อนุทิน 114509


P. Rinchakorn
เขียนเมื่อ

   ...ผมเคยตอบคำถามลูกชายในเรื่องเดียวกันแต่เป็นคนละคำตอบ...

   ครังแรก...ตอบด้วยอารมณ์ที่หงุดหงิด...ตอบให้ผ่าน ๆ ไป...

   ครั้งที่สอง...ตอบด้วยเหตุและผล

   ลูกชายเลยสงสัยถามว่า “พ่อ...ทำไมไม่เห็นเหมือนกับตอนที่ตอบหนูครั้งแรกเลย”

   ผมจึงได้ฉุกคิด... คำถามที่น่ากลัวที่สุด...คือคำถามของลูกชาย (ผมเอง)?”…

   และสัญญากับตัวเองว่า...ความผิดพลาดจะต้องไม่ได้รับอนุญาตให้เกิดขึ้นอีก.



ความเห็น (8)

ทบทวนด้วยสติจริง ๆ ครับผม ;)...

 

รูปการ์ตูนคุณพ่อหล่อเชียวค่ะ น้องโจ้ อดชมความเห็นก่อนไม่ได้

มาช่วยเสนอแนะคุณพ่อจัตุเศรษฐธรรม ว่า บอกลูกได้นะคะว่าทำไมเราถึงตอบไม่เหมือนกัน พี่โอ๋เชื่อว่าการที่เราแสดงให้ลูกเห็นว่า เราทำผิดแล้วเราขอโทษและพยายามแก้ไข อธิบายแบบสบายๆให้ลูกได้รู้ว่า สิ่งที่เราแสดงตอนเราหงุดหงิดต่างจากตอนที่เรามีเหตุผลยังไง ถามความเห็นลูกด้วยก็ได้ว่าเขาเห็นว่าเราในสองแบบนี้เป็นยังไง เราควรจะจัดการตัวเองอย่างไรถ้ากำลังหงุดหงิดแล้วต้องตอบคำถามคนอื่น ฯลฯ เป็นการทำให้ลูกรู้ว่า เราคุยกันได้ เวลาเขาหงุดหงิดเขาจะได้นึกถึงวิธีการแบบนี้ได้ เด็กๆเขาคิดเก่งค่ะ เราเพียงแต่พูดให้ง่ายๆตรงกับวัยเขาเท่านั้นเอง 

ขอบพระคุณ อาจารย์Wasawat มากครับที่แวะมาให้กำลังใจอยู่เสมอ...:)

ขอบพระคุณ พี่ชลัญธร มากครับสำหรับรูปการ์ตูนที่นำมาฝาก...ชอบมากครับ...:)

ขอบพระคุณ พี่โอ๋ - อโณ มากครับ...สำหรับคำแนะนำดี ๆ ที่พี่มีมาฝาก...ประทับใจผมมากครับ...:)

ยินดีกับลูกชายด้วยค่ะที่คุณพ่อเห็นความสำคัญของการตอบบคำถามเช่นนี้..

ขอบพระคุณ อาจารย์พี่ใหญ่ มากนะครับที่แวะมาให้กำลังใจอยู่เสมอ... :)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท