อนุทิน 105043


phrakhruparut วิสุทธิ์ นริสฺสโร ขาวเกตุ
เขียนเมื่อ

ประวัติวัดบัวโรย วัดบัวโรยสร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๐ โดยมีนายโชติ นางคล้อย ช่วงโชติ เป็นผู้ดำเนินการสร้างวัดได้ขนานนามว่า “วัดโชติบัว” เพื่อเป็นเกียรติอนุสรณ์ และศักดิ์ศรีแก่ผู้สร้าง สถานที่สร้างวัดนั้นมีบัวหลวงขึ้น อยู่เป็นจำนวนมาก ต่อมาเรียกเพี้ยนไปเป็น “วัดชวดบัว” เพราะตั้งอยู่ริมคลองชวดบัว

นามวัด   

ใช้ชื่อวัดบัวโรย ในคราวได้รับ พระราชทานวิสุงคามสีมาในปี พ.ศ.๒๔๕๗ และมีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดราว พ.ศ.๒๔๖๐ ตั้งอยู่บ้านเลขที่ ๖๖ หมู่ที่ ๑๒ ตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ สังกัด มหานิกาย เนื้อที่ตั้งวัด

จำนวน ๑ แปลง เนื้อที่ ๑๗ ไร่ ๒ งาน ๒๘ ตารางวา

เนื้อที่ธรณีสงฆ์ จำนวน ๒ แปลง เนื้อที่ ๑๐๙ ไร่ ๒ งาน ๔๑ ตารางวา โฉนดเลขที่ ๒๖๔๔ และโฉนดเลขที่ ๑๗๓๓๑ อานาเขต

ทิศเหนือ    ยาว ๔ เส้น ๑๘วา     ติดต่อลำคลองชวดบัว
ทิศใต้      ยาว ๔ เส้น ๘ วา   ติดต่อบ่อปลาเอกชน
ทิศตะวันออก   ยาว ๔ เส้น ๓ วา   ติดต่อบ่อปลาเอกชน
ทิศตะวันตก  ยาว ๓ เส้น ๙ วา   ติดต่อลำคลองบางเสาธง

พื้นที่ตั้งวัด เป็นที่ราบต่ำอยู่ริมคลองชวดบัวทิศเหนือ และคลองบางเสาธงทางทิศตะวันตก แต่เดิมมีบัวหลวงขึ้นมากมาย ได้มีการพัฒนาและก่อสร้างถาวรวัตถุภายในวัด ปัจจุบันเลยไม่มีบัวหลวงให้เห็น

ศาสนวัตถุและถาวรวัตถุ

๑. อุโบสถ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗ ๒. พระพุทธรูป พระในอุโบสถ (หลวงปู่ภูศรี) และพระทรงเดินจรงกรม นามว่า “หลวงพ่อเพชร” สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๖ ๓. กุฏิสงฆ์ ลักษณะทรงไทย จำนวน ๑๓ หลัง ๔. ศาลาการเปรียญ ลักษณะทรงไทย สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๑ ๕. หอสวดมนต์ ลักษณะทรงไทย สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๖

ลำดับเจ้าอาวาส
        พ.ศ.๒๔๓๐    ถึง   พ.ศ.๒๔๔๐        พระอาจารย์ทั่ง
        พ.ศ.๒๔๔๑    ถึง   พ.ศ.๒๔๖๐        พระครูสังฆรักษ์(เจ๊ก)
        พ.ศ.๒๔๖๑    ถึง   พ.ศ.๒๔๘๙        พระครูนิโรจน์กิจการี (จี๊ด)
        พ.ศ.๒๔๙๒    ถึง   พ.ศ.๒๕๑๒        พระอธิการเฉลิม ทสฺสนธมฺโม
        พ.ศ.๒๕๑๓    ถึง   พ.ศ.๒๕๓๓        พระครูไพโรจน์สมุทรคุณ (หล่อ)
        พ.ศ.๒๕๓๔    ถึง   ปัจจุบัน        พระครูโกมุทธรรมธาดา

การปกครอง
        ๑.    โครงสร้างการปกครองคณะสงฆ์
        ๒.    นามเจ้าอาวาส,ประวัติ,และหน้าที่ของเจ้าอาวาส

๓. โครงสร้างการปกครองสงฆ์ภายในวัด เป็นไปตามพระวินัย ,พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ และกฎมหาเถรสมาคม

        ๔.    จำนวน พระสงฆ์ – สามเณร และศิษย์วัด
    ๕.    การประชุม โดยมีการอบรมพระภิกษุและสามเณรทุกกึ่งเดือน
ศาสนศึกษา
        ๑.    การเรียนการสอนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม
            ๑.๑         การจัดการเรียนการสอน
            ๑.๒     วิธีการส่งเสริมการเรียนการสอน
            ๑.๓     สถิตินักเรียนส่งสอบ และสอบได้

การเผยแผ่
        ๑.    มีการจัดงานบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนเป็นประจำทุกปี
        ๒.    มีการจัดงานบวชเนกขัมมะบารมีเป็นประจำทุกปี
        ๓.    มีการอบรมเยาวชนซึ่งมาจากโรงเรียนต่าง ๆ เป็นประจำ
        ๔.    มีการอนุรักษ์มรดกและวัฒนธรรมพื้นบ้านอย่างต่อเนื่อง
        ๕.    มีการแสดงพระธรรมเทศนาทุกวันธรรมสวนะ (วันพระ)

การสาธารณูปการ
        ๑.    งานก่อสร้าง
        ๒.    งานบูรณปฏิสังขรณ์
        ๓.    งานประจำปี
        ๔.    การจัดงบประมาณ
        ๕.    การบริหารรายได้และทรัพย์สินในวัด

การศึกษาสงเคราะห์
    ๑.    ดำเนินการจัดตั้งมูลนิธิวัดบัวโรยเริ่มต้นที่วงเงิน หนึ่งล้านบาทท
        วัตถุประสงค์ นำดอกผล  บูรณปฏิสังขรณ์ และสนับสนุนการศึกษา
    ๒.    มีการมอบทุนการศึกษาแก่เด็กนักเรียนระดับต่าง ๆ 
    ๓.    จัดหาทุนสร้างอาคารอเนกประสงค์ของโรงเรียน
    ๔.    จัดหาทุนสร้างโรงเรียน
    ๕.    จัดหาอุปกรณ์การศึกษาให้แก่โรงเรียนต่าง ๆ
    ๖.    ตั้งทุนการศึกษาระดับ ประถม และมัธยม และมีการเพิ่มทุนทุกปี
    ๗.    มีการมอบข้าวสารให้แก่โรงเรียนในเขต จำนวน ๑๔ โรงเรียน
        โดยมอบปีละ ๗๙ กระสอบ ทุกปี
    ๘.    จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้แก่โรงเรียนเป็นประจำ 

ปัจจุบันมีจำนวน ๑๐๙ เครื่อง

การสาธารณะสงเคราะห์

    ๑.    สงเคราะห์แก่ชุมชน โดยการ จัดหาทุนสร้างถนน
    ๒.    สงเคราะห์หน่วยราชการ โดยการ ร่วมมือในการจัดอบรมราชการ
    ๓.    สงเคราะห์ด้านสุขภาพ โดยการจัดสร้างลานกีฬา
    ๔.    สงเคราะห์ด้านความรู้ โดยการให้คำปรึกษาในการติดต่อราชการ ฯลฯ

บทสรุป ๑. รวบรวมผลงาน,สถิติต่าง ๆ
๒. ปัญหาและอุปสรรค ๓. แนวโน้มในอนาคต
๔. แนวทางแก้ไข- การพัฒนาในอนาคต



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท