อนุทิน 113819


P. Rinchakorn
เขียนเมื่อ

      “... ทัศนคติที่ดีของมนุษย์ต่อธรรมชาตินั้น ไม่ควรจะหยุดเพียงแค่เลิกมองตนเองแยกต่างหากจากธรรมชาติ และเลิกคิดจะพิชิตจัดการกับธรรมชาติโดยชอบใจ แล้วมองตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ และจะต้องมีชีวิตที่สอดคล้องกลมกลืนกับธรรมชาติเท่านั้น เพราะนั่นยังเป็นทัศนคติกึ่งเชิงลบและเฉื่อยชา

         แต่ควรจะก้าวต่อไปถึงขั้นแสดงศักยภาพของมนุษย์ในทางที่ตรงข้ามจากเดิม กล่าวคือ ก่อนหน้านี้ มนุษย์วัดความสามารถของตนด้วยการที่เอาชนะธรรมชาติและจัดการกับธรรมชาติได้ตามปรารถนา ต่อไปนี้มนุษย์มองเห็นแล้วว่าการทำได้อย่างนั้นไม่ใช่เป็นความสามารถที่แท้จริงอันน่าภูมิใจแต่อย่างใดเลย ความสามารถที่แท้จริงของมนุษย์ก็คือการทำให้โลก ซึ่งเคยมีการเบียดเบียนกันมากให้เบียดเบียนกันน้อยลง ทำให้โลกที่มนุษย์และสรรพชีพเคยพออยู่กันได้ สามารถอยู่กันได้ดียิ่งขึ้น อย่างเกื้อกูลกันมากขึ้น...

 

          จากหนังสือ “การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) โดย พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) หน้า : ๒๕๗.



ความเห็น (3)

หากร่วมมือกันโลกเราจะน่าอยู่ สวยงาม และมีการเบียดเบียนกันน้อยลงนะคะ

สาธุค่ะ

อยู่กับธรรมชาติอย่างเป็นมิตร..สร้างสุขสมดุลแห่งความพอเพียงอย่างยั่งยืนค่ะ

เห็นด้วยกับ คุณปริมและอาจารย์พี่ใหญ่ ครับ

         ขอบพระคุณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท