อนุทิน 112045


นิตยา
เขียนเมื่อ

บทที่1
แนวคิดและแนวโน้มเกี่ยวกับข้อมูลสารสนเทศยุคใหม่

1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสารสนเทศ

ด้วยปัจจุบันนี้เป็นยุคข้อมูล ข่าสาร และความรู้หรือบางคนอาจกล่าวว่าเป็นยุคของสังคมสารสนเทศนั่นเอง ที่มีการศึกษาค้นคว้า วิจัยและทดลองในสาขาวิชาต่างๆมากมาย ทำให้เกิดมีความต้องการใช้ ข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เอื้ออำนวยให้เพิ่มปริมาณสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว 

2.ความหมายของสารสนเทศ

          สารสนเทศ หรือสารนิเทศ (Information) เป็นคำเดียวกันซึ่งสามารถให้ความหมายอย่างกว้างๆ ว่าหมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ เรื่องราว ข้อเท็จจริงหรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ขณะเดียวกันก็มีความหมายในเชิงลึกว่า หมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ที่ผ่านการประมวลผล ซึ่งมีความหมายและสามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจในชีวิตประจำวัน หรือการทำงานนั้นๆ 

ฉะนั้นสรุปได้ว่า สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ที่ได้มีการจัดการไม่ว่าจะเป็นการคิดคำนวณ ประมวลผลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ ได้มีการคัดเลือกสรรและนำไปใช้ให้ทันต่อความต้องการในการใช้งาน และทันเวลา

 

3. ความสำคัญของสารสนเทศ

          สารสนเทศเป็นปัจจัยที่สำคัญในโลกปัจจุบันนี้ ทั้งนี้เพราะการกำหนดแนวทางพัฒนา นโยบายทางด้านการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ การศึกษา สังคม และวัฒนธรรมมีความสำคัญต่อการพัฒนามนุษย์และสังคมเพื่อเสริมสร้างความรู้อันที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตทั้งด้านการงานนั้น อีกทั้งเป็นแนวทางในการแก้ไข ปัญหา ช่วยในการวางแผน และช่วยตัดสินใจ อย่างเช่นหากผู้ใดที่รู้จักใฝ่เรียนรู้และได้รับสารสนเทศที่ดี มีคุณค่า และมีความทันสมัยอย่างต่อเนื่อง ย่อมมีชัยชนะเหนือผู้อื่น ประกอบกับความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต โดยเฉพาะการเข้าถึงสารสนเทศของยุคสังคมข่าวสารที่มีความเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร 

 

4. ประเภทของสารสนเทศ

          การจำแนกประเภทของสารสนเทศได้มีการจำแนกออกเป็น ตามแหล่งสารสนเทศและตามสื่อที่จัดเก็บ ดังนี้

          1.สารสนเทศจำแนกตามแหล่งสารสนเทศ เป็นการจำแนกสารสนเทศตามการรวบรวมหรือจัดกระทำกับสารสนเทศ จำแนกได้ดังนี้

                1.1 แหล่งปฐมภูมิ (Primary Source) คือ สารสนเทศที่ได้มาจากต้นแหล่งโดยตรง เป็นสารสนเทศทางวิชาการ ผลของการศึกษาค้นคว้า วิจัย รายงาน การค้นพบทฤษฎีใหม่ ๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม ซึ่งนำไปสู่การยอมรับเป็นทฤษฎีใหม่ที่เชื่อถือได้ สารสนเทศประเภทนี้มักจะถูกถ่ายทอดออกมาในลักษณะของสิ่งพิมพ์ เช่น วารสาร รายงานการวิจัย รายงานการประชุมมและสัมมนาวิชาการ สิทธิบัตร เอกสารมาตรฐานต่าง ๆ ต้นฉบับตัวเขียน จดหมายเหตุ วิทยานิพนธ์ และการถ่ายทอดทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น วารสารอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

                1.2 แหล่งทุติยภูมิ (Secondary Source) คือ สารสนเทศที่มีการรวบรวม เรียบเรียงขึ้นใหม่จากแหล่งสารสนเทศปฐมภูมิ มักจะอยู่ในรูปแบบการสรุป ย่อเรื่อง จัดหมวดหมู่ ทำดรรชนีและสาระสังเขป เพื่อประโยชน์ในการเข้าถึงและสามารถใช้ข้อมูลได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ได้แก่ สื่ออ้างอิงประเภทต่าง ๆ วารสารที่มีการสรุปย่อและตีความ รวมถึงหนังสือ ตำรา ที่รวบรวมเนื้อหาวิชาการในการเรียนการสอน สารานุกรม พจนานุกรม รายงานสถิติต่าง ๆ ดรรชนีและสาระสังเขป

                1.3 แหล่งตติยภูมิ (Tertiary Source) คือ สารสนเทศทีจัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการค้นหาสารสนเทศจากแหล่งปฐมภูมและทุติยภูมิ จะไม่ได้ให้เนื้อหาสาระโดยตรง แต่จะมีประโยชน์ในการค้นหาสารสนเทศที่ให้ความรู้เฉพาะสาขาวิชา ได้แก่ บรรณานุกรม นามานุกรม ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์จึงได้มีการจัดเก็บบันทึกข้อมูลไว้ในสื่อคอมพิวเตอร์ มักจะออกนำเผยแพร่ในรูปของ CD-ROM ฐานข้อมูลออฟไลน์

2. สารสนเทศจำแนกตามสื่อที่จัดเก็บ เป็นการจำแนกสารสนเทศตามชนิดของสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ได้แก่ กระดาษ วัสดุย่อส่วน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อแสง

                2.1 กระดาษ เป็นสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูล สารสนเทศ ที่ใช้ง่ายต่อการบันทีก รวมทั้งการเขียนและการพิมพ์ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันจนถึงปัจจุบัน

                2.2 วัสดุย่อส่วน เป็นสื่อที่ถูกสำเนาย่อส่วนลงบนแผ่นฟิล์มชนิดต่าง ๆ ทั้งที่เป็นม้วนและเป็นแผ่น มีการจัดเรียงลำดับเนื้อหาตามต้น เช่น เอกสารจดหมายเหตุ หนังสือพิมพ์ เอกสารสำคัญ วิทยานิพนธ์ เป็นต้น

              2.3สื่ออิเล็กทรอนิกหรือสื่อแม่เหล็ก เป็นวัสดุสังเคราะห์เคลือบด้วยสารแม่เหล็ก สามารถบันทึกและแก้ไขข้อมูลได้สะดวกทั้งข้อมูลที่เป็นแอนาล็อก และดิจิตอล เช่น เทปวีดิทัศน์ เทปบันทึกเสียง ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น

                2.4 สื่อแสงหรือสื่อออปติก (Optical Media) เป็นสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลและอ่านข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์ เช่น ซีดี-รอม ดีวิดี เป็นต้น ซึ่งมีความจุมากเป็นพิเศษ

 

5. คุณสมบัติของสารสนเทศ

         1) สามารถเข้าถึงได้ง่าย (Accessibility) หมายถึงความสะดวกรวดเร็วในการเข้าถึงสารสนเทศ เพื่อนำสารสนเทศไปใช้ในการประกอบการตัดสินใจ รวมทั้งความรวดเร็วในการสืบค้น

         2) มีความถูกต้อง (Accurate) สารสนเทศที่ดีต้องมีความเที่ยงตรง และเชื่อถือได้ โดยไม่มีความคาดเคลื่อนหรือมีความคาดเคลื่อนน้อยที่สุด

          3) มีความครบถ้วน (Completeness) สารสนเทศที่ดีต้องมีความสมบูรณ์ที่จะช่วยในการตัดสินใจเป็นไปด้วยความถูกต้อง

          4) ความเหมาะสม (Appropriateness) พิจารณาถึงการได้รับสารสนเทศตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากน้อยเพียงใด 

          5) ความทันต่อเวลา (Timeliness) สารสนเทศต้องได้มาให้ทันต่อเวลาในการใช้งาน หมายความว่าสารสนเทศต้องมีระยะเวลาสั้น มีความรวดเร็วในการประมวลผล เพื่อผู้ใช้สารสนเทศจะได้รับสารสนเทศได้ทันเวลา

          6) ความชัดเจน (Clarity) คือสารสนเทศที่ไม่ต้องมีการตีความ ไม่กำกวม ไม่คลุมเครือ และไม่ต้องหารคำตอบเพิ่มเติม

          7) ความยืดหยุ่น (Flexibility) เป็นการนำสารสนเทศไปปรับใช้ได้ในหลายสถานณการณ์ หรือเป็นสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้อย่างกว้างขวาง มากกว่าเป็นสารสนเทศที่เฉพาะบุคคล

          8) ความสามารถในการพิสูจน์ได้ (Verifiability) โดยขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาของสารสนเทศว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบในการผลิต หมายความว่าสารสนเทศนั้นต้องสามารถพิสูจน์หรอตรวสอบได้ว่าเป็นความจริง

          9) ความซ้ำซ้อน (Redundancy) สารสนเทศที่ได้รับนั้น มีความซ้ำซ้อน หรือมีมากเกินความจำเป็นหรือไม่ ดงนั้นสารสนเทศที่ดีต้องไม่มีความซ้ำซ้อน

          10) ความไม่ลำเอียง (Bias) ลักษณะสารสนเทศที่ผลิตขึ้น ไม่มีเจตนาในการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขสารสนเทศตามที่ได้กำหนดหรือหาข้อยุติไว้ล่วงหน้า

 

6. แหล่งสารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศ

          แหล่งสารสนเทศ หมายถึงแหล่งที่เกิด แหล่งที่ผลิต หรือแหล่งที่จัดเก็บและให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ ในรูปแบบที่หลากหลายอย่างเป็นระบบและยังเป็นแหล่งที่ทำการอนุรักษ์ทรัพย์สินทางปัญญา โดยมีบทบาทหน้าที่ต่อสังคมเพื่อการบริการสารสนเทศและส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าแก่ผู้ต้องการ

โดยแบ่งได้ 4 แหล่งดังนี้คือ 

          1) แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถาบันหมายถึง สถาบันที่ตั้งขึ้นมาเพื่อ จัดหา รวบรวมวัสดุสารสนเทศชนิดต่าง ๆ มาจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อให้บุคคลมาศึกษาหาความรู้จากวัสดุสารสนเทศเหล่านั้น ตัวอย่างเช่น ห้องสมุด ศูนย์สารสนเทศ สำนักวิทยบริการ พิพิธภัณฑ์ หอจดหมายเหตุ ศูนย์วัฒนธรรม และหอศิลป์ เป็นต้น 

          2) แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่ คือ แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่จริง หรือสถานที่จำลอง ซึ่งผู้ใช้สามารถไปศึกษาหารความรู้จากตัวสถานที่เหล่านั้น เช่น ปราสาทเขาพระวิหาร สวนส้ม ไร่นาสวนผสม ฟาร์มจระเข้ และเมือโบราณ เป็นต้น แหล่งประเภทนี้มีประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าอย่างยิ่ง เพราะบุคคลจะได้รับประสบการณ์ตรง ทั้งยังเป็นแหล่งที่เข้าถึงได้ไม่ยากนัก ส่วนข้อด้อยของแหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่ คือ สถานที่บางแห่งอยู่ไกล การเดินทางไปสถานที่แห่งนั้นต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่ายเป็นเงินจำนวนมาก ในกรณีเช่นนี้ ผู้ใช้สารสนเทศอาจเปลี่ยนมาใช้สารสนเทศในรูปแบบของวัสดุตีพิมพ์หรือไม่ตีพิมพ์ ซึ่งมีอยู่ในแหล่งสารสนเทศประเภทสถาบันแทน

          3) แหล่งสารสนเทศที่เป็นบุคคล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้รอบรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ ผู้เชี่ยวชาญบางสาขาวิชาจะมีผลงานเป็นสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ ที่ผู้ใช้สามารถค้นคว้าได้ด้วยตนเอง แต่ผู้เชี่ยวชาญบางคนก็ไม่มีผลงานในลักษณะของวัสดุสารสนเทศ ผู้ต้องการสารสนเทศจากผู้เชี่ยวชาญประเภทหลังนี้ต้องไปพบปะสนทนา หรือสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญนั้นโดยตรงจึงจะได้สารสนเทศที่ต้องการ เช่น นักบวช กวี ศิลปิน นักปราชญ์ ราชบัณฑิต ภูมิปัญญาชาวบ้าน นักวิทยาศาสตร์

          4) แหล่งสารสนเทศที่เป็นเหตุการณ์ ได้แก่กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น 14 ตุลา ในปี พ.ศ. 2516 พฤษาทมิฬ ในปี พ.ศ. 2535 เหตุการณ์ 911 หรือ การก่อการร้ายตึกเวิลด์เทรดเซนเตอร์ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 การจัดกิจกรรม งานมหกรรม งานบุญประเพณี หรือการประชุมสัมมนาในเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นแหล่งสารสนเทศในเรื่องนั้น ๆ และจัดเป็นแหล่งสารสนเทศปฐมภูมิ

          5) แหล่งสารสนเทมศสื่อมวลชน ซึ่งเป็นแหล่งที่มุ่งเผยแพร่สารสนเทศ ที่เป็นเหตุการณ์ ข่าวสาร โดยเน้นความทันสมัยต่อเหตุการณ์ เป็นการถ่ายทอดในรูปของการกระจายเสียง ภาพและตัวอักษรโดยผ่านสื่อประเภทวิทยุ โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์

          6) แหล่งสารสนเทศที่เป็นอินเทอร์เน็ต เป็นแหล่งสารสนเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทั้งนี้เนื่องจากทั้งหน่วยงานของภาครัฐ เอกชน รวมทั้งหน่วยงานอื่น ๆ 

 

7.ทรัพยากรสารสนเทศ (Information Resources or Information Materials)

          ทรัพยากรสารสนเทศ หมายถึง วัสดุหรือสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ ความรู้ และความคิดต่าง ๆ หรืออาจเรียกว่า วัสดุสารสนเทศ แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ ทรัพยากรตีพิมพ์ (Printed Materials) ทรัพยากรไม่ตีพิมพ์ (Non printed Materials) และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Media)

1 ประเภทและชนิดของทรัพยากรสารสนเทศ

             1) ทรัพยากรตีพิมพ์ (Printed Materials) เป็นสารสนเทศที่มีลักษณะเป็นแผ่น หรือรูปเล่มที่ตีพิมพ์ในกระดาษ มีขนาดต่าง ๆ กัน และมีหลาหหลายรูปแบบ เช่น หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ จุลสาร และกฤตภาค เป็นต้น เป็นการรับรู้สารสนเทศได้โดยตรงและง่าย ๆ จากทรัพยากรประเภทนี้ จำแนกได้ดังนี้ 

        -หนังสือ (Book) คือ สิ่งพิมพ์ที่เป็นรูปเล่ม มีการบันทึกสารสนเทศเป็นเรื่องราวที่ศึกษาค้นคว้า วิจัยหรือคิดสร้างสรรค์ จนได้เนื้อหาละเอียดกว้างขวางลึกซึ้งต่อเนื่อง อาจแบ่งเนื้อหาออกเป็นตอน เป็นบท เป็นเล่ม เป็นชุด จัดขึ้นเมื่อไรก็ได้ตามแต่ความต้องการของผู้จัดพิมพ์ เช่น หนังสือสารคดี ตำรา แบบเรียน วิทยานิพนธ์ ใช้ในการอ่านเพื่อการศึกษาเรียนรู้ และนวนิยาย เรื่องสั้นที่ให้ความบันเทิง จรรโลงใจในการอ่าน

         -วารสาร (Periodicals) คือสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง (Serial) ที่มีวาระการออกที่แน่นอน เช่น รายสัปดาห์ รายเดือน รายสามเดือน รายหกเดือน เป็นต้น โดยมีลักษณะส่วนประกอบที่สำคัญซึ่งแสดงลักษณะเฉพาะตัว คือ ชื่อวารสาร (Title) ปีที่ (Volume) ฉบับที่ (Number) เดือน ปีที่ออกวารสาร ราคา และเลขมาตรฐานสากลประจำสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง (International Standard Serial Number - ISSN) ซึ่งแบ่งออกได้ 3 ประเภท คือ วารสารวิชาการ (Journal) ให้เนื้อหาสารระที่เน้นวิชาการด้านต่าง ๆ ใช้อ่านเพื่อการศึกษาค้นคว้าในสาขาวิชานั้น ๆ วารสารบันเทิง (Magazine) เนื้อหาสาระส่วนใหญ่จะเน้นวิชาการ และ วารสารเชิงวิพากษ์วิจารณ์ จะเป็นการนำเสนอสรุปข่าวสำคัญ เช่นข่าวการเมือง เศรษฐกิจ และมีบทวิพากษ์วิจารณ์เนื้อหา ความเป็นมา เบื้องหน้าเบื้องหลัง เหตุการณ์ บุคคล สถานที่ที่เกี่ยวข้อง

          ฉะนั้นวารสารจะเป็นทรัพยากรที่ให้สารสนเทศในการค้นคว้าและติดตามเรื่องราว ประเด็นต่าง ๆ ทัศนะความคิดเห็นตลอดจนความรู้ที่ทันสมัย

         -หนังสือพิมพ์ (Newspapers) เป็นสิ่งพิมพ์ที่ให้สารสนเทศรายวัน เป็นการรายงานข่าวเเหตุการณ์ประจำวัน ความเปลี่ยนแปลง ความเป็นไปของสังคมนั้น ๆ ให้เป็นที่ทราบโดยทั่วถึงและรวดเร็วที่สุด นอกจากนั้นแล้วยังมีคอลัมน์ข่าวเชิงวิจารณ์เสนอความคิดชี้ชวน โต้แย้ง หรือวิธีแก้ไขปัญหาต่าง ๆ อย่างหลากหลายกว้างขวางทั้งด้านวิชาการและเรื่องเริงรมย์

         -จุลสาร (Pamphlet) เป็นสิ่งพิมพ์ขนาดเล็กที่มีเนื้อหาเฉพาะด้าน อาจจะเป็นกระดาษชิ้นเล็ก ๆ เพียงแผ่นเดียว หรือเป็นแผ่นพับ หรือเป็นรูปเล่มเล็ก ๆ บาง ๆ หรือเป็นการประชาสัมพันธ์เรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ชุมชน เนื้อหาจะมีความทันสมัยเพียงชั่วเวลาหนึ่ง

         -กฤตภาค (Clipping) เป็นสิ่งพิมพ์ที่นำเรื่องราว สารสนเทศที่สำคัญจากหนังสือพิมพ์ วารสาร หรือแผ่นพับ นำมาตัดแล้วผนึกลงบนกระดาษแล้วรวบรวมไว้ให้ผู้ช้ได้ใช้ประโยชน์ต่อไป มีการจัดเก็บใส่แฟ้มแยกเป็นเรื่อง ๆ ด้วยปัจจุบันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ตัด คัดลอกทั้งเนื้อหาและภาพในสิ่งพิมพ์ใด ๆ ตามต้องการ มาเก็บไว้ในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ซึ่งสามารถจัดทำและบริการกฤตภาคได้สะดวกรวดเร็ว

          2) ทรัพยากรไม่ตีพิมพ์ (Non-print Material) คือทรัพยากรสารสนเทศที่มีลักษณะสำคัญ ที่แตกต่างจากทรัพยากรตีพิมพ์ ที่ให้สารสนเทศ ความรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสทางหู ตา ด้วยการดูและการฟัง ทำให้สื่อความหมาย เข้าใจง่าย เกิดการเรียนรู้ที่ถูกต้องผู้ใช้สามารถจดจำและเข้าใจเรื่องที่ต้องการศึกษาได้ง่ายกว่าการอ่านหนังสือ มีรูปแบบลักษณะหลากหลายโดยทำจากเนื้อวัตถุสังเคราะห์ เช่นพลาสติกชนิดต่าง ๆ ได้แก่ แผ่นฟิล์มขนาดต่าง ๆ อาจเป็นเส้นเทปพลาสติกยาวโดยกรอเป็นม้วน อาจจะเป็นแผ่นพลาสติดกลมเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดต่าง ๆ อาจเป็นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ อาจเป็นคลื่นไฟฟ้าหรือคลื่นแสงคลื่นเสียง บันทึกสารสนเทศเป็นสัญญลักษณ์ต่าง ๆ ทั้งตัวอักษร เส้น สี แสง ฉะนั้นการรับรู้สารสนเทศจากทรพยากรประเภทนี้จึงต้องใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์เฉพาะทรัพยากรชนิดนั้น ๆ เพื่อรับรู้สารสนเทศตามความต้องการ ซึ่งจำแนกได้ดังนี้

        -ทัศนวัสดุ (Visual Materials) เป็นทรัพยากรที่ใช้การมองเห็นหรือสัมผัสเพื่อรับรู้สารสนเทศโดยการดู หรืออาจจะดูด้วยตาเปล่า หรือใช้เครื่องมืออุปกรณ์สำหรับฉายประกอบ ได้แก่ แผนภูมิ แผนที่ ภาพนิ่ง ภาพเลื่อน รูปภาพ ลูกโลก แผ่นภาพโปร่งใส หุ่นจำลอง ของจริง เป็นต้น

        -โสตวัสดุ (Audio Materials) เป็นวัสดุสารสนเทศที่รับรู้สารสนเทศด้วยการฟังเสียงเพียงอย่างเดียว ได้แก่ จานเสียงหรือแผ่นเสียง เทปเสียง แผ่นซีดี รายการวิทยุกระจายเสียง เป็นต้น

        -โสตทัศนวัสดุ (Audiovisual Materials) เป็นวัสดุสารสนเทศที่ให้เสียง และภาพเคลื่อนไหว จึงนับเป็นทรัพยากรที่สื่อสารสนเทศได้ครบถ้วนมาก ได้แก่ ภาพยนตร์ วิดทัศน์ วีซีดี ดีวีดี และรายการโทรทัศน์

          3) สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Materials) หมายถึง การจัดเก็บสารสนเทศที่อยู่ในรูปของดิจิทัล (Digital) ซึ่งเป็นสัญญาณไฟฟ้าในระบบคอมพิวเตอร์นั่นเอง สามารถบันทึกสารสนเทศได้ทั้งที่เป็นตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ได้แก่ ฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ โดยจำแนกออกเป็น

         -ฐานข้อมูลออฟไลน์ (Offline Database) เป็นสารสนเทศที่สื่อสารกันได้เฉพาะคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งเครื่องใดเท่านั้น หากต้องการใช้สารสนเทศข้ามเครื่องจะต้องบันทึก (Copy) สัญญาณดิจิทัลลงในสื่อ เช่น แผ่นดิสก์เก็ต แผ่นซีดี หรือ รีมูฟเอเบิลไดรว์ (Removable Drive or Handy Drive or Flash Drive) แล้วจึงนำสื่อนั้นไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ได้

          -ฐานข้อมูลออนไลน์ เป็นแหล่งสารสนเทศที่มีการรวบรวมอย่างป็นระบบ เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บและค้นหาสารสนเทศ โดยผู้ใช้สามารถสืบค้นได้จากระบบเครือข่ายที่จัดให้บริการ รูปแบบที่สารสนเทศที่ให้บริการมีทั้ง ข้อมูลบรรณานุกรมของหนังสือ บทความวาสาร สิ่งพิมพ์อื่น ๆ ข้อมูล

 

 




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท