อนุทิน 131499


Vanattapong Sukhontachadnan
เขียนเมื่อ

บันทึกการอ่าน ครอบครัวนักอ่าน วันที่บันทึก 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ครอบครัวของ ด.ญ. แมเดอร์ลิน อารีสตี้ เรื่อง ลักษณะการพูดที่ดี 1.ถูกจังหวะเวลา คู่สนทนาพร้อมจะพูด หรือติดงานยุ่งใจกับเรื่องอื่นหรือไม่ ต้องมีอารมณ์ร่วม อาจถามว่าเขาพร้อมจะฟัง ขอเวลาผมปรึกษาเรื่องนี้ ท่านพอมีเวลาให้ อย่าพูดแทรกขณะที่เขาพูดต่อเนื่องไม่จบ เว้นแต่มีเหตุผล แต่ต้องนำว่า ผมขออนุญาตชี้แจงตรงนี้ครับ... ใช้เวลาให้พอดี และไม่พูดเดาดักหน้าต่อข้อความของเขาเพื่อโชว์ว่าฉันรู้ดี 2.ภาษาเหมาะสม ต้องเป็นภาษาสุภาพเข้ากับ เด็ก ผู้ใหญ่ เพื่อน หัวหน้า ผู้หญิง ผู้ชาย้ ความสนิทสนม ต้องเข้ากับสถานที่และเวลาโอกาส เช่นในที่ประชุม หรือที่มีคนไม่สนิทอยู่ด้วย ต้องเรียบง่ายได้ใจความ ไม่ใช้คำศัพท์เฉพาะทาง และกะทัดรัดตรงประเด็นโดยเฉพาะทางธุรกิจต้องไม่เยิ่นเย้อยืดยาด ไม่ใช้คำพูดดูถูกเหยียดหยามบุคคลที่สาม ไม่ใช้คำบ่งว่าต่ำศักดิ์กว่า บ้านนอก ขี้ข้า 3.เนื้อหาชวนติดตาม ลำดับเนื้อความเป็นระเบียบต่อเนื่องอย่างมีเหตุผล ถ้ามีหลายหัวเรื่องว่าให้จบเป็นข้อๆไปอย่าสับไปสับมา ทำให้สับสน หมดความตั้งใจฟัง รู้จักผูกเรื่องที่ใกล้ตัวคนฟังโยงมาสู่เรื่องที่พูด อย่าพูดตัวเลขสถิติมากจนน่าเบื่อมาก 4.น้ำเสียงชวนน่าฟัง เน้นเสียงหนักเบา นุ่มชวนฟัง ใส่อารมณ์ให้กับบางคำพูดบ่งชี้ว่าตอนนี้นะสำคัญ เพื่อเขาตื่นตัวและคล้อยตามผู้พูด จึงควรเว้นพูดเสียงเนิบนาบราบรียบต่อเนื่องแบบท่องหนังสือชวนให้ง่วงหลับ แล้วต้องมีลีลาช้า เร็ว เว้นจังหวะหยุดพูดบ้าง เพื่อดึงความสนใจว่า เราจะพูดอะไรต่อ ดูจากแววตาสีหน้า เนื้อหาสำคัญต้องพูดช้าชัดๆเพื่อเขาจะได้ทำความเข้าใจจดจำได้ น้ำเสียงสีหน้าผู้พูดยิ้มแย้มแสดงความจริงใจ ผู้ฟังสบายใจ ตรงข้ามกับเสียงเย่อหยิ่ง ประชดประชันคนอื่น 5.กิริยาท่าทางดี พยายามสบตากับผู้ฟัง ดวงตาเป็นสะพานเชื่อมต่อกับความรู้สึกภายในใจโดยตรง สื่อว่า เราเป็นมิตร ความเห็นอกเห็นใจ เรากระตือรือร้น ควรเริ่มต้นสบตาทันทีที่เริ่มพูด แต่ต้องไม่ตลอดไป ควรหันไปทางอื่นด้วยป้องกันความอึดอัดเกิดกับผู้ฟัง ถ้าพูดกับคนจำนวนมากต้องส่งสายตาไปคนหลังสุดก่อนแล้วจึงมองไปทั่วๆ อย่าเพ่งจ้องคนใดโดยเฉพาะ กริยาดีต้องนั่งหลังตรง กับเอนตัวมาข้างหน้าเล็กน้อย แสดงว่าสนใจอีกฝ่าย แล้วอย่าเองไปพิงหลังกอดอก แสดงการตีตัวออกห่างไม่อยากพูดด้วยนะเอง แล้วอย่า อยู่นิ่งเป็นหุ่นขี้ผึ้ง ต้องขยับบ้างเล็กน้อย แสดงมือประกอบได้เล็กน้อย แต่อย่าหลุกหลิก อย่าฃี้หน้าผู้ฟัง และถ้ายิ้มได้ควรยิ้มให้ผู้ฟัง 6.อารมณ์ขันเป็นยาดำ สอดแทรกอารมณ์ขันที่ดีแบบสุภาพ แนบเนียน ไม่อนาจาร ทำ ให้เกิดอารมณ์ร่วมกับผู้ฟังได้ดีมาก สิ่งต้องระวังคือ อย่าเอาเรื่องส่วนตัวคนอื่นมาเป็นตลกให้คนอื่นหัวเราะ อย่าพูดตลกในสถานที่ราชการ ในพิธี ไม่พูดเรื่องตลกที่คนส่วนใหญ่ฟังมาแล้ว 7.ให้ผู้ฟัง คู่สนทนามีส่วนร่วม ตั้งคำถามเล็กๆ หรือขอความเห็นอย่างอื่นจากผู้ฟัง เปิดโอกาสให้ซักถามประเด็นที่ติดใจ หรือขอความช่วยเหลือจากผู้ฟังให้หยิบสิ่งของโชว์

8.เป็นธรรมชาติและเป็นตัวของตัวเอง มีลีลาพูดเรื่องยากเป็นเรื่องง่าย คุยแบบสนุก ทำมือไม้อยู่ไม่สุขเพื่อดึงดูดความสนใจ เป็นจุดเด่นของตัวเอง แต่อย่าเลียนแบบคนดัง ท่าทางภาษา สำนวนภาษาที่เราถนัด ที่เตรียมมา จะเป็นจุดเด่น เป็นเอกลัษณ์ของเรา 9.วิเคราะห์คู่สนทนาว่า ชอบและสนใจสิ่งไหนเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ตั้งแต่แรกเห็นแล้วว่า เราจะต้องพูดกับใคร คนวัยไหน อยู่วงการอะไร ฐานะตำแหน่ง สภาพจิตใจ เขาจะมีความสนใจอะไรส่วนตัวเป็นพื้นนิสัย เป็นช่องทางเปิดให้เรารุกเข้าไปนั่งในใจเขาอย่างไม่ยากแต่อย่าทำแบบโฉ่งฉ่างอีกฝ่ายจับได้



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท