อนุทิน 132827


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

3. ตัวหมายที่ล่องลอย (free floating signifier), ตัวหมายถึงที่หลากหลาย (multiple signifieds), และของแทนที่ (substituted referent)

2. ตัวหมายถึงที่หลากหลาย (multiple signifieds)

จากจุดเริ่มต้นที่ข้ามน้ำข้ามทะเลมาถึงเรา วาทกรรมที่เรารับมานั้นก็ไม่ได้ตกอยู่ในสิ่งรกร้างว่างเปล่า แต่กลับตกลงอยู่ในพื้นที่ที่มีสมอง มีจิตใจ มีวัฒนธรรมของตัวตนเองอย่างหลากหลายตามวัฒนธรรมนั้น ดังนั้นจึงมิอาจที่จะให้คนผู้รับวัฒนธรรมตะวันตกนั้นจะยอมรับวาทกรรมประชาธิปไตยอย่างว่างเปล่าได้ แต่กลับนำเอาวาทกรรมประชาธิปไตยนั้นมาดัดแปลงให้เข้ากับขนบธรรมเนียมประเพณีค่านิยมวัฒนธรรมที่รายล้อมคนเหล่านั้นอยู่  และพยายามทำให้วาทกรรมประชาธิปไตยเหล่านั้นมาเป็นของตนให้ได้ตามแต่กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆนั้น

ดังนั้นจึงวาทกรรมประชาธิปไตยในตะวันตกจำเป็นต้องมาผสมผสานกับวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีอยู่หลากหลาย ต่างตนต่างแทรกซึมซึ่งกันและกัน ต่างแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน โดยที่กระบวนการนั้นกลุ่มสังคมการเมืองต่างๆ เช่น พรรคการเมือง องค์กรกลาง ประชาชน ฯลฯ ต่างก็ได้กระโดดเข้ามารับเอาวาทกรรมประชาธิปไตยไปนิยามกันต่างๆนาๆ สุดท้ายก็เพื่อเป้าประสงค์ (purpose) ของกลุ่มตัว และก็ใช้มันเป็นดาบไปฟาดฟันกลุ่มอื่น เช่น สนธิ ลิ้มทองกุล, สุเทพ เทือกสุบรรณ, ทหารนอกประจำการ, รัฐบาลและคณะรัฐมนตรี, นักการเมือง, กลุ่มคนเสื้อแดง ที่มีอย่างหลากหลาย, นักวิชาการทั้งหลายที่สนับสนุนสีต่างๆ ฯลฯ

เมื่อการเป็นไปอย่างนี้ จึงไม่แปลกใจอะไรเลยที่นอกจากจะเป็นตัวหมายล่องลอยที่หลากหลายแล้ว ยังเป็นตัวหมายถึงที่มีความหลากหลายด้วย ทั้งนี้ย่อมแตกต่างจากตะวันตกที่มักจะมีความหมายที่ค่อนข้างเสถียรและเกือบจะแน่นอน เช่น วาทกรรมประชาธิปไตยของไทย ถ้าเป็นผู้นำไทยสมัยก่อน มีพวกเจ้านายหรือชนชั้นสูงก่อน พ.ศ.2475 เป็นต้น หมายถึงระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชที่มีสภาที่ปรึกษา สภาที่ปรึกษานี้มาจากเจ้านายแต่สภานี้มีอำนาจจำกัด, คณะราษฎรหมายถึงระบอบรัฐธรรมนูญที่มีสภาเลือกตั้งกึ่งหนึ่งแต่งตั้งกึ่งหนึ่งและไม่มีพรรคการเมือง, พวกนิยมกษัตริย์หมายถึงระบอบรัฐธรรมนูญที่มีพระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจเป็นแกนหลักในทางการเมือง มีชนชั้นสูงจำนวนน้อยครองอำนาจพิเศษมีที่นั่งในวุฒิสภาและไม่ใช้หลักเสียงข้างมาก, ผู้มีอำนาจ เช่น ทหาร หรือ ทักษิณ  หรือนายกฯทุกคนต่างต้องการระบอบอำนาจนิยมที่มีฝ่ายบริหารเข้มแข็ง มีสภานิติบัญญัติที่อ่อนปวกเปียกคอยเป็นตรายางให้แก่กฎหมายที่ตนออก มีวุฒิสภาที่มาจากที่ตนเข้าครอบงำได้, เจ้าพ่อหัวเมืองที่ได้กลายมาเป็นนักการเมือง หรือไม่ก็สนับสนุนนักการเมือง หมายถึงระบอบรัฐสภาที่มีแต่การเลือกตั้งอย่างไม่เสรี ไม่ยุติธรรม สามารถซื้อเสียงหรือโกงได้ โดยการตัดสื่อมวลชนเสรีและประชาสังคมนอกรัฐสภาออกไป, ชนชั้นกลาง หมายถึง รัฐบาลเสรีนิยมที่มั่นคง มีรัฐสภาจากเลือกตั้งอย่างเสรี ยุติธรรมและดำรงความยุติธรรมได้อย่างสม่ำเสมอ มีระบบพรรคการเมืองที่สะอาด และมีระบบราชการที่มีประสิทธิภาพ และชนชั้นกลางระดับต่ำก็มีชอบนโยบายประชานิยม ให้ความสำคัญกับการเลือกตั้ง นิยมยึดถือแต่ 1 คนได้เท่ากับ 1 เสียง มักจะมองว่าเมืองไทยถูกครอบงำอยู่ด้วยอำมาตย์ พวกอำมาตย์เปรียบได้กับมือที่มองไม่เห็น ชอบมาจุ้นจ้านแต่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของพวกเขา

หนังสืออ้างอิง

เกษียร เตชะพีระ. การเมืองวัฒนธรรมว่าด้วยประชาธิปไตย : บทนำเปรียบเทียบเชิงทฤษฎี ในรััฐศาสตร์สาร ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 มีนาคม 2537



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท