อนุทิน 123331


piekai
เขียนเมื่อ

วันที่ 6 - 7 เมษายน 2556 ในการไปค่ายครั้งนี้เป็นการเข้าค่ายพักแรมที่สนุกมาค่ะ
เราได้ไปตั้งหลายที่ ทำกิจกรรมกันเพียบเลย
แล้วขาไปเราได้ไปขึ้นเรือหลวงจักรีนฤเบศร ชมภายในเรือ
ฟังบรรยายเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา และเก็บภาพบรรยากาศบนเรือด้วย



ประวัติเรือรบหลวงจักรีนฤเบศร          
        เรือรบหลวงจักรีนฤเบศร
จอดเทียบท่าเรือจุกเสม็ด ฐานทัพเรือสัตหีบ เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินขึ้นลงทางดิ่งและ เฮลิคอปเตอร์ ของราชนาวีไทย. เป็นเรือรบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่มีมาในกองทัพเรือไทย. เรือลำนี้ได้ต่อขึ้น ณ อู่ต่อเรือบาซาน เมืองโรตา ในประเทศสเปน และได้เดินทางถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ ๙  สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๐  ในยามปรกติ เรือจักรีนฤเบศร์จะเป็นฐานปฏิบัติ การคุ้มครอง ประโยชน์ของชาติทางทะเล ช่วยเหลือผู้ประสบภัย และรักษาสิ่งแวดล้อมในทะเล. ในยามสงคราม เรือจักรีนฤเบศร์ จะเป็นเรือธง คือ เรือที่ทำหน้าที่ควบคุมและบังคับบัญชากองเรือในทะเล เพื่อควบคุมการปฏิบัติงานป้องกันภัยทางอากาศ, การต่อสู้ทางน้ำ และปราบเรือดำน้ำของผู้ที่เข้ามารุกรานประเทศ

        เรือรบหลวงจักรีนฤเบศร  ได้รับพระราชทานชื่อจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า "จักรีนฤเบศร์" หมายถึง ผู้ยิ่งใหญ่แห่ง ราชวงศ์จักรี เป็นเรือที่ต่อในประเทศสเปน เมื่อปี 2537 เรือลำนี้มีทั้งหมด 11 ชั้น มีความยาว 182 เมตร กว้าง 30.5 เมตร เป็นเรือที่ มียุทโธปกรณ์ที่ทันสมัย มีระบบเรด้าห์ตรวจการณ์ระยะไกล ภารกิจที่สำคัญในยามสงคราม ทำหน้าที่เป็นเรือธง ควบคุมและ บังคับบัญชา กองเรือในทะเลทั้งหมด และยังเป็นเรือบรรทุกเครื่องบิน ควบคุมการปฏิบัติการป้องกันภัยทางอากาศอีกด้วย 

       จากประวัติที่เราทราบมาก็ทำพวกเราอึ้งกันเลย และบนเรือก็สวยมากจริงๆค่ะ

ฉันก็เลยถ่ายภาพสวยๆมาเต็มเลยค่ะ



บนเรือสวยมากๆ ถ่ายมาจากมุมไหนก็สวย



ถ่ายมุมไหนก็สวย 555 



ขนาดวิวถ่ายออกไปจากเรือยังสวยเลย



แอบไปซนในห้องเครื่องก็ยังแอบเก็บภาพสวยๆ มาได้ ที่นี่แจ๋วจริงค่ะ
หลังจากที่เสร็จสิ้นภาระกิจบนเรือเราก็ออกเดินทางกันต่อ

เราไปกันที่พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย
 ตั้งอยู่บนเขาหมาจอ ต.แสมสาร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล  
         

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงมีพระราชกระแสแนะนำแนวทางการสร้างความรู้ความเข้าใจและจิตสำนึก  ในเรื่องเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้แก่เยาวชนไว้หลายครั้งหลายครา  ครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2536 ได้มีพระราชกระแสว่า

"การสอนให้เด็กมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์พืชพรรณนั้น ควรใช้วิธีการปลูกฝังให้เด็กเห็นความงดงามความสนใจ และก่อให้เกิดความปิติที่จะทำการศึกษาและอนุรักษ์พืชพรรณต่อไป  การใช้วิธีการสอน การอบรมให้เกิดความรู้สึกกลัวว่าหากไม่อนุรักษ์แล้วจะเกิดผลเสีย เกิดอันตรายแก่ตนเอง จะทำให้เด็กเกิดความเครียด ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อประเทศในระยะยาว"

ในโอกาสเดียวกันนี้ ยังได้ทรงมีพระราชกระแสเพิ่มเติมด้วยว่า " ตามเกาะต่าง ๆ มีพืชพรรณอยู่มาก แต่ยังไม่มีผู้สนใจเท่าไร จึงน่าจะมีการสำรวจพืชพรรณตามเกาะด้วย"

ต่อมาในปี พ.ศ.2541ได้พระราชทานแนวทางการปฏิบัติแก่กองทัพเรือในการดำเนินงานกิจกรรมสร้างจิตสำนึกของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ฯ ที่เกาะแสมสารว่า ควรพิจารณาปฏิบัติตามรูปแบบของอุทยานแห่งชาติเกาะปอร์กอรอลส์ และเกาะโคร์ส ที่ฝรั่งเศส ซึ่งได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนมาในปี พ.ศ. 2538 และทรงมีความประทับใจในวิธีการให้ความรู้ความเข้าใจในด้านพันธุ์ไม้และระบบนิเวศต่อเยาวชน ในลักษณะที่เป็นพิพิธภัณฑ์มีชีวิต อันก่อให้เกิดความรู้สึกผูกพันกับธรรมชาติ

นอกจากนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ยังได้ฝากงานอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลนี้
ไว้ต่อกองทัพเรือด้วย โดยมีพระราชกระแสต่อผู้บัญชาการทหารเรือ เมื่อ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 ว่า
  “ให้กองทัพเรือทำงานนี้เพื่อความมั่นคงของประเทศ”

อันเนื่องมาจากพระราชกระแสและพระราชดำริหลายครั้งหลายครานี้เองกองทัพเรือจึงมุ่งหน้าดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ที่เกาะแสมสาร และในส่วนของกิจกรรมสร้างจิตสำนึกแก่เยาวชน กองทัพเรือได้พิจารณาจัดตั้ง "พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย" ขึ้นบนฝั่งสัตหีบตรงข้ามเกาะแสมสาร รวมทั้งจัดสร้างสวนพฤกษศาสตร์และเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนเกาะแสมสารเพื่อเป็นสื่อในการสร้างความรู้ความเข้าใจและจิตสำนึกแก่เยาวชนตามแนวทางพระราชดำริในการนี้ได้ทรงมีพระราชวินิจฉัยเห็นชอบและยังพระราชทานแนวทางการดำเนินงานเพิ่มเติมด้วยว่า

- "ควรให้คนเข้าชมพิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่บนฝั่งมากกว่าที่จะไปรบกวนบนเกาะ"

- "ที่เกาะแสมสาร จะทำแบบเกาะปอร์กอรอลส์ไม่ได้ เพราะเกาะของเราเล็ก ฉะนั้นควรให้คนมาดูแล้วกลับไป ไม่มีที่ให้ค้าง"

- "เนื้อหาที่จะจัดแสดง(ในพิพิธภัณฑ์) จะต้องให้เป็นการสอนและปรับปรุงให้ใหม่อยู่เสมอ และควรมีงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง"

กองทัพเรือได้น้อมเกล้าฯ รับพระราชดำริ มาประมวลเป็นรูปแบบการก่อสร้างและหลักการการจัดการพิพิธภัณฑ์ฯจนกระทั่งบัดนี้การก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทยบนฝั่งแสมสาร รวมทั้งสวนพฤกษศาสตร์ และเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนเกาะแสมสารมีความคืบหน้าไปบ้างแล้ว และคาดว่าจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ได้ตามเป้าหมายในปี พ.ศ. 2550 

พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย  ตั้งอยู่ริมทะเลบริเวณเขาหมาจอ ตำบลแสมสาร อำเภอสัตหีบ
จังหวัดชลบุรี ในจุดที่อยู่ตรงข้ามเกาะแสมสาร มีอาณาบริเวณประมาณ 16 ไร่ สิ่งก่อสร้างมีลักษณะเป็นอาคาร
ไต่ระดับเขา ถึงยอดเขา เพื่อให้มองเห็นทัศนียภาพมุมกว้าง ไกล และความลึกของทะเลโดยมุ่งที่จะให้ผู้ชม
เห็นความงดงามของท้องทะเลแล้วเกิดจินตนาการและความปิติที่จะรักษาทรัพยากรธรรมชาติไว้ตามแนวพระราชดำริ

ในหลักวิชาว่าด้วยการพิพิธภัณฑ์ ถือได้ว่าพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทยเป็นพิพิธภัณฑ์ที่สากลเรียกว่า NATURAL HISTORY MUSEUM  อันเป็นสถานที่รวบรวมและจัดแสดงวัตถุธรรมชาติ ทั้งในด้านธรณีวิทยา
พฤกษศาสตร์ สัตวศาสตร์ ทางทะเลเป็นแห่งแรกในประเทศไทย

สำหรับเนื้อหาการจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ รวมทั้งสวนพฤกษศาสตร์และเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนเกาะแสมสาร
จะประมวลมาจากผลการสำรวจเกาะต่าง ๆ ของไทยในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ  
กองทัพเรือ  ตามแนวทางพระราชทานที่ว่า "ให้สำรวจตั้งแต่ยอดเขาถึงใต้ทะเล" โดยคณะปฏิบัติงานวิทยาการ
หรือคณะนักวิชาการหลายสาขาจากหลายสถาบัน ที่อุทิศตนอาสาสมัครเข้ามาปฏิบัติงานร่วมในโครงการฯ
ได้นำตัวอย่างและงานวิจัยในเรื่อง พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ดิน หิน แร่ มาจัดแสดงและต่อไปจะมีการปรับเปลี่ยน
เพิ่มเติมในโอกาสที่เหมาะสมด้วย

ส่วนการศึกษาทรัพยากรชีวภาพและกายภาพในธรรมชาติจริง นอกเหนือจากการชมตัวอย่างในพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ
วิทยาเกาะและทะเลไทยแล้ว ก็จะต้องลงเรือข้ามไปยังเกาะแสมสารซึ่งได้จัดไว้เป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติ (NATURE TRAIL)  สวนพฤกษศาสตร์ ป่าชายเลน และบ่อแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ ทั้งนี้ การเข้าชมในส่วนนี้จะเป็นไปอย่างจำกัด เฉพาะนักวิจัย เยาวชนผู้ด้อยโอกาส และบุคคลที่มีเหตุผลสมควรในด้านการศึกษาตามพระราชดำริ

ส้นทางศึกษาธรรมชาตินี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมมาครั้งหนึ่งแล้วเมื่อคราวเสด็จฯ ทอดพระเนตรความคืบหน้าในการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ กองทัพเรือ ที่เกาะแสมสาร ครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2545 โดยได้ทอดพระเนตรพรรณไม้ เช่น ชำมะเลียงป่า จำปีแขก เปล้าใหญ่ มะค่า ถอบแถบเครือ สังคมของป่าพลอง และพรรณไม้ท้องถิ่นที่มีพืชหลัก คือ แสมสาร สะเดาอินเดีย หยี เกด มะค่า  ทรงสนพระทัยในวิธีการชะลอความชุ่มชื้นด้วยฝายที่เรียกกันว่า  CHECK DAM อันเป็นผลให้ป่าดิบแล้งเกิดความชุ่มชื้นขึ้น  นอกจากนี้ยังสนพระทัยในชีวภาพที่ค้นพบตามเกาะ เช่น หอยนกขมิ้น สัตว์เลื้อยคลานที่สวยงาม นกหายากหลายชนิด หินแร่ และฟอสซิล ในโอกาสเดียวกันนี้ได้ทรงทอดพระเนตรจุดก่อสร้าง พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย บนฝั่งบริเวณเขาหมาจอ จากกล้องส่องทางไกลบนยอดเนินเขาเกาะแสมสารด้วย

ภาพบรรยากาศสวยมากเลยค่ะ



2 ที่ นี้แหล่ะค่ะถ้าไปชลบุรีต้องแวะไปเพราะสวยมากๆเลย



ความเห็น (2)

คุณครูมาให้ดอกไม้กันก่อนเลยนะครับ  ครู Was และ ครูขจิต

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท