อนุทิน 132748


maveline aristy
เขียนเมื่อ

บันทึกการอ่าน

ครอบครัวนักอ่าน

วันที่   26 ธันวาคม 2556

ครอบครัวของ เด็กหญิง เมเฟอร์ลิน อารีสตี้

เรื่อง ทำไมต้อง”นิรโทษกรรม”

 

            นิรโทษกรรม (justifable act) – การกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น แต่กฎหมายบัญญัติว่า ไม่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เช่น การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย การกระทำตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย

นิรโทษกรรม (amnesty) – การลบล้างการกระทำความผิดอาญาที่บุคคลได้กระทำมาแล้ว โดยมีกฎหมายที่ออกภายหลังการกระทำผิดกำหนดให้การกระทำนั้นไม่เป็นความผิด และให้ผู้ที่ได้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด

นิรโทษกรรม (กฎหมายอาญา)

นิรโทษกรรม (amnesty) ในกฎหมายอาญา หมายถึง “การลบล้างการกระทำความผิดอาญาที่บุคคลได้กระทำมาแล้ว โดยมีกฎหมายที่ออกภายหลังการกระทำผิดกำหนดให้การกระทำนั้นไม่เป็นความผิด และให้ผู้ที่ได้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด” นิรโทษกรรมเป็นยิ่งกว่าการอภัยโทษ เพราะกฎหมายถือว่าผู้นั้นไม่เคยกระทำผิดมาก่อน

ทางการอาจประกาศนิรโทษกรรมให้เมื่อตัดสินใจว่า การนำพลเมืองมาอยู่ใต้กฎหมายสำคัญกว่าลงโทษจากการละเมิดในอดีต นิรโทษกรรมหลังสงครามช่วยยุติความขัดแย้ง ขณะที่กฎหมายต่อต้านกบฏ การปลุกปั่นให้ขัดขืนอำนาจปกครอง ฯลฯ ยังคงไว้เพื่อขัดขวางผู้ทรยศในอนาคตระหว่างความขัดแย้งในอนาคต แต่นิรโทษกรรมสร้างสำนึกให้อภัยผู้ละเมิดในอดีต หลังข้าศึกไม่หลงเหลือแล้วซึ่งได้ดึงดูดการสนับสนุนของพวกเขา แต่อีกจำนวนมากยังหลบหนีจากทางการ ข้อดีของการใช้นิรโทษกรรมยังอาจรวมการหลีกเลี่ยงการฟ้องคดีอาญาราคาแพง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีผู้ละเมิดจำนวนมากเข้ามาเกี่ยวข้อง กระตุ้นให้ผู้ที่หลบหนีทางการกลับมาปรากฏตัว และกระตุ้นการปรองดองระหว่างผู้ละเมิดกับสังคม

 

 



ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท