นได้จากคำกล่าวบางอย่าง เช่น “ลูกไม้หล่นไม่ใกล้ต้น”, “เลวตามพ่อแม่” หรือเรื่องเล่าที่เราเคยดูในโทรทัศน์ เช่น ลูกคนดียังไงย่อมเป็นคนดี ประมาณดาวพระศุกร์ แนวคิดแบบนี้ที่เชื่อว่าความชั่วนั้นเป็นผลจากการที่มีเซลล์ชั่วฝากฝังอยู่ในโครโมโซมตั้งแต่กำเนิด ทั้งนี้จากการทดลองศึกษาจากผู้ร้ายระดับชาติ ข้อสรุปของการศึกษาพบว่า ผู้ร้ายเหล่านี้มักมีเซลล์ที่ทำให้เกิดการกระทำชั่วเหมือนๆกัน ทำให้คนเชื่อว่า คนชั่วนั้นเกิดมาก็ชั่วเลย ไม่สามารถขจัดความชั่วออกจากสันดานไปได้แต่อย่างใด
     แนวคิดที่ 2 คือ ความชั่วนั้น เป็นผลมาจากสังคม ฆาตกรถูกปลูกฝังจากการเลี้ยงดู หรือถูกสร้างขึ้นมาจากสังคมที่ตัวเองดำรงอยู่ ดังนั้นหากเชื่อในแนวคิดข้อนี้ เราสามารถที่จะไปศึกษาฆาตกรได้จาก สภาพสังคมที่ดำรงอยู่ หรือการเลี้ยงดูที่ได้รับจากครอบครัว ดังนั้นฆาตกรที่ทำชั่วก็เป็นเศษเสี้ยวมาจากความเลวร้ายของสังคม
     ในแนวคิดทางพุทธนำทั้งสองแนวคิดมารวมกัน กล่าวคือ คนเราเลือกเกิดไม่ได้ การได้อยู่กับพ่อแม่เป็นกรรมเก่า แต่การที่เราเกิดมาในที่ที่ไม่ดี มีพ่อแม่ที่ไม่ดี ไม่เป็นสาเหตุที่ทำให้เราทำในสิ่งที่ไม่ดี ในทางกลับกันหากเราเกิดมาในที่ที่ดี อยู่กับพ่อแม่ที่ดี ก็ไม่มีเหตุผลใดที่จะกล่าวว่าเราจะทำไม่ดีตามสภาพแวดล้อมที่ดีของเรา คนเราถึงแม้จะมีกรรมเก่า แต่กรรมเก่าก็ไม่มีผลให้เราทำดีหรือเลวในปัจจุบัน 
     อย่างไรก็ตาม ฆาตกรก็คือฆาตกร คือบุคคลที่ทำผิด เพราะผลของการกระทำมันตอบสิ้นทุกอย่างแล้ว สิ่งเดียวที่ฆาตกรควรจะเรียนรู้หลังจากได้กระทำโศกนาฏกรรมคือการยอมรับผลของการกระทำ รับผิดชอบต่อสิ่งที่ตัวเองกระทำ และหยุดพร่ำบอกว่าถ้าผมย้อนกลับไปได้จะไม่กระทำแบบนี้ได้อีก เพราะถ้าคิดเช่นนั้นแสดงว่าการตัดสินใจของผู้กระทำนั้นไม่ได้วางอยู่หลักการรับผิดชอบของการกระทำอยู่เลย พูดในแง่หนึ่งก็คือ เสรีภาพต้องมากับความรับผิดชอบเสมอ 
     ดังนั้นไม่ว่าเราจะลงมือกระทำอะไร ไม่ว่าจะเป็นสิ่งดีหรือไม่ดีก็ตาม โปรดจงตระหนักถึงคุณค่าของตัวเอง และโปรดรับมือและรับผิดชอบต่อการกระทำ เท่านี้แล้วการกระทำของเราก็จะมีความหมาย และไม่เป็นเพียงอารมณ์ชั่ววูบที่ต้องดูแลผลของการกระทำที่เราตัดสินใจผิดพลาดชั่วชีวิต
     ผมในฐานะครู อยากจะมีญาณหยั่งรู้ประเภท “รู้นะคิดอะไรอยู่” มาเป็นอาวุธเอาไว้จัดการกับปัญหาเด็กๆของผม อย่างน้อยเด็กที่ติดศูนย์, เด็กที่ไม่เข้าเรียน, เด็กที่ติดเกม ฯลฯ จะได้มีทางเลือกให้พวกเขาได้ทำบ้างระหว่างเรียน (หากเรารู้ว่าสิ่งที่เขาคิดคืออะไร จะทำอะไรจึงจะตอบสนองความต้องการของเขาได้) เพื่อว่าจะทำให้พวกเขามีโอกาสที่จะพบความดี ความงาม และความจริง เป็นพัฒนาตนเองให้เป็นมนุษย์ และสมค่าแก่ความเป็นมนุษย์

 



ความเห็น (4)

…สังคมทุกวัน …น่ากลัวที่คนคิดอยากได้ทรัพย์สิน เงินทองใคร…ก็คิดฆ่าเจ้าของก่อน…โกรธใคร ไม่ชอบหน้าใครก็ต้องฆ่าให้ตาย…

ขอบพระคุณมากครับ ดร.พจนา

ได้ดู ได้ฟัง ได้อ่านแล้ว…รู้สึกสะท้อนกับสังคมที่เป็นอยู่..ค่านิยมกับวัตถุมากเกินไป..การที่เลือกเกิดไม่ได้ แต่ก็สามารถเลือกทำความดีได้ กับมามองศีลธรรมอีกครั้งกับการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น ลดวิชาการลง..อาจารย์มองอย่างไรครับ ..ได้รับข้อมูลจากอาจารย์ท่านหนึ่งว่า เด็กเอาตัวเองแลกกับipad iphon มากขึ้นครับ

เรื่องนี้ต้องดูบริบทครัง เด็กอายุกี่ปี มีความรับผิดชอบหรือไม่ i-phone จะใช้อย่างไร จึงจะมองว่าการที่เด็กเอาตัวเองไปแลกกับ i-phone คุ้มค่าหรือไม่ ขอบคุณมากครับ ทีี่คุณ prayat มาให้ความเห็นในเรื่องนี้นะครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท