อนุทิน 129576


สุพัตรา บุญจันทร์
เขียนเมื่อ

 

 

 

 

 

โครงงานเรื่อง การจัดทำบล็อก (Blog) เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ผู้จัดทำ  นางสาวสุพัตรา  บุญจันทร์   

 

รหัสประจำตัวนักศึกษา  559904113  รุ่น  ExMPA 55.1

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

อาจารย์ที่ปรึกษา อ.ดร. รุ่งนภา เพ่งรุ่งเรืองวงษ์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงงานวิชา การจัดการความรู้และองค์กรแห่งการเรียนรู้  ระดับปริญญาโท

 

หลักสูตร รป.ม.(ภาคทั่วไป)  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

 

ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556

 

 

 

แบบเสนอโครงงาน

 

โครงงานการจัดทำบล็อก (Blog) เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประจำปีการศึกษา  2556

 

 

 

โครงงานเรื่อง ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองจังหวัดนครปฐม

 

วิชา  การจัดการความรู้และองค์กรแห่งการเรียนรู้  รหัสวิชา  9002101  จำนวนหน่วยกิต  3(3-0-6)

 

รายชื่อผู้เสนอโครงงาน นางสาวสุพัตรา  บุญจันทร์           รหัสประจำตัว  559904113  รุ่น  ExMPA 55.1

 

 

 

 

 

                                                            (ลงชื่อ)                                                  ผู้เสนอโครงงาน

 

                                                                             (...................................................)

 

                                                                             วันที่........./...................../..............

 

 

 

 

 

ความเห็นของอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน

 

....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

 

 

 

 

 

                                                            (ลงชื่อ)                                                  ที่ปรึกษาโครงการ                 

 

                                                                          (...................................................)

 

                                                                          วันที่........./...................../..............

 

                                                                          รับเมื่อวันที่........./.................../..............           

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

โครงงานการจัดทำบล็อก(Blog) เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้

 

ประจำปีการศึกษา  2556  ภาคเรียนที่  1

 

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

 

.........................................................

 

ชื่อโครงงาน ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองจังหวัดนครปฐม

 

สาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์

 

ชื่อผู้ทำโครงงาน  นางสาวสุพัตรา  บุญจันทร์  รหัสประจำตัว  559904113  รุ่น  ExMPA 55.1

 

หลักสูตร รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

 

ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา อ.ดร.รุ่งนภา  เพ่งรุ่งเรืองวงษ์

 

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่เดือน กรกฎาคม 2556 – กรกฎาคม 2557 รวมระยะเวลา 13 เดือน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1. ชื่อโครงการ ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองจังหวัดนครปฐม

 

2. ผู้ดำเนินการ นางสาวสุพัตรา  บุญจันทร์ 

 

3. หลักการและเหตุผล

 

ยาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญของชาติที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคงของประเทศ ตลอดจนความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ทุกรัฐบาลได้ดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2556 รัฐบาลได้ประกาศสงครามขั้นแตกหักกับยาเสพติดและกำหนดยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดเป็นแนวทาง (Roadmap) ในการต่อสู้กับยาเสพติด โดยมีการปฏิบัติการกวาดล้างยาเสพติดมาเป็นระยะทำให้สถานการณ์ปัญหายาเสพติดลดความรุนแรงลง ในสถานการณ์ปัจจุบันยาเสพติดได้หวนกลับมาเป็นปัญหาสำคัญและมีแนวโน้มที่จะขยายตัวเป็นปัญหารุนแรงอีกครั้ง ซึ่งมีสาเหตุมาจากปัญหาเศรษฐกิจ สังคมและสภาพภูมิประเทศ ที่ประเทศเพื่อนบ้านยังเป็นแหล่งผลิตยาเสพติดเป็นจำนวนมาก รวมถึงพลังแผ่นดินจากทุกภาคส่วนยังไม่เข้มแข็งพอที่จะผนึกกำลังป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดได้ ประกอบกับพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2554 ขอให้คนไทยทุกคนผนึกกำลังต่อต้านยาเสพติด มิให้ประชาชน โดยเฉพาะเยาวชนลูกหลานตกไปเป็นเหยื่อของยาเสพติด (รายงานประจำปี 2555 กรมการปกครอง, 2556: 166-169)

 

รัฐบาลปัจจุบันจึงได้กำหนดให้การแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นนโยบายเร่งด่วนสำคัญ                 และเป็น วาระแห่งชาติ ที่ทุกภาคส่วน ภาครัฐและภาคประชาชนต้องมีส่วนร่วมผนึกกำลังเป็นพลังแผ่นดินแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยตัดวงจรปัญหา คือ ลดปัญหาการผลิต การค้ายาเสพติดลดปัญหาผู้เสพ/ผู้ติดและแก้ไขปัญหากลุ่มเสี่ยง ป้องกันไม่ให้เกิดผู้เสพรายใหม่ โดยกำหนด ยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดอย่างยั่งยืน ปี พ.ศ. 2555 ขึ้น ภายใต้กลยุทธ์ 7 แผน 4 ปรับ 3 หลัก 6 เร่ง คือ แผนที่ 1 การสร้างพลังสังคมและพลังชุมชนเอาชนะยาเสพติด แผนที่ 2 การแก้ไขปัญหาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด แผนที่ 3 การสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติด แผนที่ 4  การปราบปรามยาเสพติดและบังคับใช้กฎหมาย แผนที่ 5 ความร่วมมือระหว่างประเทศ แผนที่ 6 การสกัดกั้นยาเสพติด แผนที่ 7 การบริหารจัดการแบบบูรณาการ 4 ปรับ เป็นการปรับปรุงสิ่งที่มีความสำคัญ 4 อย่าง เพื่อให้การเอาชนะยาเสพติดมีประสิทธิภาพ คือ (1) ปรับปรุงข้อมูลการข่าวให้ทันสมัย (2) ปรับบทบาทพฤติกรรมเจ้าหน้าที่ของรัฐ (3) ปรับกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ (4) ปรับทัศนคติของสังคมและชุมชนมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหา 3 หลัก ประกอบด้วย (1) หลักเมตตา ความรักในเพื่อนมนุษย์ อยากให้คนผิดกลับตัวเป็นคนดี (2) หลักนิติธรรม ให้การบำบัด ป้องกันควบคู่กับการปราบปราม (3) แก้ไขปัญหาโดยยึดพื้นที่เป็นหลัก 6 เร่ง ประกอบด้วย (1) เร่งดำเนินการด้านข้อมูลปัญหา (2) เร่งจำนวนผู้เสพจากหมู่บ้าน/ชุมชน (3) เร่งแสวงหาความร่วมมือกับต่างประเทศและการสกัดกั้นยาเสพติด (4) เร่งปราบปรามผู้ค้า ลดความเดือดร้อนของประชาชน (5) เร่งแก้ปัญหาเยาวชนกลุ่มเสี่ยงทั้งในและนอกสถานศึกษา (6) เร่งสร้างหมู่บ้าน/ชุมชนให้มีความเข้มแข็ง โดยมีการจัดตั้ง ศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด เพื่อเป็นกลไกดำเนินงานระดับพื้นที่ ประกอบด้วย ศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดจังหวัด (ศพส.จ.) ศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดกรุงเทพมหานคร (ศพส.กทม.) และศูนย์ปฏิบัติการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดอำเภอ (ศพส.อ.) ศูนย์ปฏิบัติการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดเขต (ศพส.ข.) (รายงานประจำปี พ.ศ. 2555 กรมการปกครอง, 2556: 166-169)

 

ด้วยจังหวัดนครปฐม มีลักษณะที่ตั้งเป็นยุทธศาสตร์สำคัญต่อการค้าและแพร่ระบาดของยาเสพติด โดยกลุ่มการค้าใช้พื้นที่ของจังหวัดนครปฐม เป็นที่พักเก็บยาเพื่อรอคอยการส่งมอบให้แก่กลุ่มการค้าระดับต่าง ๆ มีการแพร่ระบาดยาเสพติดในย่านชุมชน โรงงานอุตสาหกรรมและแหล่งที่มีประชากรผู้ใช้แรงงานอาศัยอยู่หนาแน่น โดยใช้หอพัก/ห้องเช่า เป็นที่พักอาศัยหรือเป็นสถานที่เก็บ/แบ่งบรรจุยาเสพติด เพื่อรอการส่งต่อและจำหน่ายต่อไปและเป็นที่ตั้งของสถาบันอุดมศึกษา สถานศึกษาขนาดใหญ่หลายแห่ง ทำให้มีกลุ่มเยาวชน นักเรียน นักศึกษาเดินทางเข้ามาศึกษาต่อและพักอาศัยอยู่ตามหอพัก/ห้องเช่า ตกเป็นกลุ่มเป้าหมายของนักค้ายาเสพติด ประกอบด้วย จังหวัดนครปฐมมีถนนเส้นทางสายหลักที่เชื่อมต่อจังหวัดภาคใต้และภาคตะวันตก คือ ถนนเพชรเกษมและมีเส้นทางรองสามารถเชื่อมต่อได้ทุกพื้นที่ โดยเฉพาะเส้นทางรอยต่อกับกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล เป็นปัจจัยสำคัญที่เอื้ออำนวยต่อการลักลอบลำเลียงและการแพร่กระจายของยาเสพติดไปยังพื้นที่ใกล้เคียงและกรุงเทพมหานคร ทำให้การกระจายยาเสพติดสู่กลุ่มผู้ค้ารายย่อย ผู้เสพได้อย่างรวดเร็ว สถานการณ์การค้ายาเสพติดมีแนวโน้มมากขึ้น โดย ยาบ้า ไอซ์และกัญชา ยังคงเป็นตัวยาหลักที่มีการค้าและแพร่ระบาดมากที่สุด รูปแบบการค้าได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยใหม่ โดยใช้วิธีการค้ายาเสพติดผ่านทางระบบโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social  Network) ใช้เฟสบุ๊ค (Facebook) และวิธีการอื่น ๆ เป็นสื่อกลางในการค้าขายภายในกลุ่มโดยเฉพาะ ส่งผลให้การแพร่ระบาดยาเสพติดในพื้นที่จังหวัดนครปฐมจัดอยู่ในระดับรุนแรง เนื่องจากการแพร่ระบาดยาเสพติดมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นและฝังรากลึกอยู่ในทุกพื้นที่ ปัญหายาเสพติดแพร่ระบาดรุนแรงในทุกอำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนครปฐม อำเภอสามพราน อำเภอกำแพงแสน อำเภอนครชัยศรี อำเภอบางเลน อำเภอดอนตูม อำเภอพุทธมณฑล ซึ่งทุกฝ่ายได้ให้ความสำคัญกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างจริงจังและต่อเนื่อง แต่ปัญหายาเสพติดก็ยังแพร่กระจายไปถึงระดับหมู่บ้าน ชุมชน ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของประเทศ และได้ขยายตัวเข้าไปสู่สถาบันครอบครัว โดยเฉพาะกลุ่มนักเรียน นักศึกษาและเยาวชน ซึ่งเป็นพลังสำคัญของประเทศชาติในอนาคตและจังหวัดนครปฐมได้จัดเป็นหนึ่งในพื้นที่เสี่ยงของ 34  จังหวัด ที่ต้องเฝ้าระวังด้านการค้าและแพร่ระบาดของยาเสพติด (ศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดจังหวัดนครปฐม, 2556: 2-4)

 

 

 

ที่ทำการปกครองจังหวัดนครปฐม (กลุ่มงานความมั่นคง) มีบทบาทในการขับเคลื่อนการดำเนินงานยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดอย่างยั่งยืน ในฐานะหน่วยงานที่มีภารกิจในด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงในพื้นที่ เป็นฝ่ายเลขานุการของศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดจังหวัดนครปฐม (ศพส.จ.นฐ.) โดยมีนายอำเภอ ปลัดอำเภอ กำนัน  ผู้ใหญ่บ้านและคณะกรรมการหมู่บ้าน เป็นกลไกในการขับเคลื่อนการดำเนินงานต่าง ๆ เป็นหน่วยงานหลักในการดูแลรับผิดชอบการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดอย่างยั่งยืนในแผนงานต่าง ๆ คือ แผนงานที่ 1 สำรวจจำนวนหมู่บ้าน/ชุมชนเป้าหมายปฏิบัติการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดอย่างยั่งยืน ปี 2556 การสร้างพลังสังคมและพลังชุมชนเอาชนะยาเสพติด โครงการชุมชนอุ่นใจได้ลูกหลานกลับคืน เป้าหมาย 1 อำเภอ 1 หมู่บ้าน รวม 7 หมู่บ้าน แผนงานที่ 2 การแก้ไขปัญหาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด การบำบัดแบบสมัครใจในระดับจังหวัด แผนงานที่ 3 การจัดระเบียบสังคม จังหวัดได้กำหนดแผนปฏิบัติการในการจัดระเบียบสังคมของสถานบริการ ร้านเกม อินเตอร์เน็ตและร้านขายสุรา โดยจัดทีมชุดปฏิบัติเฉพาะกิจจัดระเบียบสังคมและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่เสี่ยงทั้งระดับจังหวัด/อำเภอ ชุดปฏิบัติการของจังหวัด ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ตำรวจ สาธารณสุข วัฒนธรรมจังหวัด พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยกำหนดออกตรวจทุกสัปดาห์ แผนงานที่ 4 การปราบปรามยาเสพติดและบังคับใช้กฎหมาย แผนงานที่ 5 ความร่วมมือระหว่างประเทศ (ยังไม่ได้ดำเนินการ) แผนงานที่ 6 การสกัดกั้นยาเสพติด ได้นำแนวทางในการดำเนินงานทางยุทธศาสตร์ด้านการปราบปรามยาเสพติด มาใช้ในการสกัดกั้นการลำเลียงยาเสพติด โดยตั้งจุดตรวจทุกอำเภอ แผนงานที่ 7 การบริหารจัดการแบบบูรณาการ โดยงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรรองรับการจัดทำแผนปฏิบัติการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด (ศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดจังหวัดนครปฐม, 2556: 5-11)

 

ผลการดำเนินงานในช่วงที่ผ่านมาพบว่า ในเขตชุมชน /เมือง โดยเฉพาะในเขตเทศบาลนคร เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองไม่มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด กล่าวคือ ไม่มีพลังในการกดดันผู้ค้าและค้นหาผู้เสพเข้าสู่กระบวนการ การบำบัดและติดตาม ในพื้นที่มีผู้เสพอยู่มากทำให้การแพร่ระบาดยาเสพติดเพิ่มขึ้น รวมทั้งยังไม่สามารถจับกุม ผู้ค้า ทั้งรายกลางและรายใหญ่อย่างได้ผล การดำเนินงานของศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดจังหวัดและศูนย์ปฏิบัติการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดอำเภอ มีขีดและข้อจำกัดในการดำเนินการ ทำให้ไม่สามารถทำงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดได้อย่างมีประสิทธิภาพ  และประสิทธิผลอย่างยั่งยืน (คณะอนุกรรมการกำกับติดตามผลการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด, 2556: 131-133)

 

จากความสำคัญของปัญหาที่ได้กล่าวมาข้างต้น ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองจังหวัดนครปฐม

 

 

 

4. วัตถุประสงค์ของโครงการ

 

1. เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา                                        ยาเสพติดของเจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง จังหวัดนครปฐม

 

2.  เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของเจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง จังหวัดนครปฐม

 

5. สถานที่ดำเนินงาน

 

    จังหวัดนครปฐม

 

6. เป้าหมายของโครงการ

 

            เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนผ่านระบบอินเตอร์เน็ต

 

7. ขั้นตอนวิธีการดำเนินงาน

 

1. เสนอหัวข้อสารนิพนธ์และวัตถุประสงค์ที่ต้องการศึกษา

 

            2. รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดจังหวัดนครปฐม

 

            3. ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและผลงานวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองจังหวัดนครปฐม

 

            4. สรุปกรอบแนวคิด

 

            5. สร้างเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล

 

            6. การทดสอบแบบสอบถาม

 

            7. เก็บรวบรวมข้อมูล

 

            8. วิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอผลการศึกษา

 

            9. สรุปและการอภิปรายผล

 

8. ระยะเวลาดำเนินงาน

 

ระยะเวลาในการดำเนินการ 1 ปี 1 เดือน เริ่มจากวันที่ 1กรกฎาคม 2556 31 กรกฎาคม 2557  

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท