อนุทิน 113774


นางสาว สุกัญญา สุวรรณศรี สุวรรณศรี
เขียนเมื่อ

เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในโลก อินเทอร์เน็ตมีพัฒนาการมาค่อนข้างยาวนานจาก อพาเน็ต(ARPANET) ในปีพ.ศ. 1512 โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกาเพื่อเชื่อมโยงศูนย์งานวิจัยของมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา

เครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีการกำหนดคอมพิวเตอร์หลักที่ต่ออยู่บนเครือข่ายให้มีหมายเลขประจำเหมือนกับหมายเลขโทรศัพท์ หมานเลขนี้จะเป็นเอกลักษณ์ไม่ซ้ำกัน เช่น เครื่องนนทรีใช้หมายเลข 158.108.2071 รหัสประจำเครื่องที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้นี้อาจยุ่งยากต่อผู้ใช้เพราะมีตัวเลขหลายตัว จึงมีการสร้างชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ในหลักสากลเพื่อให้มีชื่อเรียกเป็นที่เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น เช่น nontri.ku.ac.th

  1. ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายเหมือนเครือข่ายโทรศัพท์ที่เชื่อมโยงเข้าหากันได้ทั่วโลก ด้วยเหตุนี้การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์จึงทำได้ในทุกเครือข่ายทั่วโลก การใช้ประโยชน์จากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีมากมาย เช่น

1.1 ไปรษณีอิเล็กทรอนิกส์ เป็นสิ่งที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง สามารถส่งข่าวสารถึงกันได้ทั่วโลก มีแนวโน้มการขยายตัวและจำนวนผู้ใช้อย่างรวดเร็ว มีความเร็วในการส่งข้อมูลมากกว่าการส่งทางไปษณีย์ปกติ

1.2 การสนทนาแบบเชื่อมตรง ผู้ใช้งานบนเครือข่ายสามารถคุยกับผู้อื่นโดยโต้ตอบผ่านทางจอภาพและแผงแป้นพิมพ์อักขระ การพูดคุยผ่านทางตัวหนังสือมีความชัดเจนและเข้าใจกันได้

1.3 การค้นหาข้อมูล คอมพิวเตอร์มีแฟ้มข้อมูลจำนวนมาก ข้อมูลเหล่านั้นเป็นข้อมูลที่สะสมและเก้บจากหลายๆผู้ใช้ และมีบางส่วนที่ต้องการเผยแพร่โดยไม่คิดค่าเอกสาร หนังสือ หรือแม้แต่โปรแกรมคอมพิวเตอร์จำนวนมากได้รับการจัดเก็บและเผยแพร่แก่ผู้สนใจที่อยู่ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้งานทุกคนมีสิทธิ์ที่จะเข้าถึงข้อมูลที่เจ้าของอนุญาตให้สำเนา มีการจัดตั้งผู้สนใจเฉพาะด้านกันมาก เมื่อมีกลุ่มก็มีการวบรวมข้อมูลและเก็บข้อมูลแหล่งใหญ่มาก

1.4 กระดานข่าว บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีการจัดตั้งกระดานข่าวมากกว่า 2000 กลุ่ม ทุกๆวันจะมีผู้ส่งข่าวสารกันผ่านทางกระดานข่าว กระดานข่าวส่วนใหญ่แบ่งเป็นกลุ่ม เช่น กลุ่มผู้สนใจดนตรีก้มีการฝากเพลงหรือเรื่องราวเกี่ยวกับดนตรี หรือกลุ่มวัฒนธรรมต่างๆ

1.5 เกมและนันทนาการ มีการเล่นเกมบนเครือข่าย เกมที่รู้จักกันดีคือ เกมเอ็มยูดี (Multi User Dungeon : MUD) เกมผจญภัยต่างๆที่เล่นบนเครือข่ายและมีการสนทนาโต้ตอบกัน

  1. อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยได้เชื่อมโยงโดยสมบูรณ์เข้ากับอินเทอร์เน็ต คือ จุฬาลงกรณืมหาวิทยาลัย โดยเชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์หลัก chulkn.chula.ac.th เข้ากับเครือข่าย หลังจากนั้นอีกต่อมา 1 ปี ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติซึ่งเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงเครือข่ายไทยสารซึ่งเป็นเครือข่ายข่าวเชื่อมโยงของมหาวิทยาลัยต่างๆเข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

ในปัจจุบันเครอข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเชื่อมโยงสู่ต่างประเทศสองทางคือ ทีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และที่ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

  1. ทรัพยากรอินเทอร์เน็ต

จากการเชื่อมโยงไมโครคอมพิวเตอร์สามารถหมุนโทรศัพท์ผ่านโมเด็มและสายโทรศัพท์เข้ามายังเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและใช้งานได้ เครื่องคอมพิวเตอร์จึงมีบทบาทในการเป็นสถานีปลายทางโดยผู้ใช้ที่อยู่ในที่ต่างๆ หากต่อเชื่อมกับเครือข่ายแล้วก็สะดวกในการใช้งานเพราะสามารถเข้าสู่เครือข่ายได้ทันที และสามารถใช้งานในรูปแบบต่างๆได้สะดวก เช่น ใช้ในการส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ในการเรียกค้นหาข้อมูล ตลอดจนการใช้ทรัพยากรอื่นๆบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีเป็นจำนวนมาก

เพื่อให้เห็นภาพของการใช้ทรัพยากรบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จึงขอเสนอลักษณะของทรัพยากรบนอินเทอร์เน็ตที่ผู้ใช้เรียกใช้ได้ซึ่งมีหลายรูปแบบ

3.1 ระบบบริการสาสนเทศบริเวณกว้าง บริษัทชั้นนำทางคอมพิวเตอร์หลายบริษัท เช่น Apple ; Thinking Maehine ; Dow Jone และ KPMG Peat Marwich ได้ร่วมพัฒนาระบบสารสนเทศ บริเวณกว้าง Wide Area Information Servece : WAIS และนำออกมาใช้ประโยชน์บนอินเทอร์เน็ต

ลักษณะของระบบบริการสารสนเทศบริเวณกว้างเป็นการรวมศูนย์ข้อมูลที่อยู่บนเครือข่ายจำนวนมากเข้าไว้ด้วยกันเพื่อผู้ใช้สะดวกในการค้นหาข้อมูล

เนื่องจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีฐานข้อมูลกระจัดกระจายอยู่หลายแห่ง หากให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลต้องแยกค้นไปยังฐานข้อมูลต่างๆจะไม่สะดวก การดำเนินการของระบบบริการสารสนเทศบริเวณกว้างจึงจำเป็น ทำให้ผู้ใช้มองเห็นว่ามีฐานข้อมูลอยู่เพียงแห่งเดียวโดยระบบนี้จะทำการค้นหาข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการตามฐานข้อมูลต่างๆให้โดยอัตโนมัติ

การใช้งานระบบบริการสารสนเทศบริเวณกว้างบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจึงเป็นเรื่องสะดวก ปัจจุบันมีให้เรียกค้นหาหลายที่ เช่น บนเครื่องThink.com นอกจากนี้ยังมีการให้บริการค้นด้วยระบบตัวเชื่อมประสานหลายแบบตามลักษณะของผู้ขอบริการ

3.2 ปัญหาในเรื่องของการเก็บแฟ้มข้อมูลข่าวสารไว้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆที่อยู่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีเป็นจำนวนมาก ผู้ใช้เรียกค้นไม่ถูกว่ามีข้อมูลอยู่ในเครื่องใดบ้าง ระบบอาร์ซี (Archie) เป็นระบบที่พัฒนาโดยอลัน เอมเทค (Aran Emtage) และปีเตอร์ ดูทช์ (Peter Deutsch) แห่งมหาวิทยาลัยแมกกิลล์ (McGill) ซึ่งเป็นระบบการเรียกค้นหาข้อมูล และดำเนินการตามขั้นตอนการโยกย้ายแฟ้มข้อมูล (File Transfer Protocol : FTP) ได้

ผู้ใช้อาร์ซีจะทำตัวเสมือนเป้นเครื่องผู้ใช้บริการเรียกเข้าไปยังบริการอาร์ซีเพื่อค้นหาข้อมูลที่ตนเองต้องการว่าเก็บไว้สถานที่ใด เพราะบริการอาร์ซีได้รวบรวมชื่อแฟ้มและสถานที่เก็บแฟ้มข้อมูลรวมซึ่งอยู่กระจัดกระจาย จึงทำให้ผู้เรียกค้นได้เสมือนเป็นการเปิดสารบัญดูก่อนว่าข้อมูลที่ต้องการอยู่ที่ใด จากนั้นเรียกค้นไปยังสถานที่ที่ต้องการเพื่อทำการโยกย้ายแฟ้มข้อมูลต่อไป

3.3 ระบบโกเฟอร์ ระบบโกเฟอร์ (Gopher) ได้รับการพัฒนาโดยมหาวิทยาลัยมินเนโซตา (Minnesota) โดยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลเป็นลำดับขั้นตามเมนูที่กำหนด ฐานข้อมูลที่จะเรียกค้นเป็นฐานข้อมูลแบบกระจายที่เชื่อมต่อกัน การเรียกจากเมนูทำให้การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นลำดับ ฐานข้อมูลแต่ละเครื่องบนเครือข่ายจะเชื่อมต่อเข้าหากัน เช่น เรียกข้อมูลเกี่ยวกับประเทศไทย ก็เชื่อมมาที่เครื่องหลักเครื่องใดเครื่องหนึ่งในประเทศ จากนั้นจะกระจายไปยังฐานข้อมูลอื่นตามลักษณะการเรียกค้น หน่วยงานต่างๆที่มีข้อมูลและคิดว่าข้อมูลของตนจะเป็นประโยชน์ สามารถสร้างระบบเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบโกเฟอร์เพื่อให้ผูอื่นเรียกใช้ได้ ระบบโกเฟอร์เป็นเกณฑ์วิธีพิเศษที่สร้าขึ้นมาบน TCP/IP โกเฟอร์ที่รู้จักกันดีอยู่ที่เครื่อง micro.umn.edu เป็นเครื่องของมหาวิทยาลัยมินเนโซตา ระดับบนสุดของโกเฟอร์จะให้รายละเอียดต่างๆที่วิ่งค้นหาข้อมูลลงไปในระดับล่างได้

3.4 เวิลด์ไวด์เว็บ (World wide web : WWW) เป็นการใช้หลักการของข้อความหลายมิติ (Hypertext) พัฒนาขึ้นโดยบริษัทเซิร์น (CERN) แห่งประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โครงส้รางของเวิล์ดไวด์เว็บ ใช้หลักการเครื่องบริการของผู้ใช้โดยให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลเอกสารจากแฟ้มข้อความในรูปแบบข้อความหลายมิติโดยมีข้อกำหนดเกณฑ์วิธีการจัดเก็บแบบข้อความและเชื่อมโยงกันแบบข้อความหลายมิติ ปัจจุบันมีเครื่องบริการแฟ้มข้อมูลที่ทำหน้าที่ให้บริการเวิลด์ไวด์เว็บมากมาย

เท่าที่กล่าวมานี้เป็นการแนะนำให้เห็นสถาปัตยกรรมระบบหลักๆของอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายทั่วโลก และนับวันจะเติบโตยิ่งขึ้น จนเชื่อแน่ว่าในที่สุดอินเทอร์เน็ตจะเป็นเครือข่ายที่ทุกคนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย และจะเป็นการเชื่อมโยงคนทั่วโลกเข้าเป็นหนึ่งเดียว ด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้เพราะมีการพัฒนาระบบประยุกต์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตอีกมากมาย เช่น X.500 เพื่อให้การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์รวมไปถึงการส่งภาพและสื่อประสมได้

เขียนโดย matus ที่ 3:05 ไม่มีความคิดเห็น: การสื่อสารผ่านดาวเทียม

การสื่อสารผ่านดาวเทียม เป็นการสื่อสารที่มีสถานีรับอยู่ที่พื้นดิน ส่งตรงขึ้นไปยังดาวเทียมแล้วส่งลงมายังตัวรับที่พื้นดินอีกครั้งหนึ่ง ดาวเทียวจึงเสมือนเป็นสถานีถ่ายทอดสัญญาณที่ดียิ่ง เพราะลอยอยู่บนท้องฟ้าในระดับสูงมาก ประเทศไทยเริ่มใช้ดาวเทียมสื่อสารครั้งแรกตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2510 การสื่อสารแห่งประเทศไทยตั้งสถานีภาคพื้นดินที่อำเภอศรีราชา ชลบุรี โดยเช่าช่องสัญญาณจำนวน 13 ช่องสัญญาณ เพื่อการติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศดาวเทียมที่ใช้ในยุคแรกเป็นของบริษัท ยูอาร์ซีเอ ซึ่งเป็นดาวเทียมทางทหารของสหรัฐอเมริกา ใน พ.ศ. 2522 สถานีโทรทัศน์ในประเทศไทยได้มีการขยายเครือข่ายทั่วประเทศ ในการนี้มีการเช่าช่องสัญญาณจากดาวเทียมปาลาปาของอินโดนีเซีย ทำให้ระบบการถ่ายสัญญาณโทรทัศน์ของประเทศไทยกระจายไปยังเมืองใหญ่ๆ ได้ทั่วประเทศ จานรับสัญญาณดาวเทียมปาลาปามีขนาดใหญ่เส้นผ่าศูนย์กลาง 1-3 เมตร ซึ่งนับว่าเป็นจานขนาดใหญ่พอสมควร การถ่ายทอดสัญญาณโทนทัศน์ผ่านดาวเทียมทำได้ง่ายเพราะไม่ต้องเสียเวลาเดินสายหรือเชื่มโยงด้วยไมโครเวฟ ดาวเทียมค้างฟ้า เป็นดาวเทียมที่ต้องอยู่บริเวณเหนือเส้นศูนย์สูตรและโคจรรอบโลก 1 รอบ ใน 1 วัน พอดีกับเวลาที่โลกหมุนรอบตัวเอง ระดับความสูงและความเร็วในการโคจรต้องเหมาะสม ดาวเทียมค้างฟ้าที่ใช้สื่อสารอยู่ในระดับความสูง 42,184.2 กิโลเมตร การสื่อสารผ่านดาวเทียมในประเทศไทยจึงเป็นอีกก้าวหนึ่งที่ทำให้ประเทศไทยมีทางเลือกของการสื่อสารมากขึ้น การรับรู้ข้อมูลข้าวสารจะทำได้เร็วขึ้น การส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมเป็นหนทางหนึ่งที่จะส่งไปยังพื้นที่ใดๆ ก็ได้ในประเทศ แม้จะอยู่ในป่าเขาหรือมีสิ่งกีดขวางภาคพื้นดิน ดังนั้นการกระจายข่าวสารในอนาคตจะมีบทบาทเพิ่มขึ้น การใช้ข้อมูลข่าวสารจะเจริญเติบโตไปพร้อมกับความต้องการ หรือการกระจายตัวของระบบสื่อสาร เขียนโดย matus ที่ 1:41 ไม่มีความคิดเห็น: สำนักงานอัตโนมัติ

สำนักงานอัตโนมัติ (automated office) คืออะไร เกี่ยวขอ้งระบบคอมพิวเตอร์และรบบสื่อสารอย่างไร ทำไมจึงต้องให้ความสนใจกับสำนักงานอัตโนมัติ สำนักงานนี้จะไม่ใช้กระดาษเลยเป็นจริงได้หรือไม่ ในสำนักงานแห่งหนึ่ง ผู้จัดการฝ่ายขายต้องการรู้ขู้มูลการขายสินค้าแต่ละชนิดว่ามีแนวโน้มอย่างไร เพื่อว่างแผนการขาย แผนกการขายจะมีรายละเอียดความต้องการของสินค้าของลูกค้า ยุทธวิธีการขาย และให้ข้อมูลการขายนี้แก่ฝ่ายผลิตเพื่อเตรียมการผลิตสินค้า พร้อมทั้งส่งต่อให้พนักงานขายแต่ละคนเพื่อศึกษา จากตัวอย่างนี้จะเห็นว่า ผู้จัดการฝ่ายเกี่ยวข้องกับข้อมูลและการติดต่อสื่อสาร ซึ่งถ้ามีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยประมวลผลและสื่อสารข้อมูลก็จะทำได้อย่างรวดเร็ว คอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารจึงเป็นสิ่งสำคับของธุรกิจและเป็นสิ่งที่ทำให้สำนักงานเปลี่ยนเป็นสำนักงานอัตโนมัติมากขึ้น และเมื่อมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในแผนกและหน่วยงานต่างๆ พร้อมทั้งมีการต่อเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์การ ในการดำเนินการของแผนกและหน่วยงานขององค์การจะมีการแลกเปลี่ยนเอกสารและข้อมูลกันอยู่ตลอดเวลา เครือข่ายคอมพิวเตอร์จึงมีความสำคัญมากขึ้นในการดำเนินงานขององค์การ เขียนโดย matus ที่ 1:13 ไม่มีความคิดเห็น: วันอาทิตย์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2553 เทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่ พัฒนาการทางเทคโนโลยี

เนื่องจากเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ก้าวหน้าไปมาก ทำให้เกิดระบบการสื่อสารใหม่ตลอดเวลาผู้ทำงานในสำนักงานจึงมีโอกาสเลือกใช้วิธีการติดต่อสื่อสาร ปัจจัยสำคัญซึ่งใช้ในการพิจารณาเลือกระบบสื่อสารให้สามารถนำมาใช้งานได้มีดังนี้ 1. กลุ่มผู้ใช้ระบบสื่อสารควรมีจำนวนมากพอ ระบบสื่อสารนั้นจะไม่มีประโยชน์หรือใช้งานน้อยถ้าหากมีผู้ใช้งานน้อย เพราะจะทำให้การกระจายข้อมูลทำได้ไม่กว้างขวาง

  1. การเข้ากันได้ระหว่างระบบสื่อสารกับงานสำนักงาน ระบบสื่อสารนั้นควรมีรูปแบบเหมือนหรือเข้ากันได้กับงานที่ดำเนินการอยู่ หากต้องมีการเปลี่ยนรูปแบบของข้อมูลเพื่อเข้ากับระบบสื่อสาร หรือข้อมูลที่ได้รับจากระบบสื่อสารไม่สามรถใช้งานเดิมได้จะทำให้เกิดความไม่สะดวก ปราศจากความปลอดภัย และความเชื่อถือได้ในการติดต่อสื่อสาร

  2. ความสมเหตุสมผลทางราคา ระบบสื่อสารต่างๆ จะต้องมีค่าใช้จ่ายประกอบด้วยเสมอ ซึ่งค่าใช่จ่ายนี้จะต้องอยู่ในวิสัยที่สามารถลงทุนได้และต้องคุมค่ากับราคา ปัจจุบันเครือข่ายของโทรศัพท์ได้มีการแพร่หลายควบคุมในบริเวณกว้าง และเป็นที่ยอมรับในการติดต่อสื่อสารทางธุรกิจทั่วโลก ในทุกประเทศ ธุรกิจและกิจการหลายอย่างมีการดำเนินงานโดยพึ่งพาโทรศัพท์ โทรศัพท์ได้รับความนิยมอย่างมากเพระเทคโนโลยีของโทรศัพท์ได้มีการพัฒนามาหลายขั้นตอน ทั้งในด้านตัวเครื่อง ตู้ชุมสาย และระบบเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย

ในขณะเดียวกันวิวัฒนาการเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ได้เปลี่ยนจากระดับเมนเฟรมซึ่งขนาดใหญ่มาเป็นเครื่องขนาดเล็กระดับตั้งโต๊ะที่มีขีดความสามารถเท่าเทียมเครื่องขนาดใหญ่ ทำให้สำนักงานของบริษัทสามารถนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาช่วยในงานเอกสารและการบริการทั่วไปได้ เทคโนโลยีของระบบติดต่อสื่อสารสมัยใหม่ จึงมีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาร่วมด้วย



ความเห็น (1)

ควรอ้างที่มาด้วยนะคะและ น่าจะเป็นบันทึกมากกว่าอนุทิน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท