อนุทิน 113635


นาย ฉันทพัฒน์ อุตตะมา
เขียนเมื่อ

1.1 ค่าวคืออะไร


          “ ค่าว “ หมายถึงคำประพันธ์ที่มีลักษณะร้อยสัมผัสสอดเกี่ยวกันไปแบบร่ายและจบลงด้วยโคลงสองหรือโคลงสามสุภาพ  มีหลายชนิดคือ เรื่องที่ปรากฏในเทศนาธรรม เรียกว่า “ ค่าวธรรม “ ถ้าแต่งเป็นจดหมายรักเรียกว่า “ ค่าวใช้ “ถ้านำไปอ่านเป็นทำนองเสนาะเรียกว่า “ค่าวซอ “หรือ”เล่าค่าว “ และถ้าหากเป็นการขับลำนำตอนไปแอ่วสาวเรียกว่า “จ๊อย” แม้ชาวบ้านที่พูดคล้องจองกันเรียกว่า “ อู้เป็นค่าวเป็นเครือ “ 

1.2 คุณสมบัติของนักแต่งค่าว มีดังนี้


          1 ) มีใจรักในการแต่งค่าวและเป็นคนอารมณ์สุนทรีย์
          2 ) ถ้าแต่งกลอนเป็น จะทำให้แต่งค่าวได้ง่ายขึ้น
          3 ) รู้ฉันทลักษณ์ค่าว ได้แก่ สัมผัส และเสียงวรรณยุกต์
          4 ) แยกเสียงโทและเสียงตรีออก จะทำให้แต่งค่าวได้ไพเราะยิ่งขึ้น 

1.3 สำนวนค่าว มี 3 ส่วน คือ บทขึ้นต้น , บทดำเนินเรื่อง และบทสุดท้าย 

1.4 ฉันทลักษณ์ของค่าว มีดังนี้


          1 ) ค่าว 1 บท มี 3 บาท ( 3 บรรทัด ) บาทละ 4 วรรค
          2 ) สามวรรคแรกมี 4 คำ ส่วนวรรคที่สี่ มี 2 - 4 คำมี
          3 ) บังคับเสียงวรรณยุกต์สามัญ , โท , ตรี และจัตวา
          4 ) การส่งสัมผัสประกอบด้วย สัมผัสระหว่างวรรคและสัมผัสระหว่างบาทสัมผัสระหว่างวรรคส่งจากวรรคท้ายวรรคที่สอง ไปยังคำท้ายวรรคที่สามของทุกบาท
          5 ) บังคับเสียงวรรณยุกต์สามัญ , โท , ตรี และจัตวา ตามตำแหน่งที่กำหนด 

1.5 ผังค่าว

 

บทขึ้นต้น

 

บทดำเนินเรื่อง - จะมีกี่บทก็ได้

บทสุดท้าย

-สีเขียวแทนเสียงสามัญ-



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท