อนุทิน 10862


คุณครูพเนศ
เขียนเมื่อ

                 

นวัตกรรมการแก้ปัญหานักเรียนอ่านหนังสือแล้วไม่เก็บเข้าที่โดยการใช้นิทานของนักเรียนชั้นอนุบาล

               

                ปัจจุบันจากการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนที่มีประสิทธิภาพแล้ว แหล่งการเรียนรู้นอกห้องเรียนก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน  โดยเฉพาะห้องสมุดซึ่งถือเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ดีที่สุดของนักเรียนในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้นอกห้องเรียนด้วยตนเอง อีกทั้งยังเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ตลอดชีวิต  โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์ยังเล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว จึงได้แบ่งห้องสมุดออกเป็น 3 ระดับด้วยกันคือ  ห้องสมุดอนุบาล  ห้องสมุดประถม  ห้องสมุดมัธยม  เพื่อเหมาะสมกับการเรียนรู้ของนักเรียนในแต่ละช่วงวัย  โดยมีการพัฒนาปรับปรุงสถานที่  ทรัพยากรสารนิเทศ และบรรยกาศของห้องสมุดอยู่อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อการพัฒนานักเรียนทั้งในด้านความรู้ ความคิด  จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ให้เป็นไปอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพต่อไป

                ดิฉันได้รับผิดชอบงานของฝ่ายบริการห้องสมุดอนุบาลมาเป็นเวลานาน 2 ปีแล้ว ในการสอนเรื่องการใช้ห้องสมุดอนุบาลและการส่งเสริมให้เด็กรักการอ่านโดยเฉพาะการใช้บริการห้องสมุดอนุบาล  จึงมีโอกาสได้ใกล้ชิดและสัมผัสกับผู้ใช้บริการของห้องสมุดในหลายๆ รูปแบบที่แตกต่างกัน บางรูปแบบเป็นผู้ใช้ที่น่ารัก ไม่สร้างปัญหาให้กับผู้ให้บริการ บางรูปแบบเป็นผู้ใช้ที่ตระหนักในคุณค่าของห้องสมุด ใช้ห้องสมุดอย่างทะนุถนอม มองทรัพยากรของห้องสมุดเป็นสมบัติของส่วนรวม และบางรูปแบบเป็นผู้ใช้ที่ไม่มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่  เมื่อใช้บริการแล้วไม่เก็บหนังสือเข้าที่ของห้องสมุด  ซึ่งในบางครั้งถึงกับทำให้ผู้ให้บริการเกิดความท้อแท้ ในการให้บริการ ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นกับผู้เรียน จากการใช้บริการห้องสมุดและจากการสังเกตพฤติกรรมในห้องเรียน  พบว่า นักเรียนมีปัญหาการอ่านหนังสือแล้วไม่เก็บเข้าที่ให้เรียบร้อยในห้องสมุดอนุบาล  ซึ่งเกี่ยวกับการใช้บริการห้องสมุดของนักเรียนในกลุ่มดังกล่าวจะมีการแก้ไขพัฒนาเพื่อช่วยเหลือผู้เรียน  จากการพัฒนานวัตกรรมและนำไปทดลองใช้  ดิฉันได้นำนวัตกรรมไปใช้โดยการเตรียม  กระดาษในการฉีกกระดาษเป็นรูปตัวละครตามหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุดอนุบาล   ซึ่งเป็นการเรียนการสอนผ่านสือนิทาน  เป็นการออกแบบให้ครูผู้สอนและผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กันในห้องเรียนและมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง  จากการนำเสนอหมวดหมู่หนังสือด้วยตัวละคร  และนำตัวละครตามหมวดหมู่ทั้ง  11  ตัว   นำมาเล่านิทานให้ผู้เรียนฟัง  จากนิทานเรี่อง  “นิทานหลงทาง”  ทำให้ผู้เรียนสามารถจดจำตัวละครตามหมวดหมู่หนังสือได้บ้าง  หลังจากที่ฟังนิทานแล้ว  ที่สำคัญผู้เรียนสัญญาว่าจะไม่พาหนังสือนิทานหลงทางเหมือนในนิทานที่เล่าในวันนี้อีก  และจะเก็บหนังสือให้เข้าที่และเรียบร้อยค่ะ วิธีนี้ก็ใช้ได้ผลดีพอควร  แต่ปัญหาของครู  คือเวลาในการทำนวัตกรรม ...............

 

                จากการยกประเด็นใหหัวข้อสีฟ้าแล้ว  ในการนำเสนองานในวันนั้น  ดิฉันได้ข้อคิดจากอาจารย์ รศ. ดร. รสสุคนธ์  มกรมณี มากมาย  ที่ต้องนำมาปรับปรุงเช่น เรื่องการเสียเวลาในการทำนวัตกรรมการแก้ปัญหานักเรียนอ่านหนังสือแล้วไม่เก็บเข้าที่โดยการใช้นิทาน  ของนักเรียนชั้นอนุบาล โดยการเตรียม  กระดาษในการฉีกกระดาษเป็นรูปตัวละครตามหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุดอนุบาล   ซึ่งเป็นการเรียนการสอนผ่านสือนิทานและการสาธิต  เป็นการออกแบบให้ครูผู้สอนและผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กันในห้องเรียนได้  ในการทำนวัตกรรมนี้  อาจจะเป็นนการเสียเวลาของตัวครูเอง เพราะครูก็มีงานเยอะท้วมหัวอยู่แล้วอย่างที่อาจารย์บอกเลยค่ะ  ตัวการ์ตูนแต่ละหมวดหมู่มันซับซ้อนเกินไป  อย่างที่อาจารย์นันำให้เป็นแค่รูป  วงกลม  สี่เหลี่ยม  สามเหลี่ยม  และอื่นๆ  ตามสี  เด็กคงจะจำได้ง่ายกว่านะค่ะ  จะนำไปปนับปรุงค่ะ

 

 

 

 

 

 

นวัตกรรม

ในการฉีกกระดาษเป็นรูปตัวละครตามหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุดอนุบาล   แล้วนำมาเล่านิทานเรื่องนิทานหลงทาง

เมื่อเล่าจบแล้วก็นำตังละครมาติดตรงตามหมวดหมู่หนังสือ

เพื่อสื่อให้ผู้เรียนอ่านหนังสือแล้วจะต้องเก็บหนังสือให้เข้าที่

และเรียบร้อยค่ะ

 

 http://learners.in.th/file/thunyalak_tin/view/72338 

 

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท