ครูบาบินก้าว
ครูบา บินก้าว อิทธิภาโว จนอีหลีอีหลอ

อนุทิน 127918


ครูบาบินก้าว
เขียนเมื่อ

บันทึก ทางรอดของแผ่นดิน

ถึงเวลาต้องศึกษา โดย ทุกคนจักต้องใจเย็น และ มุ่งทำด้วยหัวใจเปิดกว้าง เพื่อรัฐนาวาไทย จักไม่เกิดความบอบช้ำจากการถูกกระทำ โดย ทุนนิยมสามานต์ ฯลฯ 

 

จากประวัติศาสตร์ แห่งพัฒนาการแบบไทย ก็ยิ่งควรศึกษา ทั้งจุดด้อย จุดดี ในเจตนา นับแต่ ๒๔๗๕ และที่สำคัญ คือ ศึกษาเจตนา ของล้นเกล้า ในหลวงรัชกาล ที่ ๗ ที่ห่วงใยแผ่นดิน

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗

“ ข้าพเจ้าเห็นว่า คณะรัฐบาลและพวกพ้องใช้วิธีการปกครอง ซึ่งไม่เห็นถูกต้องตามหลักการของเสรีภาพในตัวบุคคลและหลักความยุติธรรม ตามความเข้าใจและยึดถือของข้าพเจ้า

ข้าพเจ้าไม่สามารถที่จะยินยอมให้ผู้ใดคณะใด ใช้วิธีการปกครองอย่างนั้นในนามของข้าพเจ้าต่อไปได้ “

“ ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ ผู้ใด คณะใด โดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิ์ขาด และโดยไม่ยอมฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร “

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก
วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗
เวลา ๑๓ นาฬิกา ๔๕ นาที


ในการแสดงสิทธิของประชาชน ในการแสดงออกโดยสงบ ( แม้จะมีบางกลุ่ม ที่เหลืออด ทนไม่ได้แทรกปะปนบ้าง ) เจตนาก็หมายเตือน..ให้สติเพื่อให้บุคคลที่ต้องทำหน้าที่..ทำหน้าที่ ซึ่ง มิได้ สานต่อเจตนาอันเกิดจากการหลงทางไม่คิดฟังเสียงอันแท้จริงของประชาชน หากหลงฟังแต่เสียง เจ้าของเงินที่เลี้ยง ขุน จนเชื่อง อย่างเด่นชัด 

(( อีกเหล่าเจ้าหน้าที่ของรัฐ ฯ ก็ถูกนำมาเป็นเครื่องมือ โดย หลงทาง ลุแก่อำนาจ กล้าออก พรบ.จำกัดสิทธิอันชอบธรรมตามกฏหมายรัฐธรรมนูญ ของประชาชน ร่วมทำผิดหนักเข้าไปอีก ))

เมื่อเกิดการไม่ฟัง.. ไม่ทำหน้าที่ ฯ ที่ควรกระทำ ซ้ำปล่อยให้เกิดความร้ายแล้ว ๆ เล่า ๆ ฯลฯ ประชาชนคนธรรมดา ผู้คือ เจ้าของอำนาจลำดับที่ ๑ นั่นคือ อำนาจของประชาชน จึงขอออกมาประท้วงยืนยันคะแนนเสียง ๑ คน ๑ เสียง จึงจำต้องออกมาใช้สิทธิ์ ออกมาให้สติ อย่างสงบ... 

หากก็เกิดมีมุมมอง ของบางคน ที่ใจยังไม่กว้างพอต่อความงดงามแห่งพัฒนาการประชาธิปไตย...กลับหลงผิดคิดเลยเถิดไปว่า... " คนบางกลุ่มคิดที่จะปฏิวัติประชาชนเพื่อโค่นล้มรัฐบาลทีมาจากการเลือกตั้งของประชาชน " ความคิดแบบนี้...ย่อมเข้าทางของฝ่ายที่ทำผิดเจตนาต่อประชาชน ผิดต่อเจตนาแห่งล้นเกล้า ฯ จึงกลายเป็นการทำร้ายแผ่นดิน บนความทุกข์ของประชาชน โดยตรง 

สรุปว่า ความเชื่อ ความคิด ดังที่กล่าวในแบบนี้ ถือว่า คับแคบไปมาก


ความสำคัญ โดย ลำดับ แห่งความเป็นประชาธิปไตยอันมีประมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แบบเมืองไทย ที่ประชาชนทุกคน จักต้องเพิ่มความเข้าใจ เพิ่มความชัดเจนเพื่อการพัฒนาแผ่นดิน โดย ไม่ตกอยู่วังวนตามที่ถูกครอบงำ ให้หลงเชื่อแบบผิด ๆ มานานที่ว่า ประชาธิปไตย เพียง คือ การที่ประชาชนไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งแล้วจบ...หลังจากนั้น ผู้ที่เป็นตัวแทน หรือ ใครที่มีอิทธิพลนำพาจะนำพาไปอย่างไรต่อ.. ก็ทำอะไรอีกไม่ได้แล้ว อีกทั้งติดคนที่คิดเช่นนั้น ได้ถูกโลกธรรมครอบหงำจนหลงเข้าใจผิดจนยากจะเข้าใจได้โดยง่าย จึงต้องรวมพลังกันมาทำความเข้าใจ

ขอให้มา ศึกษาทำความชัด แห่งพลังอำนาจอันบริสุทธิ์ ในระบอบประชาธิปไตยอันมีประมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ๘ ลำดับขั้น ดังนี้...

- อำนาจลำดับที่ ๑ คือ อำนาจของประชาชน ออกมาประท้วงยืนยันคะแนนเสียง ๑ คน ๑ เสียง

- อำนาจลำดับที่ ๒ คือ พระมหากษัตริย์ ผู้เป็นรัฐาธิปัตย์ตาม Supreme law (อำนาจลำดับที่ ๑ ร่วมกับอำนาจลำดับที่ ๒ เป็นราชประชาสมาสัย) อันนี้สำคัญเพราะมีนิติราชประเพณีแต่โบราณ และ ขนบธรรมเนียมประเพณีของราษฎร ที่กลมกลืนกัน บังเอิญขณะราษฎร์ขัดกับพระมหากษัตริย์ ไม่เป็นราชประชาสมาสัย จึงดำเนินการเป็นประชาธิปไตยไม่สำเร็จ

- อำนาจลำดับที่ ๓ คือ พระมหากษัตริย์ใช้อำนาจนั้นผ่าน ๓ สถาบันคือ สถาบันนิติบัญญัติ (รัฐสภา) บริหาร (ครม.) และตุลาการ (ศาล ฯ) อันนี้เป็นลัทธิตะวันตก ซึ่งถือว่าอำนาจแต่ละอำนาจต้องแยกกันและถ่วงกัน ของไทยปนเปกันหมด สักแต่อ้างกษัตริย์ แต่อำนาจกษัตริย์ตามทฤษฎีและประเพณีประชาธิปไตยตะวันตก รัฐบาลและกฎหมายกับลิดรอนอำนาจกษัตริย์ไปเสียอย่างชิ้นเชิง

- อำนาจลำดับที่ ๔ คือ ประชาชนไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งตามกฎหมาย ในประเทศประชาธิปไตยส่วนใหญ่ไม่บังคับ แต่ส่วนน้อยก็มีบังคับให้ไปเลือกตั้ง

- อำนาจลำดับที่ ๕ คือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร (ส.ส.) ในประเทศประชาธิปไตยต้องไม่บังคับสังกัดพรรค

- อำนาจลำดับที่ ๖ คือ นายกรัฐมนตรี ที่ได้รับการเลือกจาก ส.ส. ในประเทศประชาธิปไตยไม่มีประเทศใดกำหนด ส่วนใหญ่ก็อนุโลมกัน โดยเฉพาะประชาธิปไตยที่มีระบบพรรคเข้มแข็ง ถึงกระนั้นกษัตริย์อังกฤษคือราชินีอลิซาเบธ ก็เลือกคนนอก คือ เซอร์ดักกลาส ฮูมมาเป็นนายกฯเมื่อปี ๑๙๖๕ 

- อำนาจลำดับที่ ๗ คือ คณะรัฐมนตรี ที่นายก ฯ เป็นผู้เลือกมาทำงาน ในประเทศประชาธิปไตย พรรคกำหนดตัวมาให้นายก ฯ เลือกตั้งแต่ยังไม่เลือกตั้ง คือ ผู้นำนโยบายสำคัญต่าง ๆ ที่แข่งขันกันขึ้นมาในพรรค ไม่ต้องเอาว่าคนนั้นคนนี้ เพราะส่วนใหญ่เป็นไปตามสูตร ฯ

- อำนาจลำดับที่ ๘ คือ ข้าราชการ ที่ต้องเป็นกลไกที่เป็นกลาง และมีความสามารถในการนำนโยบายการเมืองมารับใช้ราษฎร มิใช่ หากินกับราษฎรและเอาราษฎรไปรับใช้หรือเป็นเบี้ยล่างการเมือง

 

แง่คิด รัฐอัฐบาล  จาก น้าหงา คาราวาน 

www.youtube.com/watch?v=3in1WHQvCqo

 

 



ความเห็น (2)



พลตำรวจเอก วสิษฐ เดชกุญชร ที่สวนลุม ๑๔ ส.ค. ๕๖

www.youtube.com/watch?v=sDb7IELwVng

 

Duty and responsibility make us reliable and honest. The world worship honesty. (Maybe there is an exception or two ;-)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท