อนุทิน 120311


สง่าวุฒิ โพธา
เขียนเมื่อ


                   “ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอเมืองอุบลราชธานี”

                                 MuangUbonratchathani Non-Formal and Informal Education


ศูนย์ กศน.อำเภอเมืองอุบลราชธานี กับการจัดการความรู้ (Knowledge Management) ในปัจจุบัน..

๑.  รวบรวม/แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ร่วมกัน ณ จุดศูนย์กลาง (ศูนย์ กศน.อำเภอเมืองอุบลราชธานี)

๒.  กระจายความรู้/การศึกษาให้ครอบคลุมในทุก ๆตำบล (รวม ๑๒ ตำบล) โดยมอบหมายหน้าที่ให้

      ครู กศน.ตำบล บริหารจัดการ/รับผิดชอบนักศึกษาภายในพื้นที่ในความรับผิดชอบของตนเอง

๓.  กลุ่มงานต่าง ๆ ได้มีการรวบรวมองค์ความรู้เพื่อแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันระหว่างกลุ่มงาน  

      (ในรูปแบบของแฟ้มเอกสาร)

๔.  มีการจัดกิจกรรม/แลกเปลี่ยนความรู้ต่างๆ ไว้ในส่วนของ “ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี  

      “ศูนย์ความรู้กินได้” เพื่อเชื่อมโยงในเรื่องการสนับสนุนให้เกิดนิสัยการ “รักการอ่าน” มากยิ่งขึ้น

๕.  มีระบบสารสนเทศเพื่อช่วยในเรื่องของการแลกเปลี่ยนความรู้/เชื่อมโยงระบบข่าวสารเข้าด้วยกัน

      (ในลักษณะของลิ้งค์เชื่อมโยงกับข้อมูลต่างๆ)


               *****************************************************************************************

                   การประยุกต์ใช้งานระบบ IT และการจัดการความรู้ (KM)  เพื่อประโยชน์สูงสุด ...

               *****************************************************************************************

๑.  จัดทำระบบการรวบรวม/จัดเก็บข้อมูล/บริหารจัดการองค์ความรู้ด้านต่างๆไว้ด้วยกัน ณ จุดเดียว

      (Centralized Management) ในลักษณะของระบบการบริหารจัดการแบบ Client/Server

๒.  จัดทำระบบการบริหารจัดการองค์ความรู้ด้านต่างๆ แบบมีส่วนร่วม (ParticipationManagement)

       เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ อย่างมีส่วนร่วมร่วมกัน

๓.  มีการนำระบบ IT มาประยุกต์ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด ดังนี้…

          ๓.๑ จัดทำระบบฐานข้อมูลกลาง (Database Server) เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล/Upload/Download

                 ข้อมูลต่าง ๆ ทั้งหมดให้อยู่ในรุปแบบ Digital เพื่อใช้งานร่วมกัน

          ๓.๒ จัดทำระบบการเรียนการสอนผ่านเว็บไซต์เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ต่างๆ  

                  ระหว่างครูผู้สอนกับนักศึกษา(อย่างต่อเนื่อง-ตลอดเวลา)

         ๓.๓ จัดทำเว็บไซต์ กศน.ตำบล ทั้ง ๑๒ ตำบล เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารถึงกันได้ตลอดเวลา

         ๓.๔ จัดทำระบบเชื่อมโยงข้อมูลในระดับตำบลเข้ากับห้องสมุดประชาชนฯ ในเรื่องขององค์ความรู้  

                 เพื่อจัดเก็บ/แลกเปลี่ยนความรู้ ในเรื่องของภูมิปัญญาท้องถิ่น และปราชญ์ชาวบ้าน เข้าไว้ด้วยกัน

         ๓.๕ มีการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารในลักษณะของ Social Network ร่วมกันระหว่าง บุคลากร

                ครูผู้สอนกับนักศึกษาไว้ด้วยกัน เพื่อเป็นการเรียนรู้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ติดตาม ประเมินผล

                ร่วมกัน และเป็นการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ให้เกิดประโยชน์สูงสุดร่วมกัน.


                           **************************************************************


ด้วยความเคารพอย่างสูง

นายสง่าวุฒิ  โพธา





ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท