อนุทิน 107391


เกษร
เขียนเมื่อ

การพัฒนาแผนการเรียนรู้ เรื่องการแปลงทางเรขาคณิต ........................................................................................................... การพัฒนาแผนการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการแปลงทาง เรขาคณิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แผนผังความคิด (Mind Mapping) โดย นางสุขี วรรณกุล

ปริญญา กศ.ม สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัย มหาวิทยามหาสารคาม ปีที่พิมพ์ 2551

การแปลงทางเรขาคณิตเป็นเนื้อหาใหม่ที่เพิ่มเข้ามาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ครูผู้สอนต้องจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่จะทำให้ผลการเรียนดีขึ้น และแผนผังความคิด (Mind Mapping) เป็นเทคนิควิธีการสอนหนึ่งที่นำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาแผนการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการแปลงทางเรขาคณิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แผนผังความคิด (Mind Mapping) ที่มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 75/75 เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลทางการเรียนรู้ และเพื่อศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ของผู้เรียน กลุ่มตัวอย่างในครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านนายูง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานีเขต 2 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 35 คน จาก 1 ห้องเรียน ซึ่งได้มาโดย การเลือกแบบเจาะจง(Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า จำนวน 2 ชนิด ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการแปลงทางเรขาคณิต โดยใช้แผนผังความคิด(Mind Mapping) จำนวน 12 แผน ทำการสอนแผนละ 1 ชั่วโมง และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการแปลงทางเรขาคณิต ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือกจำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ตั้งแต่ 0.24 - 0.72 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.85 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test (Dependent Samples) ผลการศึกษาค้นคว้าปรากฏ ดังนี้ 1. แผนการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการแปลงทางเรขาคณิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แผนผังความคิด (Mind Mapping) มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 86.01/83.80 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 2. ดัชนีประสิทธิผลทางการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังการเรียนด้วยแผนการ เรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการแปลงทางเรขาคณิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แผนผังความคิด (Mind Mapping) เท่ากับ 0.7481 3. นักเรียนที่เรียนด้วยแผนการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการแปลง ทางเรขาคณิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แผนผังความคิด (Mind Mapping) มีคะแนนเฉลี่ยของการสอนหลังเรียนกับคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน 14 วัน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคะแนนหลังเรียนไปแล้ว 14 วัน สูงกว่าคะแนนหลังเรียนโดยสรุป แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องการแปลงทางเรขาคณิต โดยใช้แผนผังความคิด(Mind Mapping) มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเหมาะสม สามารถนำแผนการจัดการเรียนรู้นี้ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวังได้



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท