ครูชายแดน
นาย สิรวิชญ์ ครูชายแดน พรมตา

อนุทิน 108185


ครูชายแดน
เขียนเมื่อ

ใบความรู้เรื่อง  ภาษาบาลี  และสันสกฤตในภาษาไทย

รายวิชา  ท30205  หลักภาษาไทย  ชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่  6

*********************************************************

ประวัติภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต

                ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต จัดอยู่ภาษาอินเดีย-ยุโรป ซึ่งเป็นตระกูลภาษามีวิภัตติปัจจัยพวกอารยันได้เข้ามาในอินเดีย เมื่อประมาณ 1,500 ปี ก่อนคริสตศักราช ( ปรีชา ทิชินพงศ์,2534 : 1 ) นักปราชญ์ทางภาษาได้แบ่งภาษาตระกูลอารยันในอินเดียออกเป็น 3 สมัย ดังนี้

                1. ภาษาสมัยเก่า หมายถึงภาษาที่ใช้ในคัมภีร์พระเวท ได้แก่ คัมภีร์ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท และอาถรรพเวท  รวมตลอดทั้งคัมภีร์อุปนิษัท ซึ่งเป็นคัมภีร์สุดท้ายของคัมภีร์พระเวท (เวทานต์) ภาษาที่ใช้ในคัมภีร์ต่างๆ เหล่านี้จะมีความเก่าแก่ลดหลั่นกันมาตามลำดับ ภาษาสันสกฤตก็จัดอยู่ในสมัยนี้ด้วย

                2. ภาษาสมัยกลาง ได้แก่ ภาษาปรากฤตซึ่งเป็นภาษาถิ่นของชาวอารยันที่ใช้กันท้องถิ่นต่างๆของประเทศอินเดีย  เช่นภาษามาคธี มหาราษฏรี เศารเสนี เป็นต้น ภาษาในสมัยนี้มีลักษณะโครงสร้างทางเสียง และนอกจากจะเรียกว่าภาษาปรากฤตแล้วยังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า       “ภาษาการละคร”เพราะเหตุที่นำไปใช้เป็นภาษาพูดของตัวละครบางตัวในบทละครสันสกฤตด้วย

                3. ภาษาสมัยใหม่ ได้แก่ ภาษาต่างๆในปัจจุบัน เช่น ภาษาฮินดี เบงกาลี ปัญจาบี มราฐี       เนปาลี  เป็นต้น ภาษาเหล่านี้แม้จะเข้าใจกันว่าสืบมาจากภาษาปรากฤต แต่มีลักษณะของภาษาผิดกันมาก เพราะมีภาษาตระกูลอื่นที่ไม่ได้สืบมาจากภาษาของชาวอารยันเข้าไปปะปนกันมากบ้าง      น้อยบ้างแล้วแต่เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์

 

พยัญชนะในภาษาบาลี  มี  33  ตัว   ดังนี้

แถวที่

1

2

3

4

5

วรรค กะ

วรรค จะ

วรรค ฏะ

วรรค ตะ

วรรค ปะ

เศษวรรค

 ย  ร  ล  ว  ส  ห  ฬ  อัง

 

สระในภาษาบาลี  มี  8  ตัว  ดังนี้

สระมี 8 ตัว  คือ  อะ  อา  อิ  อี  อุ  อู  เอ  โอ

 

 

 

ตารางเปรียบเทียบภาษาบาลี – สันสกฤต

ภาษาบาลี

ภาษาสันสกฤต

1. สระมี 8 ตัว  คือ  อะ  อา  อิ  อี  อุ  อู  เอ  โอ

 

1. สระมี 14 ตัว  เพิ่มจากบาลี 6 ตัว  คือ  ฤ  ฤๅ  ฦ  ฦๅ  ไอ  เอา 

2. มีพยัญชนะ  33 ตัว  (พยัญชนะวรรค)

2. มีพยัญชนะ 35 ตัว  เพิ่มจากภาษาบาลี 2 ตัว  คือ  ศ ษ  (แสดงว่าคำที่มี  ศ ษ  เป็นภาษาสันสกฤต  *ยกเว้น  ศอก  ศึก  เศิก  โศก  เศร้า  เป็นภาษาไทยแท้)

3. มีตัวสะกดตัวตามแน่นอน  เช่น  กัญญา  จักขุ  ทักขิณะ  ปุจฉา  อัณณพ  คัมภีร์  เป็นต้น

3. มีตัวสะกดและตัวตามไม่แน่นอน  เช่น  กันยา  จักษุ  ทักษิณ  ปฤจฉา  วิทยุ  อัธยาศัย  เป็นต้น

4. นิยมใช้  ฬ  เช่น  กีฬา  จุฬา  ครุฬ  เป็นต้น  (จำว่า กีฬา-บาลี)

4. นิยมใช้  ฑ  เช่น  กรีฑา  จุฑา  ครุฑ  (จำว่า  กรีฑา-สันสกฤต)

5. ไม่นิยมควบกล้ำและอักษรนำ  เช่น  ปฐม  มัจฉา  สามี  มิต  ฐาน  ปทุม  ถาวร  กิริยา 

5. นิยมควบกล้ำและอักษรนำ  เช่น ประถม มัตสยา สวามี  มิตร  สถาน  ประทุม  สถาวร  เปรม  กริยา 

6. นิยมใช้  "ริ"  เช่น  ภริยา  จริยา  อัจฉริยะ  เป็นต้น

6. นิยมใช้  รร  (รอหัน)  เช่น  ภรรยา  จรรยา  อัศจรรย์  เป็นต้น

เนื่องจากแผลงมาจาก  รฺ  (ร เรผะ)  เช่น  วรฺณ = วรรณ   ธรฺม = ธรรม    * ยกเว้น  บรร  เป็นคำเขมร

7.  นิยมใช้ ณ นำหน้าวรรค ฏะ  เช่น  มณฑล  ภัณฑ์

หรือ  ณ  นำหน้า ห  เช่น  กัณหา  ตัณหา

7. นิยม  "เคราะห์"  เช่น  วิเคราะห์  สังเคราะห์ 

อนุเคราะห์ 

มีหลักสังเกต  ดังนี้

ก.      พยัญชนะตัวที่ 1 , 3 , 5 เป็นตัวสะกดได้เท่านั้น (ต้องอยู่ในวรรคเดียวกัน)

ข.      ถ้าพยัญชนะตัวที่ 1 สะกด ตัวที่ 1 หรือตัวที่ 2 เป็นตัวตามได้ เช่น สักกะ ทุกข สัจจ

ปัจฉิม  สัตต   หัตถ  บุปผา เป็นต้น

ค.      ถ้าพยัญชนะตัวที่ 3  สะกด ตัวที่ 3 หรือ 4 เป็นตัวตามได้ในวรรคเดียวกัน  เช่น

อัคคี   พยัคฆ์  วิชชา  อัชฌา  พุทธ  คพภ  (ครรภ์)

                ง.    ถ้าพยัญชนะตัวที่  5  สะกด  ทุกตัวในวรรคเดียวกันตามได้ เช่น องค์ สังข์ องค์ สงฆ์

สัมปทาน  สัมผัส  สัมพันธ์  สมภาร  เป็นต้น

จ.    พยัญชนะบาลี  ตัวสะกดตัวตามจะอยู่ในวรรคเดียวกันเท่านั้นจะข้ามไปวรรคอื่นไม่ได้



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท