อนุทิน 132746


oranicha aunmai
เขียนเมื่อ

บันทึกการอ่าน

ครอบครัวนักอ่าน

วันที่บันทึก           23  ธันวาคม 2556             

ครอบครัวของ     ด.ญ.อรณิชา  อุ่นใหม่       

เรื่อง          ที่อยู่และการแพร่พันธุ์ของปลาทู 

ในอดีตเชื่อว่าปลาทูที่จับได้ในอ่าวไทยมาจากhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B3">เกาะไหหลำ แต่ปัจจุบันพบว่าปลาทูเกิดในอ่าวไทยเป็นปลาผิวน้ำ รวมกันเป็นฝูงบริเวณใกล้ฝั่ง พบเฉพาะบริเวณอุณหภูมิผิวน้ำไม่ต่ำกว่า 17 องศาเซลเซียส ความเค็มของน้ำไม่เกิน 32.5 ‰ แต่ทนความเค็มต่ำได้ถึง 20.4 ‰ จึงพบในบริเวณน้ำกร่อยได้  ปลาทูวางไข่แบบไข่ลอยน้ำ ไข่ที่ได้รับการผสมจะลอยน้ำอยู่ได้ ช่วงที่วางไข่คือกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม ต่อมาในต้นปี http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E.%E0%B8%A8._2555">พ.ศ. 2555 ได้มีการเปิดเผยว่าทางกรมประมง ได้สำเร็จการเพาะขยายพันธุ์ปลาทูในระบบปิดเป็นครั้งแรกของโลก อันเนื่องจากการบริโภคทำให้มีการจับปลาทูมากขึ้นในแต่ละปี เป็นหวั่นเกรงกันว่า ปลาทูอาจจะhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%8D%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C">สูญพันธุ์ลงได้ การนำปลาทูพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ที่มีความสมบูรณ์แข็งแรงที่ได้มาจากทะเลในกระชังที่ขึงไว้ในบ่อดินนาน 6 http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99">เดือน ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาชายฝั่งสมุทรสาคร จนปลาเติบโตถึงวัยเจริญพันธุ์ จึงย้ายปลาขึ้นมาเลี้ยงในถังเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ในโรงเพาะฟัก โดยให้อาหารสูตรเฉพาะ และเลี้ยงในระบบกรองน้ำแบบชีวภาพด้วยเครื่องโปรตีนสกิมเมอร์ เพื่อให้ได้คุณภาพน้ำที่เหมาะสมปราศจากเมือกโปรตีนที่ตกค้าง มีการควบคุมความเค็มที่ระดับ 27-30 ส่วนใน 1,000 และควบคุมอุณหภูมิให้มีค่าคงที่อยู่ระหว่าง 29-32 องศาเซลเซียส โดยใช้ความพยายามกว่า 2 ปี จนในวันที่ http://th.wikipedia.org/wiki/11_%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99">11 กันยายน http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E.%E0%B8%A8._2554">พ.ศ. 2554 แม่พันธุ์ปลาทูก็วางไข่และสามารถอนุบาลได้ในระบบปิด โดยวางไข่ครั้งละประมาณ 15,000-30,000 ฟอง และมีพฤติกรรมวางไข่แบบรวมฝูง แม่ปลาทั้งฝูงจะวางไข่เป็นระยะ ๆ ต่อเนื่องกันหลายวันไปจนหมดฤดูผสมพันธุ์ ไข่ของปลาทูเป็นแบบไข่ครึ่งจมครึ่งลอยน้ำ มีหยดน้ำมันและถุงไข่แดงเพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานให้กับระบบร่างกาย ไข่มีขนาดประมาณ 0.80-0.96 http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%A3">มิลลิเมตร ใช้ระยะเวลาในการฟักประมาณ 16-17 ชั่วโมง ถุงไข่แดงของลูกปลาเริ่มยุบและหมดไปภายใน 3 วัน ลูกปลาตั้งแต่วันแรกที่ฟักออกจากไข่ถึงอายุ 7 วัน จะกินอาหารประเภท แพลงก์ตอนที่ประกอบไปด้วยทั้งสาหร่ายสีเขียวและสีน้ำตาล ร่วมกับhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%9F%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C">โรติเฟอร์ และโคพีพอด จากนั้นลูกปลาจะสามารถกินhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A2">อาร์ทีเมียแรกฟักและhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2">อาหารเม็ดได้



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท