ตัวชี้วัดความสำเร็จ และจริยธรรมที่น่าจะใช้ในการเรียนรู้พระเครื่อง
การเข้าสาระบบตลาดพระใหม่ๆ เราจะสับสนมาก ดูอะไรไม่ออกทั้งนั้น ต้องคลำทางกันนานทีเดียว กว่าจะเริ่มเข้าทางที่เป็นจริงและมีประโยชน์ โดยผมพบว่าจากประสบการณ์ตรงของตัวผมเองมีลำดับในการพัฒนาตัวเอง ในการดูพระแต่ละเนื้อ แต่ละชุด มีตัวชี้วัดความสำเร็จจริงๆ ดังนี้
ขั้นที่ 1 ไปที่ไหนก็เห็นแต่พระเก๊
ขั้นที่ 2 นานๆจะได้แท้ๆมาสักองค์ หยิบมาแบบกึ่งรู้กึ่งบังเอิญ
ขั้นที่ 3 เพิ่งหยิบแท้ดูยากมาได้แล้ว หยิบมาแบบแยกแยะเก๊แท้ได้ ไม่บังเอิญ
ขั้นที่ 4 ดูจุดแยก แท้-เก๊ ได้แล้วบอกคนอื่นได้ อธิบายได้อย่างง่ายๆ
ขั้นที่ 5 ไม่เก็บ ไม่ใช้พระเก๊ในกลุ่มนั้นๆ
ขั้นที่ 6 แยกอายุพระแท้ในกลุ่มนั้นได้
ขั้นที่ 7 แยกพิมพ์แยกเนื้อได้
ขั้นที่ 8 แยกเกรดพระแท้ได้
ขั้นที่ 9 แยกมาตรฐานราคาได้
ขั้นที่ 10 แจกจ่าย ปล่อยหรือแลกเปลี่ยนเป็นธรรม ยุติธรรม แบบไม่มีวิชามาร
ถ้าตกข้อใดข้อหนึ่ง ผมถือว่ายังไม่ผ่านในพระนั้น เนื้อนั้นๆครับ
พระรอดกรุมหาวันกับพระรอดหลวงต่างกันตรงไหนครับ
ไม่ทราบว่าพระรอดทั้งสองเป็นแบบเดี่ยวกันหรือไม่ ขอบคุณครับ
คนละเรื่องกันเลยครับ ไปค้นที่ไหนก็มีครับ ยุคนี้อะไรก็ง่ายไปหมดครับ