อนุทิน 129077


นิตยา พฤคฌาญาน
เขียนเมื่อ

สัปดาห์ที่15 แล้วสอนนักเรียนเรื่องการเคลื่อนที่ของเสียง ถ้าพูดถึงเสียง เสียง  เป็นคลื่นกลที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุเกิดการสั่นสะเทือน จะทำให้เกิดการอัดตัว และขยายตัวของคลื่นเสียง และถูกส่งผ่านตัวกลางที่เป็นสสารอยู่ในสถานะ ก๊าซ ของเหลว ของแข็ง(คลื่นเสียงจะไม่ผ่านสุญญากาศ) ไปยังหู ทำให้ได้ยินเสียงเกิดขึ้น เสียงเกิดขึ้น เมื่อวัตถุหรือแหล่งกำเนิดเสียง มีการสั่นสะเทือน ส่งผลต่อการเคลื่อนที่ของโมเลกุลของอากาศที่อยู่โดยรอบกล่าวคือโมเลกุลของอากาศเหล่านั้นจะเคลื่อนที่จากตำแหน่งแหล่งกำเนิดเสียงไปชนกับโมเลกุลของอากาศที่อยู่ถัดออกไป จะเกิดการถ่ายโอนโมเมนตัมจากโมเลกุลที่มีการเคลื่อนที่ไปให้กับโมเลกุลของอากาศ ที่อยู่ในสภาวะปกติ จากนั้นโมเลกุลที่ชนกันจะแยกออกจากกันโดยโมเลกุลของอากาศที่เคลื่อนที่มาชนจะถูกดึงกลับไปยังตำแหน่งเดิมด้วยแรงปฎิกิริยา และโมเลกุลที่ได้รับการถ่ายโอนพลังงาน ก็จะเคลื่อนที่ต่อไปและไปชนกับโมเลกุลของอากาศที่อยู่ถัดไป เป็นดังนี้ไปเรื่อยๆ จนเคลื่อนที่ไปถึงหู เกิดการได้ยินขึ้น เสียงที่เกิดขึ้นมีหลายลักษณะ เช่น เสียงดัง เสียงค่อย เสียงสูง เสียงต่ำ เสียงทุ้ม เป็นต้นวัตถุที่มีการสั่นสะเทือนมากจะทำให้เกิด เสียงดังวัตถุที่มีการสั่นสะเทือนน้อยจะทำให้เกิด เสียงค่อย วัตถุแต่ละชนิดจะมีความดังที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับความสามารถในการสั่นสะเทือนของวัตถุนั้นๆ เช่น วัตถุชนิดหนึ่งมีการสั่นสะเทือนมากกว่าวัตถุอีกชนิดหนึ่ง เมื่อถูกเคาะด้วยแรงเท่ากัน และวัตถุที่ใช้เคาะชนิดเดียวกัน วัตถุที่สั่นสะเทือนมากกว่าจะทำให้เกิดเสียงที่ดังกว่า ให้เด็กได้ทำการทดลองคือ ดีดไม้บรรทัดกับโต๊ะ โดยให้ดีดเบา ๆ ดีดแรงๆ และให้ตั้งไม้บรรทัดห่างจากโต๊ะ 10 เซนติเมตร และให้ตั้งไม้บรรทัดห่างจากโต๊ะ 20 เซนติเมตร ดูความเปลี่ยนแปลงเพื่อศึกษาว่าเสียงเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่เป็นอากาศโดยเกี่ยวข้องกับความถี่ด้วย ความถี่เร็วเสียงดัง ความถี่ช้าเสียงเบา การให้เด็กได้ลงมือทำเอง ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท