อนุทิน 132729


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

2. สัญญะ (sign) ตอนที่ 2

2. ความสัมพันธ์ระหว่างตัวหมายและตัวหมายถึง

     ความสัมพันธ์ระหว่างตัวหมายกับตัว หมายถึง เป็นไปอย่างสุ่มหรือคาดเดาไม่ได้ ภาษาทุกภาษามีระบบการออกเสียงเป็นของตัวเอง ต้นไม้ในภาษาไทยเรียกว่าต้นไม้ แต่ในภาษาอังกฤษเรียกว่า tree เมื่อคนในวัฒนธรรมหนึ่งคิดคำขึ้นมาเรียกสิ่งใดสิ่งหนึ่ง สิ่งนั้นก็จะเป็นไปตามสิ่งที่คนในสังคมนั้นๆพูดถึง หรือกล่าวถึง คนรุ่นหลังไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ หรืออาจเปลี่ยนแปลงได้ แต่ก็เป็นทีละนิดๆ ไม่ทั้งหมด ไม่อย่างนั้นก็จะไม่สามารถสื่อสารกับใครได้ คำกล่าวที่ว่า ภาษามีความเป็นอิสระพอสมควร ก็หมายความว่า ในตอนแรกการจับ ตัวหมายถึง (signified)กับตัวหมาย (signifier) เป็นไปด้วยความบังเอิญ เช่นไม่รู้เหมือนกันว่า สัตว์ที่เห่าหอน และ เฝ้าบ้านให้เรา ทำไมเราจึงเรียกมันว่าหมา ไม่เรียกเป็น dog แต่พอหลังจากนั้นสังคมมีส่วนกำหนดเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามสัญญะจะส่งความหมายก็ต่อเมื่อมันแตกต่างจากคู่ของมันในภาษานั้น เช่น ร้อน ตรงข้ามกับ เย็น, hot ตรงข้ามกับ cold, เลว ตรงกันข้าม ดี หมา ก็ตรงข้ามกับแมว เป็นต้น

      ที่นี้ถ้าเราจะบอกว่า วาทกรรมประชาธิปไตย หรือ ความเป็นวาทกรรมประชาธิปไตยก็เป็นสัญญะหนึ่ง จะมี ตัวหมาย (signifier) ก็คือ การพูด การเขียน การเล่า การแสดงละคร การเขียนบทกวี ฯลฯ เกี่ยวกับเรื่องนี้ แน่นอนว่ามันจะต้องมีตัวหมายถึง (signified) หรือสังกัป หรือ ความหมาย ขึ้นเกี่ยวกับมันเสมอ

     ปัญหาก็คือตัวหมายถึงของความเป็นวาทกรรมประชาธิปไตย เป็นอย่างไร จะเหมือนหรือแตกต่างจากชนชั้น กลุ่มชาติพันธุ์ หรือเพศสภาพหรือไม่ อย่างไร 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท