อนุทิน 134202


สรวิชญ์
เขียนเมื่อ

แนวคิดเกี่ยวกับทางสายกลางในปรัชญาของขงจื๊อ[1]

 

บทคัดย่อ

 

ทางสายกลางของขงจื๊อ หมายถึง สภาวะซึ่งไม่เอนเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง และสภาวะที่ไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งทำให้ความรู้สึกและอารมณ์ เป็นสภาวะของจิตที่ไม่เอนเอียงเมื่อถูกอารมณ์ที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจมากระทบ ดังนั้น ทางสายกลางของขงจื๊อ หมายถึง ปัญญา (จื๊อ) และความจริงใจ (ซิ่น) ปัญญาจะทำให้บุคคลมองเห็นสรรพสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง เมื่อบุคคลสามารถมองเห็นสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงได้แล้ว  จิตจะรับรู้สรรพสิ่งด้วยใจเป็นกลางไม่ยึดติด รับแล้วปล่อยวาง การดำเนินตามหลักทางสายกลาง จึงเปรียบเหมือนการกลับไปหาจิตเดิม ซึ่งปราศจากการปรุงแต่ง ดังที่ท่าน เลียวนาร์ด ซือเหลือน ซือ กล่าวว่า ทางสายกลางนี้ไม่ใช่อะไรอื่น  แท้จริงแล้วก็คือสามัญสำนึก (Common Sense) นั่นเอง

ดังนั้น ขงจื๊อถือกำเนิดเป็นบุคคลสำคัญในฐานะเป็นครูสอนศาสนา และเป็นผู้สืบทอดและถ่ายทอดจารีตประเพณีและวัฒนธรรมโบราณ  ถือกำเนิดมาในระดับสัจธรรมและระดับจริยธรรม เป็นการยกย่องมนุษย์ว่า เป็นศูนย์กลางของการพัฒนา สอนให้มนุษย์เผชิญและแก้ปัญหาด้วยความเพียรและสติปัญญาของตนที่ขงจื๊อประกาศไว้ในคัมภีร์ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลง (I - Ching) หลักสัมพันธภาพทั้ง ๕ และหน้าที่ที่บุคคลพึงปฏิบัติตามหลักสัมพันธภาพทั้ง ๕ คือ สามีกับภรรยา  บิดามารดากับบุตรธิดา พี่กับน้อง เพื่อนกับเพื่อน ผู้ปกครองกับผู้ใต้ปกครอง

 

Abstract

 

Confucian Middle Way refers to the state which is not leaning to one side, and a state that does not change the feel and mood is a state of mind that is not biased when it satisfactory and unsatisfactory impact. Therefore, the Middle Way of Confucius means wisdom (Chu) and sincerity (Chin) intelligence to make people see all things as they are, not as they appeared. When people can see all things as they are, our mind will be known all things with neutral, not attached to it and let oneself on. Conducting of the middle way like returning to the original mind without embellishments as Leonard Chu Luan Chu said the middle way is none other, the fact is that common sense itself.

Then, Confucius was born to be important person as a religion teacher and as a recipient and transmission of tradition and ancient culture.  Born of Truth and the ethics that recognizes human who are the center of development for teaching human face and solve problems with patience and intelligence of its.  Confucius declared in Scripture regarding the changes (I - Ching). The five main relationships and responsibilities that a person should follow the five relationships are husband and wife, father, mother, son, daughter, brother to sister's friends and boss with employee.

 

  1. บทนำ

คำว่า “ทางสายกลาง” ในภาษาจีนใช้คำว่า “จุงหยุง”  ถ้าแยกอักษรจีนออกมา คำว่า จุง คือ ความเหมาะเจาะพอดี กลมกลืน  เป็นกลาง ไม่เข้าข้าง ไม่มีอคติ ไม่ขาดไม่เกิน หยุง  คือ ธรรมดาสามัญ ปฏิบัติตามหลักเหตุผล  ตามปกติวิสัยทั่วไปไม่เปลี่ยนแปลง[2] เมื่อรวมความเข้าด้วยกันก็จะหมายถึง ข้อปฏิบัติที่เป็นกลาง คือเป็นไปตามเหตุผล ไม่เอนเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง มีความพอเหมาะพอดี ไม่ขาดไม่เกิน ไม่เอนเอียง ด้วยอำนาจแห่งอคติ หรือไม่เอนเอียงไปตามอารมณ์ที่มากระทบทั้งที่เป็นฝ่ายดี และไม่ดี เป็นสภาวจิตที่มีดุลยภาพ ดำรงภาวะแห่งความเป็นกลาง ขงจื๊อจึงสอนให้คนได้หันกลับไปสนใจหลักทางสายกลางนี้ ซึ่งมีอยู่ติดตัวแล้วตั้งแต่เกิด แต่ถูกอารมณ์ภายนอกมาบดบัง ทำให้จิตที่มีความเป็นกลางมาแต่ดังเดิมไม่สามารถทำหน้าที่ได้ มนุษย์จึงต้องศึกษาตนเอง เพื่อให้ได้เข้าใจธรรมชาติที่แท้จริงของตัวเอง

หลักปฏิบัติทางสายกลางของขงจื๊อ เป็นส่วนหนึ่งของหลักจารีต (หลี่) เป็นส่วนหนึ่งของหลักเมตตาธรรม หรือหลักมนุษยธรรม (เหริน) ในความเป็นจริง หลักคำสอนของขงจื๊อให้ความสำคัญที่หลักเมตตาธรรม (เหริน) ในฐานะเป็นคำสอนที่ประมวลคำสอนอื่น ๆ ซึ่งก็รวมถึงหลักทางสายกลางด้วย ดังข้อที่ปรากฏในคัมภีร์ทางสายกลางที่ว่า “เพราะอาศัยเหริน หรือความรักนี้เอง จึงก่อให้เกิดพลังกระตุ้นผลักดันไปสู่การกระทำตามหลักทางสายกลาง[3]  และ “การพัฒนาตนให้สมบูรณ์ ได้นั้นต้องอาศัยเหริน”[4] ในฐานะที่เป็นองค์ธรรมที่สำคัญสูงสุด องค์ธรรมที่สำคัญสูงสุดที่ขงจื๊อมักกล่าวถึงกลับเป็นเรื่องของเมตตาธรรม           (เหริน) ซึ่งจะทำให้เกิดพลัง (จง) ในการสร้างสรรค์สังคมให้มีความสงบสุข  ดังคำกล่าวที่ว่า “หลักปัญญามีไว้ เพื่อทำให้สติปัญญา หรือการรู้จักคิด มีความสมบูรณ์แบบโดยพร้อมมูล เพื่อรื้อฟื้นปรับปรุงศีลธรรมให้กับประชาชน รวมถึงการบรรลุถึงความดีอันสูงสุดด้วย”[5]  ในคำสอนของขงจื๊อ ปรากฏอยู่ในทางสายกลางจึงอยู่ที่ เมื่อบุคคลประกอบด้วยปัญญา หรือเมื่อปัญญาพัฒนาจนถึงขั้นสมบูรณ์แล้ว ย่อมสามารถทำให้เข้าใจ หรือมองเห็นสรรพสิ่งทั้งหลาย ตรงตามความเป็นจริง สามารถวางจิตให้เป็นกลาง โดยไม่เอนเอียงไปในลักษณะนี้  ขงจื๊อจึงเน้นเรื่องการพัฒนาปัจเจกบุคคลให้มีภูมิปัญญาอันสมบูรณ์สูงสุดนั้นเอง

 

 

2. นิยามและความหมาย

                    คำว่า ทางสายกลาง เป็นคำที่แปลความหมายมาจากคำว่า “จุงหยุง” (Chung Yung)  แยกออกเป็น 2 พยางค์  คือ จุง+หยุง   เป็นทั้งชื่อหลักธรรมที่สำคัญ และเป็นชื่อหนังสือเล่มที่ 2 ในจำนวนคัมภีร์คลาสสิค 4 เล่มของขงจื๊อ ในบทนำของหนังสือเล่มนี้[6] จูสีได้อ้างถึงคำอธิบายของอาจารย์เฉิง (Master Ch’eng) เกี่ยวกับความหมายของคำว่า  “จุงหยุง”

                    คำว่า “จุง”  หมายถึง  สิ่งที่ไม่เอนเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง  ส่วนคำว่า “หยุง” หมายถึง  ภาวะที่ไม่เปลี่ยนแปลง[7] คำแปลดังกล่าวนี้ สอดคล้องกับงานนิพนธ์ชื่อ Source of Chinese Tradition ซึ่งมี Wm. Theodore de Bary  ดังที่ จำนงค์ ทองประเสริฐ ได้แปลเป็นภาษาไทยในหนังสือชื่อว่า “บ่อเกิดลัทธิประเพณีจีน” ว่า จุง หมายถึง “ความเป็นกลาง” ส่วนคำว่า “หยุง” หมายถึง  ความเป็นไปตามธรรมชาติ[8]

                   ในคัมภีร์จุงหยุง ไม่ได้อธิบายความหมายของทางสายกลางไว้โดยตรง เพียงแต่พรรณนานัยแห่งศีลธรรมไว้ ซึ่งก็ชวนให้ตีความได้ว่า เกี่ยวเนื่องด้วยสภาวะจิตที่ไม่เอนเอียงไปในอารมณ์ทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว ที่เรียกสภาวะจิตที่ว่า “ทางสายกลาง” ซึ่งปรากฏอยู่ในคัมภีร์จุงหยุง ตอนหนึ่งที่กล่าวข้างต้นว่า...

         เราอาจเรียกจิตในขณะที่อยู่ในภาวะที่ปราศจากความหวั่นไหวในความยินดี ความโกรธ ความเศร้าโศก หรือความเพลินเพลินว่า  (มี) “ดุลยภาพ” (Equilibrium) และเมื่ออารมณ์ความรู้สึกเหล่านี้มากระทบ ก็ปฏิบัติตนได้เหมาะสมกับสถานการณ์  ภาวะดังกล่าวนี้อาจเรียกว่าจิตอยู่ในฐานะ (มี) “ความกลมกลืน” (ho=Harmony)  ความมีดุลยภาพนี้เป็นรากฐานอันยิ่งใหญ่ซึ่งจะทำให้การกระทำของมนุษย์ทุกอย่างเกิดความเจริญงอกงามขึ้นในโลก  และความกลมกลืนดังกล่าวนี้เป็นวิถีสากลซึ่งมนุษย์ทั้งหลายควรดำเนิน[9]

 

                   ดังนั้น คำว่า “จุงหยุง” (ทางสายกลาง) นักปราชญ์ ยังมีความเห็นที่แตกต่างกันไป เช่น

 

 

                             ดร.เจมส์ เล็กก์ (James Legge) ศาสตราจารย์ทางด้านจีนวิทยา ท่านได้แยกศัพท์ คำว่า  “จุง” ว่าเกิดจากผสมอักษรจีน 2 ตัว คือ ตัวแรก (ล่าง) แปลว่า หัวใจ กับตัวที่สอง (บน) แปลว่า กลาง[10] และแปลคัมภีร์จุงหยุงจากภาษาจีนเป็นภาษาอังกฤษ ท่านก็ใช้คำว่า  “Doctrine of  the  Mean”  แต่คำแปลดังกล่าวนี้  ก็ได้รับการวิจารณ์จากศาสตราจารย์เลียวนาร์ด  ชือเหลียน ซือ ซึ่งกล่าวว่า ไม่ค่อยตรงกับความหมายในภาษาจีนเสียทีเดียว เพราะคำว่า “จุง” ในภาษาจีนนั้น มีความหมายกว้างกว่าคำว่า  “Mean”  ในภาษาอังกฤษ[11] ถือว่าเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป

                   ส่วน ศาสตราจารย์เลียวหนาด ชือเหลียน ซือ (Leonard Shihlien Hsu) ได้ให้ความเห็นว่า  ความหมายเดิมของคำว่า  “จุง” (Chung) จริง ๆ คือ “กลาง” (middle)  แต่ในคัมภีร์จุงหยุง  มีความหมายไปในทำนองว่า สภาวะที่จิตไม่กำเริบ เมื่ออารมณ์และความรู้สึกทุกอย่าง ไม่ว่า  จะเป็นความยินดี ความยินร้าย ความเศร้าโศกเสียใจ หรือความร่าเริงยินดี เป็นต้น ครอบงำ[12] ดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เราอาจเรียกจิตในขณะที่ไม่มีกระแสแห่งความยินดี ความโกรธ ความ  เศร้าโศก ว่า อยู่ในสถานะที่เป็นกลาง”[13] สารัตถะของจุงหยุงที่แท้จริงจึงอยู่ที่ “ความเป็นกลาง” หรือ  “ความสมดุล”[14]

3. ความเป็นมาของทางสายกลาง

                   3.1 ที่มาของคัมภีร์ทางสายกลาง

                   คัมภีร์ทางสายกลาง “The Doctrine of Mean”  ถือว่าเป็นคัมภีร์หลักคัมภีร์หนึ่งจำนวน 4 คัมภีร์ ที่อยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า “จตุรปกรณ์”  เนื้อหาของคัมภีร์เป็นการคัดเลือกเอาจากคัมภีร์จารีต (The Book of the Rites)  บทที่ 28 มารวมเข้าเป็นหนึ่งชุด โดยปราชญ์สมัยราชวงศ์ซ้อง ชื่อชูสี (พ.ศ.1673-1743)  ท่านยังได้ตีความ และอธิบายคัมภีร์ “จตุรปกรณ์” จนกระทั่งท่านถึงแก่กรรม ดังนั้น คัมภีร์นี้ จึงเป็นสาระคำสอนที่สำคัญอีกคัมภีร์หนึ่งของลัทธิขงจื๊อ  ได้แก่[15]

                   1. คัมภีร์ต้าสุ่ย (The Great Learning)  เป็นคำสอนเกี่ยวกับคุณธรรม คัมภีร์นี้ถือว่าเป็นรากฐานสำหรับการศึกษาของรัฐบุรุษ โดยเฉพาะนักปกครอง และยังเป็นตำราที่เกี่ยวกับจารีตประเพณีโบราณอีกด้วย

                   2. คัมภีร์จุงหยุง (The Doctrine of Mean) เป็นคำสอนเกี่ยวกับทางสายกลางเป็นคัมภีร์ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างศีลธรรมกับมนุษย์             

                  3. คัมภีร์ลุ่นยื้อ (The Analects) เป็นคัมภีร์ที่บันทึกคำสอนของขงจื๊อสั้นๆ มีลักษณะเป็นคำคม หรือสุภาษิต รวมทั้งบทสนทนาระหว่างขงจื๊อกับสานุศิษย์ ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับหลักทางศีลธรรมอันจะนำไปสู่จุดหมาย ก็คือ การเป็นคนดีของสังคม

                   4. คัมภีร์เม่งจื๊อ (Works of Mencius)  เป็นหนังสือที่รวบรวมคำสอนของเม่งจื๊อ ศิษย์คนสำคัญของขงจื๊อ เป็นผู้ประกาศและเผยแพร่หลักคำสอนของขงจื๊อได้อย่างแพร่หลาย ที่สุด ศิษย์ของท่านเม่งจื๊อจึงรวบรวมไว้เป็นชุดๆ และตั้งชื่อตามอาจารย์ของตน คือ เม่งจื๊อ เพื่อเป็นการให้เกียรติ

                   นอกจากนี้ มีนักปราชญ์หลายท่านได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคัมภีร์จุงหยุงไว้ ซึ่งก็มีนัยและเหตุผลที่คล้ายคลึงกัน ดังนี้ คือ

                   ทัศนะของศาสตราจารย์เลียวหนาด ชือเหลียน ซือ เห็นว่า คัมภีร์จุงหยุงเป็นคัมภีร์ที่ว่าด้วยจิตวิทยาสังคม และธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งสอดคล้องกับคำอธิบายของอาจารย์เฉิง (พ.ศ.1576-1651) ที่ว่า  คัมภีร์จุงหยุงบรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับกฎการทำงานของจิต (the law of the mind)  ซึ่งได้รับการถ่ายทอดสืบกันมาจากขงจื๊อ ต่อมาถึงยุคของจื่อซือ (Tzu Ssu) ซึ่งเกรงว่าการถ่ายทอดจะมีความผิดเพี้ยน และคลาดเคลื่อน  จึงให้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรขึ้น จากนั้น ก็มอบหมายให้เม่งจื๊อเป็นผู้เก็บรักษา[16] สอดคล้องกับทัศนะของซือหม่าเฉียน (Ssu-ma Ch’ien) นักประวัติศาสตร์คนสำคัญของจีนที่กล่าวว่า คัมภีร์จุงหยุงได้รับการเขียนขึ้นโดยจื่อซือ ศิษย์คนใกล้ชิดของขงจื๊อ[17]

                   ดังนั้น คัมภีร์ทางสายกลางของขงจื๊อจึงมีอยู่ 3 ตอน ตอนที่ 1 มี 11 บท (บทที่ 1- 11) ตอนที่ 2 มี 9 บท (บทที่11–20) ตอนที่ 3 มี 13 บท (บทที่ 21–33) ในแต่ละบทมีข้อย่อยอีก  บางบทก็ไม่มีเลย  จำนวนมากน้อยไม่เท่ากัน ดังนั้นทั้ง 33 บทนี้ ไม่ได้กล่าวเฉพาะเรื่องทางสายกลางเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงจริยธรรมอื่น ๆ ด้วย ซึ่งท่านผู้รู้ได้แบ่งไว้เป็น 3 ส่วน[18] ส่วนที่ 1 ว่าด้วยคำสอนหลัก (the axis) ที่เป็นหลักความจริง หรืออภิปรัชญา  ส่วนที่ 2 ว่าด้วยวิธีการปฏิบัติ หรือกระบวนการ (the process) เกี่ยวข้องกับการ นำหลักความจริงมาประยุกต์ใช้ และส่วนที่ 3 ว่าด้วยความจริงใจ (sincerity) ซึ่งเป็นมรรควิถี ที่จะนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้เกิดผล หากจะพูดตามหลักปรัชญา

 

                   3.1 ที่มาของคำสอน

                   ที่มาของคำสอนเรื่องทางสายกลางของจื๊อ เราเริ่มต้นจากคำถามที่ว่า ทำไมขงจื๊อต้องสอนเรื่องทางสายกลาง ? ในการตอบคำถามนี้ จำเป็นต้องย้อนไปดูสภาพของสังคมในขณะที่ขงจื๊อมีชีวิตอยู่ เพราะสภาพทางสังคมสะท้อนให้เห็นภาพคำสอนที่ชัดเจนขึ้น ดังที่มีผู้รู้ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า “คำสอนของขงจื๊อพัฒนาในรูปของปฏิกิริยาต่อยุคสมัยที่ขงจื๊อมีชีวิตอยู่”[19] ที่กล่าวไว้ว่า...

                   โลกที่ท่านได้เผชิญนั้นมิได้เป็นโลกที่สดใสเลย ประเทศจีนได้แบ่งแยกออกเป็นรัฐเจ้าครอบครองแคว้นเล็กแคว้นน้อยมากมาย ซึ่งแต่ละแคว้นมักจะทะเลาะวิวาทและทำสงครามกันอยู่เสมอ หรือไม่ก็ทะเลาะวิวาทและทำสงครามกับพวกป่าเถื่อนที่คอยยกมารุกรานเบียนเบียนอยู่  รอบทิศ บรรดากษัตริย์ที่ประทับอยู่ ณ ราชสำนักกลางของราชวงศ์โจว ซึ่งครั้งหนึ่งได้เคยประทานความร่มเย็นเป็นสุขและเสถียรภาพให้แก่ชาติ  ก็อ่อนแอลง และไม่มีสมรรถภาพพอที่จะสู้กับความเกรียงไกรของบรรดาเจ้าครองนคร ผู้มีอำนาจมากกว่าทั้งหลายได้ กษัตริย์ทั้งหลายถูกพวกเสนาบดีปลดออกจากตำแหน่ง หรือไม่ก็ถูกปลงพระชนม์เสีย โอรสก็ปลงพระชนม์พระราชบิดาได้ ทั้งหมดนั้นเป็นความทารุณโหดร้าย และเป็นการขาดความเป็นระเบียบเรียบร้อยในหมู่ชนชั้นปกครอง และดูเหมือนจะไม่มีอำนาจอะไรที่สูงไปกว่านั้นอีกแล้ว ไม่ว่าจะเป็นอำนาจชั่วคราวหรืออำนาจทางวิญญาณใด  ๆ ที่ประชาชนจะร้องเรียนเอาได้[20]

                   ข้อความดังกล่าวข้างต้นนี้ สะท้อนให้เห็นสภาพบริบททางสังคม การเมืองในยุคสมัยของขงจื๊อได้ชัดเจนว่ามีสภาพเป็นอย่างไร ขงจื๊อเองก็คงจะมองเห็นความระส่ำระสาย  ความไร้ระเบียบ ความทุกข์ของสังคมที่เผชิญอยู่ในขณะนั้น  ซึ่งแน่นอนสภาพสังคมดังกล่าว ย่อมทำให้มองลึกไปถึงสภาวะจิตใจของผู้คนในบ้านในเมืองได้ด้วยว่า มีสภาพเป็นอย่างไร อาจกล่าวได้ว่า ยุคสมัยขงจื๊อมีชีวิตอยู่นั้นเป็น “ยุควิกฤติทางศีลธรรม” (a time of moral chaos)[21] ผู้คนละทิ้งและไม่ใส่ใจเรื่องคุณธรรม อาชญากรรมก็เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ในชนบทที่ห่างไกล มักถูกปล้นสะดม และภายในเมืองหลวงหรือในราชสำนักเองก็มีปัญหาเรื่องแก่งแย่ง ชิงดีชิงเด่น ซึ่งส่งผลกระทบไปถึงปัญหาทางเศรษฐกิจ เกิดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน คนมีอำนาจกับคนไร้อำนาจ

                   นอกจากนี้ แนวความคิดทางการเมือง และแนวความคิดทางปรัชญาในยุคสมัยของขงจื๊อจึงตกอยู่ในสภาพ “สุดโต่ง” 2 ทาง[22] ได้แก่

                   1. ความคิดเห็นที่ว่ารัฐบาลควรมีอำนาจเด็ดขาดในการควบคุมหรือแทรกแซงการบริหารราชการแผ่นดิน  แนวความคิดในลักษณะเช่นนี้ได้รับการเผยแพร่โดย กวนจุง (Kuan Chung), จื๊อชาน (Tzu Ch’an)  ซึ่งต่อมาแนวความคิดดังกล่าวนี้ก็ได้รับการพัฒนาไปสู่ความสุดโต่งอีกสำนักหนึ่งคือ สำนักนิติธรรมนิยม (Legalist School) เป็นกลุ่มขวาจัด

                   2. ความคิดเห็นที่เรียกกันว่า “นโยบายไม่แยแส” (laissez-faire policy) คือปล่อยไปตามยถากรรม ไม่รู้ไม่ชี้ ไม่นำพาสังคม ผู้ที่มีแนวความคิดในลักษณะเช่นนี้  คือ เล่าจื๊อ (Lao-tzu), เจียหยู (Chieh Yu), จางชู (Chang Chu), เจียหนี (Chieh Ni) เป็นต้น ซึ่งต่อมาแนวความคิดดังกล่าวนี้ก็ได้รับการพัฒนาไปสู่ความสุดโต่งอีกสำนักหนึ่งคือสำนักเต๋า (Taoist School) ซึ่งเป็นกลุ่มซ้ายจัด

                   แนวความคิดที่สุดโต่งข้างต้นนั้น ข้อแรกเน้นเรื่องการจัดระเบียบสังคมและเป็นการเน้นควบคุมสังคม ส่วนข้อที่สองเน้นเรื่อง เสรีภาพส่วนบุคคล  ทำให้มองเห็นว่า เกิดความขัดแย้งทางความคิด และการปฏิบัติ ซึ่งไม่มีทางที่จะเข้ากันได้ ขงจื๊อมองเห็นความสุดโต่งดังกล่าว ดังนั้นแนวความคิดทางปรัชญาขงจื๊อจึงไม่มีลักษณะสุดโต่งไปด้านใดด้านหนึ่ง  นั่นคือ ขงจื๊อไม่ทิ้งสังคม ขณะเดียวกันก็ให้ความสำคัญเรื่องเสรีภาพส่วนบุคคลด้วย  ด้านสังคมขงจื๊อก็เน้นเรื่องจารีตทางสังคม (หลี่) ในขณะที่ส่วนปัจเจกบุคคล ขงจื๊



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท