อนุทิน 107277


ชูชีพ เหลือผล
เขียนเมื่อ

นายชูชีพ เหลือผล สาขา การวิจัยและพัฒนาการศึกษารหัส 55421231102

จากวีดีทัศน์  เรื่องการทดสอบประสิทธิภาพสื่อและชุดการสอน ด้วย E1/E2 Model  บรรยายโดย  ศาสตราจารย์  ดร.ชัยยงค์  พรหมวงศ์  สรุปได้ดังนี้

1. ความหมายการทดสอบประสิทธิภาพ

     การทดสอบพัฒนาการตามลำดับขั้นเพื่อตรวจสอบคุณภาพของแต่ละองค์ประกอบของต้นแบบชิ้นงาน ให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อหาคุณภาพของสื่อตามขั้นตอนที่กำหนดใน 3 ประเด็น คือ การทำให้ผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น การช่วยให้ผู้เรียนผ่านกระบวนการเรียนและทำแบบประเมินสุดท้ายได้ดี และการทำให้ผู้เรียนมีความพึงพอใจ นำผลที่ได้มาปรับปรุงแก้ไข ก่อนที่จะผลิตออกมาเผยแพร่เป็นจำนวนมาก ซึ่งมี 2 ขั้นตอนคือ

     – การทดลอบประสิทธิภาพเบื้องต้น (Try Out)

     – ทดลอบประสิทธิภาพจริง (Trial Run)

2. การกำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพ

     การกำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพ หมายถึง ระดับประสิทธิภาพของสื่อหรือชุดการสอนที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เป็นระดับที่ผลิตสื่อหรือชุดการสอนจะพึงพอใจว่า หากสื่อหรือชุดการสอนมีประสิทธิภาพถึงระดับนั้นแล้ว สื่อหรือชุดการสอนนั้นก็มีคุณค่าที่จะนำไปสอนนักเรียน และคุ้มแก่การลงทุนผลิต ออกมาเป็นจำนวนมาก

      1. ประเมินพฤติกรรมต่อเนื่อง (Transitional Behavior) คือประเมินผลต่อเนื่อง ซึ่งประกอบด้วยพฤติกรรมย่อยของผู้เรียน เรียกว่า “กระบวนการ” (Process) ที่เกิดจากการประกอบกิจกรรมกลุ่ม ได้แก่ การทำโครงการ หรือทำรายงานเป็นกลุ่ม และรายงานบุคคล ได้แก่งานที่มอบหมาย และกิจกรรมอื่นใดที่ผู้สอนกำหนดไว้

      2. ประเมินพฤติกรรมสุดท้าย (Terminal Behavior) คือประเมินผลลัพธ์ (Product) ของผู้เรียน โดยพิจารณาจากการสอบหลังเรียนและการสอบไล่

 การคำนวณหาประสิทธิภาพของชุดการสอน อาจจะคำนวณได้ 2 วิธีด้วยกัน คือ

     ก. โดยวิธีการใช้สูตรในการคำนวณ

     ข. โดยการใช้วิธีการคำนวณธรรมดา

 3. วิธีการคำนวณค่าประสิทธิภาพ

     การคำนวณหาประสิทธิภาพของชุดการสอน อาจจะคำนวณได้ 2 วิธีด้วยกัน คือ

     ก. โดยวิธีการใช้สูตรในการคำนวณ

     ข. โดยการใช้วิธีการคำนวณธรรมดา

การคำนวณโดยการใช้สูตร กระทำได้โดยการใช้สูตรต่อไปนี้

อีกวิธีคือ การคำนวณธรรมดาโดยไม่ต้องใช้สูตร ดังนี้

     การคำนวณหาค่า E1 คิดจากการเอาคะแนนงานหรือแบบฝึกหัดของนักเรียน แต่ละคนมารวมกันแล้วหาค่าเฉลี่ย ( x ) จากนั้นจึงเทียบส่วนร้อยเพื่อหาร้อยละการคำนวณหาค่า E2 หาได้จากการเอาคะแนนการสอบหลังเรียนของนักเรียนทั้งหมดรวมกันแล้วหาค่าเฉลี่ยแล้วจึงเทียบส่วนร้อยละต่อไป

     นอกจากนี้ การหาประสิทธิภาพของชุดการสอน สามารถดูได้จากการหาค่าดัชนีประสิทธิภาพ ซึ่งหมายถึง ค่าเฉลี่ยของคะแนนความก้าวหน้า ในการเรียนรู้จากชุดการสอนนั้นซึ่งคำนวณได้จากสูตรของ Goodman. Fletcher and Schneider ( 1980 ) ดังนี้

4. ขั้นตอนการทดสอบประสิทธิภาพ

     เมื่อผลิตชุดการสอนต้นแบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือการนำชุดการสอนที่ได้ไปทดลองหาประสิทธิภาพ โดยในการหาประสิทธิภาพชุดการสอน มีขั้นตอนดังต่อไปนี้คือ

     4.1 ขั้น 1 :1 ( แบบเดียว ) คือ ทดลองกับผู้เรียนที่ละคน โดยทดลองกับผู้เรียนก่อนนำผลที่ได้มาปรับปรุง นำชุดการสอนที่ปรับปรุงไปทดลองกับผู้เรียนปานกลาง นำผลที่ได้มาปรับปรุง แล้วจึงนำไปทดลองกับผู้เรียนที่เก่ง การพิจารณาปรับปรุงทำได้โดยการพิจารณาจากการสังเกตพฤติกรรมขณะเรียนของผู้เรียน แบบฝึกหัด ผลการสอบและการสัมภาษณ์นักเรียนถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในการเรียน ในการเลือกผู้เรียนมาทดลองหากสภาพการณ์ไม่เหมาะสมก็ให้เลือดผู้เรียนอ่อนหรือปานกลางมาทดลอง ค่า E1/E2 ในขั้นนี้โดยปกติแล้วจะต่ำกว่าเกณฑ์

     4.2 ขั้น 1: 10 ( แบบกลุ่ม ) คือการทดลองกับผู้เรียน 6-12 คน โดยเลือกผู้ที่เรียนอ่อน ปานกลาง และเก่ง คละกันนำผลที่ได้มาปรับปรุง โดยใช้การพิจารณาส่วนของชุดการสอนที่จะต้องปรับปรุงแบบเดียวกันในขั้น 1 : 1 ในขั้นนี้ค่า E1/E2 จะสูงขึ้นกว่าในขั้นแบบเดี่ยว

     4.3 ขั้น 1 : 100 ( ภาคสนาม ) คือ ในขั้นนี้จะทำการทดลองกับผู้เรียนทั้งชั้น 30-40 คน ชั้นเรียนที่เลือกมาทดลองจะต้องเป็นชั้นเรียนที่มีผู้เรียนที่มีความสามารถคละกันไปทั้งเด็กอ่อน ปานกลาง และเก่ง ไม่ควรเลือกห้องเรียนที่มีผู้เรียนเก่งล้วนหรือผู้เรียนที่อ่อนล้วนนำผลที่ได้มาพิจารณาปรับปรุง เพื่อนำมาใช้จริงในสภาพขั้นเรียนทั่วไป ในชั้นนี้ค่า E 1/E2 จะใกล้เคียงหรือเท่ากับเกณฑ์

5.ข้อควรคำนึง

     ในการทดลองหาประสิทธิภาพชุดการสอน เพื่อให้การทดลองได้ผล ชุดการสอนสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้

     5.1 การเลือกผู้เรียนมาทดลอง การเลือกผู้เรียนมาทดลอง จำเป็นต้องเลือกผู้เรียนตามข้อกำหนดในแต่ละขั้น เพื่อที่ผู้เรียนที่ทำการทดลองมีสภาพเป็นตัวแทนของผู้เรียนที่ชุดการสอนจะนำไปใช้จริง

     5.2 การชี้แจงวิธีการเรียนและจุดประสงค์ของการทดลอง วิธีเรียนและวัตถุประสงค์ของชุดการสอนโดยทั่วไปนั้น ผู้เรียนมักจะไม่เข้าใจกระบวนการเรียนโดยใช้ชุดการสอน เนื่องจากส่วนมากจะคุ้นเคยกับวิธีการสอนแบบบรรยายที่ผู้สอนโดยทั่วไปจะใช้กัน การทดลองจึงจะต้องอธิบายขั้นตอนของกระบวนการเรียนให้ชัดเจน

     5.3 บทบาทของผู้ทำการทดลอง ขณะทำการทดลองผู้ทดลองจะต้องคอยสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนว่า เนื้อหาหรือกิจกรรมที่จัดให้ ทำให้ผู้เรียนมีความพอใจ กระตือรือร้นหรือมีความสับสนในกระบวนการหรือไม่ หากผู้ทดลองให้ครูผู้สอนเป็นผู้ทดลองใช้ชุดการสอนผู้ทดลองจะต้องสังเกตการณ์ต่าง ๆ โดยสังเกตทั้งพฤติกรรมของผู้เรียนและผู้สอน เพื่อที่จะได้นำข้อบกพร่องของชุดการสอนมาปรับปรุงแก้ไข

     5.4 ขั้นตอนการทดลอง ในการทดลองชุดการสอนจะประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ 5 ขั้น ผู้ทดลองจะต้องเข้าใจขั้นตอนต่าง ๆ ดังกล่าว ซึ่งประกอบไปด้วย

        ขั้นสอบก่อนเรียน

        ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

        ขั้นประกอบกิจกรรมกลุ่ม

        ขั้นสรุปบทเรียน

        ขั้นสอบหลังเรียน

6. ปัญหาที่พบ

     6.1 นักวิชาการรุ่นหลังนำแนวคิดทดสอบประสิทธิภาพที่พัฒนาโดยศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์

มาเป็นของตนเอง โดยเขียนเป็นบทความหรือตำราแล้วไม่มีการ

     6.2 นักวิชาการนำ E1/E2  ไปเป็นของฝรั่ง เช่น ระบุว่า การหาประสิทธิภาพ E1/E2  เกิดจากแนวคิด Mastery Learning ของ Bloom

     6.3 นักวิชาการไม่เข้าใจหลักการของการตั้งเกณฑ์ประสิทธิภาพ เช่น เสนอแนะให้ตั้งเกณฑ์ไว้ต่ำ (เช่น E1/E2 =70/70) หลังจากตั้งเกณฑ์ไว้ต่ำแล้ว เมื่อหาค่า E1/E2 ได้ สูงกว่า ก็ประกาศด้วยความภาคภูมิใจว่า สื่อหรือชุดการสอนของตนมีประสิทธิภาพมากกว่าเกณฑ์ ซึ่งที่จริงเป็นเพราะตนเองตั้งเกณฑ์ไว้ต่ำไปแทนที่จะ ปรับเกณฑ์ให้สูงขึ้นอันเป็นผลจากคุณภาพของสื่อหรือชุดการสอน

     6.4 ไม่เข้าใจความสัมพันธ์ของ E1 และ E2 ทั้งสองค่าควรได้ใกล้เคียงกัน

     6.5 นักวิชาการบางคนเขียนเผยแพร่ในเว้ปว่า ค่า E1 ควรมากกว่า E2 เพราะการทำแบบฝึกหัดหรือกิจกรรมปรกติจะง่ายกว่าการสอบ ถือเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง

     6.6 นักวิชาการบางคนบางคนเปลี่ยน E1/E2 เป็น P1/P2 หรืออักษรอื่น



ความเห็น (1)

ขอบคุณที่เขียนรวบรวมความรู้ มาแบ่งปันค่ะ ขออนุญาตเสนอความเห็นให้พิจารณา หากจำเป็นที่การบ้านตรวจผ่านอนุทิน การเขียนข้อความยาวๆ ในอนุทิน อาจใช้วิธี ขึ้นย่อหน้าไว้สัก 5-6 บรรทัด แล้วลิงค์มาต่อ ส่วนเต็มในบันทึก ข้อดีของการเขียนส่วนเต็มในบันทึกคือ สามารถนำ ID บทความคุณครู ไปอ้างอิง "เรื่องที่เกี่ยวข้อง" ได้ค่ะ และยังทำให้ เนื้อที่แต่ละหน้า แสดงอนุทินแต่ละท่านอย่างเหมาะสมด้วย

ขอฝากไว้ด้วยความเคารพค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท