อนุทิน 120710


ชยพร แอคะรัจน์
เขียนเมื่อ

วิชา ระบบปลูกพืช Cropping  System

บทที่ 3 ประเภทของระบบปลูกพืช

3.1.ระบบการปลูกพืช แบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท

1.การปลูกพืชซ้ำ ( หรือการปลูกพืชเดี่ยว )

2.การปลูกพืชหมุนเวียน ( หรือการปลูกพืชตามลำดับ )

3.การปลูกพืชแซม ( หรือการปลูกพืชแทรก )

4.การปลูกพืชเหลื่อมฤดู

5.การทำไร่นาสวนผสม

3.2.การปลูกพืชซ้ำ ( Monoculture หรือ sole cropping หรือ continuous cropping )

การปลูกพืชชนิดเดียวกัน ซ้ำลงไปในพื้นที่เดิม เป็นเวลานาน

ตัวอย่างเช่นการปลูกข้าว ทั้งนาปี และนาปรัง ในพื้นที่เดิมทุกๆปี หรือการทำไร่มันสำปะหลัง ในพื้นที่เดิมหลังเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังไปแล้วทุกๆ ปี เป็นต้น

3.3.การปลูกพืชหมุนเวียน ( Crop rotation )

การปลูกพืชหลายชนิด หมุนเวียนผลัดกันไป ในพื้นที่เดียวกัน

โดยจะปลูกพืชเพียงหนึ่งพืชต่อหนึ่งฤดู และจะไม่ปลูกพืชชนิดเดียวกันนี้ซ้ำ ในฤดูที่ถัดไป

3.4.การปลูกพืชแซม ( Intercropping )

การปลูกพืชตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปพร้อมๆกัน ในพื้นที่เดียวกัน โดยการปลูกเป็นแนวแถวที่สลับกันไป ซึ่งพืชที่นำมาปลูกร่วมกันนั้น อาจจะเป็นพืชประเภทเดียวกัน เช่น พืชไร่กับพืชไร่ หรือพืชต่างประเภทกัน เช่น ไม้ผลกับพืชผัก ก็ได้

ตัวอย่างเช่น การปลูกข้าวโพดเป็นพืชหลัก ( Main crop หรือ major crop ) แล้วแซมด้วยถั่วเขียวเป็นพืชรอง ( Subcrop หรือ minor crop )

หลักในการเลือกพืชรอง

1.ต้องไม่เป็นพืชที่มีความต้องการใช้ปุ๋ย หรือธาตุอาหารชนิดเดียวกันกับพืชหลัก

2.ต้องไม่เป็นพืชอาศัยของศัตรูพืชชนิดเดียวกันกับพืชหลัก

3.ต้องไม่เป็นการบังแสงแก่พืชหลัก ยกเว้นปลูกเพื่อให้ร่มเงาแก่พืชหลัก

4.ต้องไม่เป็นพืชที่มีความสามารถในการแข่งขันกับพืชหลักได้สูง

5.ต้องไม่เป็นพืชที่ปลดปล่อยสารพิษที่ชะลอการเจริญเติบโตของพืชหลัก

3.5.การปลูกพืชเหลื่อมฤดู ( Multiple cropping )

การปลูกพืชหลายๆชนิด ลงบนพื้นที่เดียวกัน

โดยเมื่อใกล้เก็บเกี่ยวพืชชนิดแรก ก็จะทำการปลูกพืชชนิดที่สองเลย

3.6.การทำไร่นาสวนผสม ( Mixed farming )

การปลูกพืชหลายชนิด คละกันไป ร่วมกันกับการเลี้ยงสัตว์ และการประมงด้วย ในพื้นที่เดียวกัน

ตัวอย่างเช่น ในพื้นที่ทั้งหมดนั้น ได้แบ่งเป็นพื้นที่ย่อยๆ ดังต่อไปนี้ คือ

1.ทำนาข้าว

2.ขุดบ่อเลี้ยงปลา

3.มีคอกสัตว์ เลี้ยงสุกร

4.มีแปลงพืชผักต่างๆ

5.มีไม้ผล เช่น มะม่วง ขนุน ฯลฯ รอบๆบ่อปลา และบริเวณพื้นที่ทั้งหมดโดยรอบ เป็นต้น

ข้อดีของการทำไร่นาสวนผสม

1.เกษตรกรมีงานทำตลอดปี ทำให้ไม่ว่างงาน

2.มีรายได้จากหลายทาง และมีรายได้สม่ำเสมอ ตลอดปี

3.เกิดความรู้ ความชำนาญ ตลอดจนประสบการณ์หลายอย่าง เพราะมีโอกาสได้ทำงานหลายๆชนิด หลายๆสาขา

4.ลดการเสี่ยงจากการขาดทุน หรือล่มจม

5.ทำให้ครอบครัวมีรายได้เพิ่มขึ้น

6.สะดวกในการจ้างคนงานประจำฟาร์ม เพราะมีงานให้ทำตลอดปี

7.สามารถใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์ได้เต็มที่ ทำให้ประหยัดเนื้อที่ทำการเกษตร

8.ดินได้รับการบำรุงไปด้วยในตัว จากการปลูกพืชหมุนเวียน หรือปุ๋ยคอกจากสัตว์

9.มีรายได้เพิ่มขึ้นจากผลผลอยได้ ( By – products )

ข้อเสียของการทำไร่นาสวนผสม

1.เลือกทำเลค่อนข้างยาก เพราะต้องใช้พื้นที่ทำกิจการหลายๆอย่าง

2.กวดขันการรั่วไหลของรายได้จากฟาร์มยาก

3.ใช้ทุนมาก

4.ยากแก่การจัดการและบริหารงาน

5.ผู้ดำเนินกิจการต้องมีความรู้ ความชำนาญ และประสบการณ์หลายๆด้าน

3.7.การทำเกษตรผสมผสานตามแนวทฤษฎีใหม่ ( พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว )

เป็นการจัดการในพื้นที่ทั้งหมด ด้วยหลักการระบบ 30 : 30 : 30 : 10 โดยแยกเป็น

1.ขุดบ่อ ( เลี้ยงปลา ) 30 %

2.ทำนา 30 %

3.ไม้ผล 30 %

4.ที่อยู่อาศัย และพืชผัก 10 %

การประยุกต์ใช้ ขั้นที่ 1

-กินในสิ่งที่ปลูก ปลูกในสิ่งที่กิน

การประยุกต์ใช้ ขั้นที่ 2

-นำสิ่งที่เกิน แลกเปลี่ยนสิ่งที่ขาด

การประยุกต์ใช้ ขั้นที่ 3

-รวมสิ่งที่เหลือไปจำหน่ายในท้องถิ่น

การประยุกต์ใช้ ขั้นที่ 4

-ครัวไทยสู่ครัวโลก

----------------------------

(ชยพร แอคะรัจน์)



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท