อนุทิน 133154


Wasawat Deemarn
เขียนเมื่อ

| อนุทิน ... ๕๔๕๖ |

"..."

ฝ่ายหนึ่งลงจากหลังเสือไม่ได้
อีกฝ่ายหนึ่งรอความหายนะจากคนขี่เสือ

คนที่ตกหลังเสือมาตายไม่ใช่คนขี่เสือ
แต่เป็นต้นหญ้าที่ถูกเสือเหยียบย่ำ

เมื่อต้นหญ้าตายจากคนที่ลงจากหลังเสือไม่ได้
อีกฝ่ายหนึ่งจึงได้ประโยชน์จากข้ออ้าง
แห่งความชอบธรรมในกฎระเบียบของสังคมที่วางไว้

ต้นหญ้า ... อยากตายก็ตายไป
เดี๋ยวก็มีหญ้าต้นใหม่ขึ้นมาแทน
ตายสิบเกิดแสน ... จำเพลงดังเพลงหนึ่งได้ไหม
เดี๋ยวคนขี่เสือจะประโคมขอบคุณเพียงชั่วคราว
แล้วทุกอย่างก็จางหายไป

ประัโยชน์ของพื้นดินไม่ได้ตกอยู่ในมือของต้นหญ้า
แต่ตกอยู่ในมือของคนขี่เสือ
และฝ่ายที่รอความหายนะของคนขี่เสือ

ไม่ต้องฟังความในข้อนี้
แต่ให้รอดูกันไปว่า จริงแค่ไหน

ปิดใจ หรือ เปิดใจ
เดี๋ยวรู้เอง ...

เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป
มันเป็นเช่นนั้นเอง ...



ความเห็น (8)

อนิจจัง ทุกขํ อนัตตา ครับ

คนขี่เสือยัดเยียดหายนะให้คนอื่น ก็ถูกคนอื่นรอความหายนะของคนขี่เสือ มันเป็นเช่นนั้นเอง ให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตัว….ในที่สุด พุทโธ ธัมโม สังโฆ…

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า…เอ่่อ..เรื่องอะไรครับ..หรือเรื่องกลัวจะไม่ได้ความรวย..

เรื่องนี้สอนว่า “จงเรียนรู้” ครับทุกท่าน ยืนอยู่ตรงกลางได้จึงดี ขอบคุณไว้ก่อนทุกความเห็นครับ ;)…

ผืนดินหล่อเลี้ยงทุกชีวิต โดยไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็น หญ้า เสือ คนขี่เสือ คนที่ได้รับหายนะ ได้รับชีวิต เพียง 1 และไม่ว่าจะได้อะไรมาเท่าไหร่ในชีวิตก็คืนไปเท่านั้น ตายได้ 1 ครั้งคือความเท่าเทียม ที่ธรรมชาติจัดสรรมา ยุติธรรมถูกต้องดีแล้ว ….หากใจ ไม่สงบ ไร้สติกำกับ ปัญญาที่มีก็ถูกใช้ไปโดยไม่มีเข็มทิศกำกับ…..แม้เรื่องง่ายๆยังบานปลายได้

ตามมาขอบคุณความเห็นต่อ ๆ มาอีกครั้งครับ ;)…

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท