อนุทิน 120714


ชยพร แอคะรัจน์
เขียนเมื่อ

วิชา ระบบปลูกพืช Cropping  System

บทที่ 5 การจำแนกเขตภูมิอากาศ และการวิเคราะห์ฝน สำหรับระบบปลูกพืช

5.1 การจำแนกเขตภูมิอากาศ

1.การแจกแจงชั้นของฟ้าอากาศ ( ภูมิอากาศ ) แบบคอปเปน ( The koppen climate classification )

กลุ่ม A ภูมิอากาศเขตร้อน ( Tropical climate )

กลุ่ม B ภูมิอากาศแห้งแล้ง ( Dry climate )

กลุ่ม C ภูมิอากาศเขตอบอุ่น ( Warm temperate climate )

กลุ่ม D ภูมิอากาศเขตหนาว ( Snow climate )

กลุ่ม E ภูมิอากาศแถบขั้วโลก ( Ice climate and polar climate )

5.2 การวิเคราะห์ฝน

มีฝนตกชุกในฤดูฝนโดยทั่วๆไปจะมีค่าปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยประมาณ 1,550 มิลลิเมตร/ปี ในเดือนที่มีฝนตกน้อยที่สุด จะมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยน้อยกว่า 60 มิลลิเมตร/ปี

5.3 ผลของฝนต่อระบบปลูกพืช

1.ทำให้พืชพวกที่ออกดอกติดผล( Fruit crops ) ได้รับความกระทบกระเทือนในขณะที่มีการติดดอกออกผล ( Fruit setting ) เช่น ดอกร่วง ผลแตก เป็นต้น

2.ทำให้พืชพวกที่เป็นพืชใบอวบน้ำ ( Succulant crops ) เช่นผักกินใบต่างๆ เกิดอาการใบบอบช้ำ เกิดบาดแผล ทำให้เชื้อโรคพืชเข้าทำลายได้ง่าย

3.ทำให้พืชพวกที่ไม่ทนต่อน้ำท่วมขัง ( Non - flooding resistant crops ) เช่น ข้าวโพดต่างๆ เกิดอาการเน่าตายได้

5.4 สภาพลมฟ้าอากาศของประเทศไทย( Climates of Thailand )

ประเทศไทยตั้งอยู่ระหว่างเส้นละติจูด 5 - 20 องศาเหนือและเส้นลองติจูด 96 - 106 องศาตะวันออก มีสภาพลมฟ้าอากาศดังนี้

1.อุณหภูมิ

อุณภูมิสูงสุดในฤดูร้อนจะอยู่ระหว่าง 33 - 38 องศาเซลเซียส อุณภูมิต่ำสุดในฤดูหนาวจะอยู่ระหว่าง 10 - 20 องศาเซลเซียส ซึ่งจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละภาค

2.แสงแดด

จำนวนชั่วโมงที่มีแสงแดดของประเทศไทยจะเปลี่ยนแปลงไม่มากนักในแต่ละรอบปี คือในฤดูหนาวจะน้อยกว่า 12 ชั่วโมง/วันเพียงเล็กน้อย ส่วนในฤดูร้อนจะมากกว่า 12 ชั่วโมง/วันเพียงเล็กน้อยเช่นกัน คือไม่เกินประมาณ ครึ่งชั่วโมง

3.ลม

ลมฟ้าอากาศของประเทศไทย อยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุม 2 ชนิด คือ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งทำให้เกิดฤดูกาลได้ 3 ฤดู คือ

1.ฤดูร้อน อยู่ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายน

2.ฤดูฝน อยู่ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม

3.ฤดูหนาว อยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนมกราคม

ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ

จะพัดอยู่ในระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนกุมภาพันธ์ จะนำเอาอากาศเย็นและแห้ง จากจีนแผ่นดินใหญ่เข้าสู่ประเทศไทย ทำให้ภาคเหนือ และตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศหนาวจัด

ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้

จะพัดอยู่ในระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม จะนำเอาอากาศที่อุ่นและชื้นจากมหาสมุทรอินเดียเข้าสู่ประเทศไทย ทำให้มีฝนตกชุกโดยทั่วไป โดยทางตอนเหนือของประเทศ ฝนจะตกชุกระหว่างเดือนสิงหาคม และเดือนกันยายน ส่วนทางตอนใต้ของประเทศฝนจะตกชุกใน เดือนตุลาคม

นอกจากนี้ ยังมีกระแสลมอีกกระแสหนึ่ง ที่พัดแล้วนำลมร้อนจากทะเลจีนใต้ เข้าสู่ประเทศไทยทางทิศใต้หรือตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งในระยะนี้ก็ตรงกับระยะที่ดวงอาทิตย์เลื่อนเข้ามาอยู่ในแนวเส้นรุ้ง ( เส้นนอน ) ที่ประเทศไทยตั้งอยู่ จึงทำให้เป็นระยะที่มีความร้อน อบอ้าวมาก และเป็นฤดูร้อน

5.5 ผลของสภาพลมฟ้าอากาศต่อระบบปลูกพืช

1.ถ้าสภาพลมฟ้าอากาศในช่วงการเพาะปลูกพืชนั้นไม่เหมาะสม - การปลูกพืชจะไม่ได้ผลดี แต่จะทำให้ได้ราคาดีในท้องตลาด เพราะมีผลผลิตออกสู่ตลาดได้น้อย

2.ถ้าสภาพลมฟ้าอากาศในช่วงการเพาะปลูกพืชนั้นเหมาะสม -การปลูกพืชจะได้ผลดี แต่จะทำให้ไม่ได้ราคาดีในท้องตลาด เพราะมีผลผลิตออกสู่ตลาดได้มาก

----------------------------

(ชยพร แอคะรัจน์)



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท