อนุทิน 107972


นางสาว นิยวัลย์ แสนจุ่มจันทร์
เขียนเมื่อ

การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (Urinary tract infecton)

ปัจจัยเสี่ยง (Risk factor) ในการเกิด UTI 1. อายุ ( 65 ปี) คนสูงอายุมักจะมีภาวะโรคและสภาพร่างกาย ส่งเสริมให้เกิดการอุดตันของท่อปัสสาวะได้ง่าย 2. เพศหญิง มีโอกาสติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะได้ง่ายกว่า ด้วยความแตกต่างในทางสรีรวิทยา 3 ประการคือ มีท่อปัสสาวะสั้นกว่าผู้ชาย, ปากช่องคลอด ช่องปัสสาวะ และทวารหนักอยู่ในบริเวณที่ใกล้เคียงกัน, ผู้ชายจะมีต่อมลูกหมากซึ่งสามารถหลั่งสารที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคอ่อน ๆ ตลอดเวลา 3. สตรีมีครรภ์ การมีทารกอยู่ในครรภ์จะไปขัดขวางการไหลของปัสสาวะ จึงมักมี asymptomatic bacteriuria ซึ่งพบว่า 40% ของสตรีมีครรภ์ที่มี bacteriuria และไม่ทำการรักษา จะเกิดเป็น acute pyelonephritis ได้ในภายหลัง 4. การใส่อุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าไปในทางเดินปัสสาวะ ได้แก่การใส่สายสวนปัสสาวะ, การผ่าตัด, การส่องกล้องเข้าไปในไต

กลุ่มอาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ

  1. Asymptomatic bacteriuria คือการตรวจพบเชื้อแต่ไม่มีอาการแสดงเกิดขึ้น สามารถพบได้ในสตรีทุกช่วงอายุ ซึ่งปกติแล้วไม่จำเป็นต้องให้การรักษาด้วย antibiotics ยกเว้นในกรณีผู้ป่วยตั้งครรภ์, neutropenia หรือมีการทำงานของไตผิดปกติ
  2. Uncomplicated Lower UTI หมายถึงการติดเชื้อ cystitis และ urethritis อาการของทั้งสองภาวะนี้บางอย่างจะเหมือนกัน แต่ urethritis อาการจะค่อยเป็นค่อยไปและมีอาการเพียงเล็กน้อย มักไม่ค่อยพบอาการปัสสาวะบ่อย หรือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ดังนั้นหากผู้ป่วยเพศหญิง ไม่ได้ตั้งครรภ์มีประวัติปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ อย่างฉับพลันมักจะคิดถึง cystitis มากกว่า ผู้ป่วย cystitis จะมาด้วยอาการ ปัสสาวะแสบขัด (dysuriaComplicated Lower UTI

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ 1. การตรวจปัสสาวะ (Urinalysis) ควรใช้ปัสสาวะที่เก็บใหม่ - Macroscopic analysis ได้แก่การดูสี ความเป็นกรดด่าง ความถ่วงจำเพาะ สารพวก glucose, ketone, protein, blood, bilirubin - Microscopic examination ได้แก่การตรวจนับเชื้อแบคทีเรียในปัสสาวะที่ไม่ปั่น และการตรวจนับเซลล์เม็ดเลือดขาว และเซลล์ชนิดอื่น ๆ ในปัสสาวะที่ปั่น หากมีการตรวจพบเม็ดเลือดขาวมากกว่า 10 ตัว/HPF แสดงว่าติดเชื้อ UTI สำหรับการตรวจพบ hematuria สามารถตรวจพบในการติดเชื้อ cystitis, pyelonephritis แต่จะไม่พบใน urethritis 2. การเพาะเชื้อ ควรทำก่อนการให้ยา antibiotic - Quantitative urine culture เพื่อตรวจนับจำนวนเชื้อในปัสสาวะเพื่อดูภาวะ bacteriuria (ตารางที่ 2) จาก clean-catch midstream urine - Culture and sensitivity ควรทำก่อนให้การรักษาในกรณีที่เป็น complicated UTI, ผู้ป่วยชาย, ผู้ป่วยที่มีอาการนานกว่า 7 วัน, ผู้ป่วยที่มีการกลับเป็นซ้ำของการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ, ผู้ป่วยหญิงที่มีการใช้ฝาครอบคลุมกำเนิด



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท