อนุทิน 107641


ชัชพล ปาล์ม ศิริกุล
เขียนเมื่อ

“ อวสานประชาคมอาเซียน ”

          ประชาคมอาเซียน หมายถึง การรวมกลุ่ม การประสานกันของประชาชนที่อยู่ในบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หมายถึง ความร่วมมือกันระหว่างประเทศที่มีที่ตั้งอยู่บริเวณเดียวกัน โดยก่อให้เกิดความร่วมมือในทุกๆ ด้าน เพื่อนำไปสู่การพัฒนา และเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น โดยประชาชนในแต่ละประเทศต้องไปด้วยกัน และเดินทางโดยพร้อมเพรียงกัน

         ประชาคมอาเซียน เป็นเสมือนเรื่องราวประวัติศาสตร์ที่เคยเกิดขึ้นและผ่านมาแล้ว โดยระยะเวลาตั้งแต่วันนั้นถึงวันนี้ ผ่านกาลเวลามาร่วม ๔๐ ปี ภายใต้ชื่อ “สมาคมอาสา” ระยะเวลาเป็นเสมือนข้อพิสูจน์อะไรบางอย่าง ระยะเวลายังช่วยทำให้สามารถมองเห็นความเป็นไปได้ และรวมทั้งระยะเวลายังอาจช่วยให้ล่วงรู้ในตอนอวสานหรือจุดจบของเรื่องนั้นๆ ได้อีก

         ระยะเวลาที่ผ่าน หรือ เรื่องราวที่เกิดขึ้นและมีผลกระทบต่อสังคมโดยรวม นั่นคือความหมายของคำว่า “ประวัติศาสตร์” ประวัติศาสตร์เกี่ยวข้องโดยตรงกับตอนอวสานของประชาคมอาเซียน ประวัติศาสตร์เปรียบได้กับบทเรียน ประวัติศาสตร์เป็นเสมือนสิ่งที่ปลูกฝัง และมีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดของคนในทุกยุคและในทุกสมัย

         ประวัติศาสตร์โดยเฉพาะประวัติศาสตร์ไทย ล้วนมีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิด รวมทั้งความเป็นมาและจะเป็นไปของประชาคมอาเซียน หนังสือประวัติศาสตร์ไทยทุกเล่ม ล้วนมีแต่เรื่องราวของความขัดแย้ง ความแย้งชิง การแสวงหาซึ่งอำนาจ การต่อสู้ การสูญเสียดินแดน โดยทุกเรื่องล้วนกระทบกระเทือนความรู้สึกของผู้อ่านคนแล้วคนเล่า ประวัติศาสตร์ไทยน้อยเล่มและน้อยเรื่องราวที่จะมีเรื่องของความร่วมมือ ความร่วมใจกัน ความสามัคคีกันของประเทศที่ตั้งอยู่บริเวณเดียวกัน

         เรื่องราวในประวัติศาสตร์ นั่นเองที่มีส่วนสำคัญทำให้แนวความคิดของประชาคมชาวไทยส่วนใหญ่มองภาพการรวมกลุ่มของประชาคมอาเซียนไม่ออก ที่สำคัญกลับมองไปในทางตรงกันข้ามกับความต้องการของประชาคมอาเซียน ความต้องการของประชาคมอาเซียนคือ ความร่วมมือ ความประสานกัน ความสามัคคีกันแต่ด้วยประวัติศาสตร์กลับทำให้เรามองประชาคมอาเซียนเป็นเสมือนคู่แข่ง ที่เราต้องเอาชนะ ที่เราต้องระวังและระแวงในทุกๆ ด้าน

         อวสานของประชาคมอาเซียน จะไม่เกิดขึ้น ถ้าเราปรับและเปลี่ยนทัศนะคติที่ถูกครอบงำโดยประวัติศาสตร์ โดยพยายามเปลี่ยนความรู้สึกที่อยู่ในใจ ที่มีแต่คำว่า “คู่แข่ง” เปลี่ยนให้มีแต่คำว่า “คู่แบ่ง” โดยคาดว่าทุกอย่างน่าจะเข้าที่และเข้าทางมากกว่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้

                



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท