อนุทิน 134205


สรวิชญ์
เขียนเมื่อ

ศึกษาวิเคราะห์การใช้เหตุผลการบัญญัติ

พระวินัยของพระพุทธเจ้าในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท

 

๑.  เกริ่นนำ

 

หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาประกอบด้วยหลัก ๒ ประการหลักที่เป็นคำสอนเพื่อให้ปฏิบัติตามสมควรแก่ผู้ปฏิบัติเรียกว่าธรรมะ   และส่วนที่เป็นคำสั่งห้ามปฏิบัติ  เป็นข้อห้ามเรียกว่าวินัย   หลักที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบและนำมาประกาศและสั่งสอนจึงหมายถึงธรรมวินัยนั่นเอง ดังที่พระองค์ตรัสไว้ก่อนที่จะปรินิพพานว่า  ธรรมและวินัยที่พระองค์แสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่สงฆ์ทั้งปวงนั้นแหละ  จักเป็นศาสดาเมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้ว[1] เพราะว่า พระวินัยเป็นหลักปฏิบัติที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสังคม และสะท้อนถึงเจตนารมณ์ของพระพุทธศาสนาในด้านความสัมพันธ์ทางสังคมและความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกัน เพราะศีลเป็นระบบการควบคุมชีวิตด้านนอกที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการแสดงออกทางกายและวาจา คำว่า “ศีล” มี ๒ ระดับ ได้แก่ (๑) ระดับทั่วไป ได้แก่ ระดับยังเป็นธรรม เป็นข้อแนะนำสั่งสอนหรือหลักความประพฤติทีแสดงไว้และบัญญัติไว้ตามกฎธรรมดาแห่งความดีความชั่ว ผู้ที่รักษาศีลหรือล่วงละเมิดศีลย่อมจะได้รับผลดีหรือชั่วเองตามธรรมดาของเหตุปัจจัย                         (๒) ระดับเฉพาะ เป็นระดับวินัย ซึ่งเป็นแบบแผนข้อบังคับที่บัญญัติไว้เป็นเหมือนประมวลกฎหมายสำหรับกำกับความประพฤติของสมาชิกในชุมชนหนึ่ง   โดยมีความสอดคล้องกับความมุ่งหมายของหมู่คณะหรือชุมชนนั้นโดยเฉพาะ ผู้ละเมิดบทบัญญัติที่เรียกว่าวินัยจะมีความผิดตามอาญาของหมู่คณะ เมื่อคณะสงฆ์มีจำนวนมากขึ้นการปกครองเกิดความยากลำบากเพราะการดูแลไม่ทั่วถึง พระพุทธเจ้าทรงเล็งเห็นภัยอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับหมู่สงฆ์จึงได้บัญญัติข้อห้ามเรียกว่าวินัย  ซึ่งเป็นที่ควบคู่ไปกับธรรมะที่เป็นคำสอน ส่วนวินัยจึงเป็นคำสั่งห้ามกระทำและคำสั่งที่ให้กระทำเพื่อหมู่คณะในพระพุทธศาสนาเรียกว่าบริษัทมี ๔ กลุ่มคือ อุบาสก อุบาสิกา ภิกษุ ภิกษุณี การบัญญัติวินัยจึงมีความหนักเบาแตกต่างกันออกไป และข้อปฏิบัติมีความยากง่ายในการปฏิบัติไม่เท่ากัน มีเหตุเกิด การบัญญัติ หรือสถานการณ์ที่ไม่เหมือนกัน

ดังนั้น คำว่า “วินัย” หมายถึง (๑) มีวินัยต่างๆ คือ ประกอบด้วยปาฏิโมกขุทเทศ ๕ ประการ มีหมวดอาบัติ ๗ อย่าง (๒) มีนัยพิเศษหมายถึงประกอบด้วยปฐมบัญญัติและอนุบัญญัติ และ(๓) เป็นการฝึกกายวาจา  เพราะเป็นเครื่องห้ามพฤติกรรมทางกายและวาจา ดังข้อความที่ปรากฏในอรรถกถาว่า บัณฑิตผู้รู้อรรถแห่งพระวินัยทั้งหลายกล่าวว่าวินัย เพราะมีนัยต่างๆเพราะมีนัยพิเศษ และเพราะฝึกกายและวาจาอย่างนี้[2] เพราะว่า พระวินัยมีหลายหลาย มีความเป็นพิเศษ และเป็นเครื่องใช้สำหรับฝึกกายและวาจาให้อยู่ในสภาพที่เหมาะแก่การดำเนินชีวิต พระวินัยจึงเป็นกฎเบื้องต้นสำหรับผู้ที่เข้าสู่ความเป็นภิกษุโดยการอุปสมบท  เป็นเหมือนกฎหมาย เป็นข้อห้ามไม่ให้ปฏิบัติ  บ้านเมืองมีกฎหมายเป็นข้อห้ามสำหรับให้ประชาชนตั้งอยู่ในความสงบเรียบร้อย เพื่อความสะดวกในการปกครอง ทำนองเดียวกันศาสนาก็มีวินัยเป็นข้อห้ามเพื่อความสงบเรียบร้อยของหมู่คณะเช่นกัน และจุดประสงค์ที่นอกเหนือไปจากการเป็นข้อห้ามตามปกติแล้ว  ยังใช้เป็นเครื่องฝึกกายและวาจาอีกด้วย  ส่วนธรรมใช้เป็นเครื่องฝึกจิต

 

๒. การให้เหตุผลของพระพุทธเจ้าในการบัญญัติพระวินัย

 

พระพุทธเจ้าได้ประกาศศาสนธรรมมาเป็นเวลานานหลายปี  แต่ก็ยังไม่ได้บัญญัติวินัยแก่หมู่สงฆ์ ในเบื้องแรกสิ่งที่พระองค์ประกาศเรียกว่า  พรหมจรรย์ดังที่พระองค์ได้ตรัสแก่พระอรหันต์  ๖๐ รูปก่อนจะส่งไปประศาสนาว่า  “ภิกษุทั้งหลายพวกเธอจะเที่ยวไปประกาศพรหมจรรย์ เพื่อความสุขของมหาชนหมู่มาก”[3] เมื่อพระสารีบุตรได้ทูลถามเหตุปัจจัยแห่งการดำรงอยู่ของศาสนาในอดีต  จึงได้กราบทูลให้พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติพระวินัยและแสดงปาฏิโมกข์แก่สาวก  แต่พระพุทธเจ้ายังไม่ทรงแสดงพระพุทธเจ้าทรงเหตุผลว่า “พระศาสนายังไม่บัญญัติสิกขาบท  ยังไม่แสดงปาติโมกข์แก่สาวก  ตลอดเวลาที่ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะบาเหล่ายังไม่ปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้   ต่อเมื่อใดอาสวัฏฐานิยมธรรมบางเหล่าปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้   เมื่อนั้นพระศาสดาจึงจะบัญญัติสิกขาบทแสดงปาติโมกข์แก่สาวก  เพื่อกำจัดอาสวัฏฐนิยมธรรมเหล่านั้น”[4]

ดังนั้น อาบัติแบ่งเป็น  ๗  หมวด คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฎ และทุพภภาษิต  เหตุที่ทำให้ภิกษุต้องอาบัติมี ๖ ประการ คือ ไม่ละอาย ไม่รู้ว่าสิ่งนี้เป็นอาบัติ สงสัยแล้วขืนทำลง  สำคัญว่าควรในสิ่งที่ไม่ควร สำคัญว่าไม่ควรในสิ่งที่ควรลืมสติ  ดังนั้น วิธีการที่ทำให้พ้นโทษจากอาบัติมีความแตกต่างกัน คือ อาบัติหนักขาดจากความเป็นภิกษุและภิกษุณี อาบัติอย่างกลางต้องอยู่ปริวาสกรรม อาบัติอย่างเบาแสดงสารภาพความผิดต่อหน้าสงฆ์หรือภิกษุหรือภิกษุณีใดรูปหนึ่ง

                พระวินัยเป็นคำสอนเพื่อฝึกกายและวาจาเป็นคำสั่งที่ควรปฏิบัติ ภิกษุมี ๒๗๗ ข้อ ภิกษุณี ๓๑๑ ข้อ สามเณรมี ๑๐ ข้อ อุบาสกอุบาสิกาผู้รักษาอุโบสถมี ๘ ข้อ ส่วนอุบาสกอุบาสิกาทั่วไปมี ๕ ข้อ การบัญญัติวินัยเป็นกฎที



ความเห็น (1)

เอาไปเขียนในบันทึกนะครับอาจารย์

น่าสนใจมากๆ

เข้าระบบ

กดที่เขียน

เลือกเขียนบันทึกครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท