อนุทิน 118018


ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

"ทรัพย์" นั้น บางท่านคิดว่ามีเกินพอไว้ก่อนน่าจะดี

เป็นหลักคิดของการมีชีวิตอยู่กับความ "เสี่ยง"

เช่น พ่อแม่ผมจะเก็บข้าวไว้ในยุ้งให้มากที่สุด ที่มีโอกาส
จะขายข้าว ก็ต่อเมื่อมั่นใจว่ามีข้าวใหม่และจำนวนมากกว่ามาแทน

เพราะบ้านผมมีนาเพียง 4 ไร่ บางปีแล้ง บางปีท่วม

จึงต้องเก็บสำรองเพื่อความมั่นใจ
...


หรือ
ความคิดแบบชาวเกาะ ที่ต้องมีชีวิตเสี่ยงกับการขาดอาหาร และเดินทางไกลๆ โดยไม่มีอาหาร จะมีความคิดและนับถือว่า "คนอ้วน" เป็นคนที่มีความปลอดภัยในชีวิตสูง

บางคนอาจได้รับแนวคิดนี้มาโดยไม่ปรับใช้

สะสมทรัพย์สินเกินความจำเป็น
สะสมไขมันแบบไม่มีโอกาสได้ใช้

ข้อเสียเบื้องต้นคือ ทำให้ตัวเองลำบาก ยุ่งยาก
ข้อเสียทางสังคม คือการเอาเปรียบคนอื่น

สิ่งที่คนอื่นควรจะได้ใช้ตามความจำเป็นของเขา เราเอามายึดครองไว้

ที่เป็นการเปลือง และทำลายทรัพยากรโดยรวมได้อย่างมากมาย

เมื่อทุกคนทำเช่นนั้น
ก็แข่งกันสะสม และแข่งกันทำลาย

แล้วสังคมและทรัพยากรโดยรวมจะอยู่ได้อย่างไร

คิดไม่ออก ขอคิดดังๆ จะได้มีคนช่วยคิดบ้างครับ

อิอิอิอิอิอิ


ความเห็น (3)

ได้ยินความคิดของอาจารย์แล้วครับ  อยากให้พ่อแม่เด็กทั้งหลายหรือครูบาอาจารย์เข้าใจความคิดนี้แล้วช่วยถ่ายทอดไปยังเด็กและเยาวชนให้ได้มากที่สุดต่อไปครับ

หลักความพอเพียง แตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากความยากจนครับ

 

คนชอบคิดว่าเป็นเรื่องเดียวกันครับ

ที่จริงนั้น ตรงข้ามกันเลย และยังตรงกันข้ามกับความฟุ่มเฟือยด้วยครับ

 

เป็นสามเส้าเลยครับ

It is difficult to tell people "not to keep some for later on" when resources are low and not enough for everyone.  

Excessive hoarding comes about because of "trade" and "money" (in number).

{I have just done my thinking exercises on "air" when air is like water or food or necessity in short supply. I do recommend thinking about air.}

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท